VMware โซลูชันที่เหมาะที่สุดสำหรับยุค Hybrid Cloud

by sponsored
4 April 2018 - 02:50

ยุคสมัยปัจจุบันเป็นยุคของคลาวด์ หันไปทางไหนเราก็ได้ยินคำว่า "คลาวด์" เต็มไปหมด แต่องค์กรหลายแห่งยังเพิ่งเปลี่ยนผ่านจากยุคเซิร์ฟเวอร์แบบเดิมๆ เข้าสู่ยุคของ virtualization มาไม่นาน อาจมีคำถามในใจว่าตกลงแล้ว virtualization ต่างจากคลาวด์อย่างไร และเราจำเป็นต้องย้ายไปใช้คลาวด์จริงๆ หรือไม่

คลาวด์ต่างจาก virtualization อย่างไร

คำถามที่มักพบบ่อยคือ "คลาวด์ต่างจาก virtualization อย่างไร" คำตอบแบบสั้นๆ อาจบอกได้ว่า คลาวด์เป็นพัฒนาการขั้นถัดมาของ virtualization และในทางกลับกัน virtualization เป็นรากฐานสำคัญของคลาวด์

เดิมที virtualization หรือ virtual machine เป็นการนำเซิร์ฟเวอร์หนึ่งเครื่อง มาแบ่งเป็นส่วนๆ โดยแต่ละส่วนมีสถานะเป็นเครื่องเสมือน (virtual machine หรือ VM) ที่มีซีพียูจำลอง หน่วยความจำจำลอง สตอเรจจำลอง และระบบปฏิบัติการของตัวเองแยกเป็นอิสระระหว่างกัน เราสามารถรันงานหลายงานบน VM แต่ละเครื่องได้ ทำให้เซิร์ฟเวอร์หนึ่งเครื่องสามารถให้บริการผู้ใช้งานหลายๆ กลุ่มได้พร้อมกัน โดยที่ผู้ใช้แต่ละกลุ่มมองไม่เห็นข้อมูลของกันและกัน ถือเป็นการใช้งานทรัพยากรเซิร์ฟเวอร์ให้คุ้มค่ามากขึ้น

คลาวด์ เป็นการขยายความสามารถของ virtualization โดยนำทรัพยากรเซิร์ฟเวอร์หลายๆ เครื่องมารวมกัน ผู้ใช้สามารถทำงานบน VM ได้เช่นเดิม แต่ VM จะอยู่บนเซิร์ฟเวอร์เครื่องไหนก็ได้ โดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องสนใจเรื่องนี้ เพราะซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่บริหารจัดการคลาวด์จะกระจายงานให้เอง

ข้อดีของคลาวด์คือการรวมทรัพยากรของเซิร์ฟเวอร์หลายเครื่องเข้าด้วยกัน ทำให้สมรรถนะการประมวลผลรวมสูงขึ้นกว่าเซิร์ฟเวอร์เดี่ยวๆ ถ้าหากมีงานที่ต้องใช้ทรัพยากรมากๆ ในช่วงเวลาเดียว ก็สามารถยืมพลังจากหลายๆ เครื่องมาใช้ได้โดยไม่ต้องเพิ่มจำนวนเครื่องเสมอไป

คลาวด์มีกี่ประเภท? Public, Private, Hybrid ต่างกันอย่างไร

เมื่อเข้าใจแนวคิดของคลาวด์แล้ว ในทางปฏิบัติเราก็จะเห็นคำศัพท์เกี่ยวกับคลาวด์แต่ละประเภทตามมา คำที่ได้ยินบ่อยๆ คือ public cloud, private cloud และ hybrid cloud

Public Cloud เป็นบริการคลาวด์ที่เปิดให้ลูกค้าทั่วไปสามารถเช่าใช้งานได้อย่างเสรี ผู้ใช้งานจากหลากหลายองค์กรจะเข้ามาแชร์ทรัพยากรจากโครงสร้างพื้นฐานชุดเดียวกัน ตัวอย่างผู้ให้บริการ public cloud ยอดนิยมได้แก่ Amazon Web Services, Microsoft Azure, Google Cloud Platform

ข้อดีของการใช้ public cloud คือสะดวก ราคาไม่แพง ไม่ต้องดูแลมาก แถมเทคโนโลยีทันสมัย มีเสถียรภาพสูง เพราะให้บริการโดยบริษัทขนาดใหญ่ แต่ข้อเสียคือ ข้อมูลของเราจะเก็บอยู่บนเครื่องของผู้ให้บริการ อาจเสี่ยงต่อความปลอดภัยของข้อมูล และอาจความยืดหยุ่นบางอย่างเพราะเป็นบริการสำเร็จรูปที่ออกแบบมาเพื่อผู้ใช้จำนวนมากๆ

Private Cloud คือบริการคลาวด์ภายในองค์กรเพียงแห่งเดียว เกิดจากการรวมทรัพยากรประมวลผลจากในองค์กรมาทำเป็นคลาวด์ ตัวเครื่องอาจเก็บอยู่ภายในองค์กรหรือเช่าศูนย์ข้อมูลภายนอกก็ได้ แต่การใช้งานจะถูกจำกัดเฉพาะผู้ใช้จากองค์กรตัวเองเท่านั้น

ข้อดีของ private cloud อยู่ที่ความยืดหยุ่นในการออกแบบระบบเพื่อตอบโจทย์ความต้องการขององค์กรโดยตรง และความปลอดภัยของข้อมูลที่เชื่อถือได้มากกว่า เพราะข้อมูลอยู่ในพื้นที่ขององค์กรจริงๆ

Hybrid Cloud เป็นแนวคิดที่ออกแบบมาเพื่อชดเชยจุดอ่อนของทั้ง public และ private cloud โดยผสมผสานเครื่องที่อยู่บน public และ private cloud เข้าด้วยกัน องค์กรจึงมีทั้งงานที่รันอยู่บน public cloud ที่ไม่ต้องการความปลอดภัยสูงมาก (เช่น อีเมล หรือ เว็บ) แต่ต้องการต้นทุนที่ถูกกว่า และงานสำคัญที่รันอยู่บน private cloud ภายในองค์กร (เช่น ข้อมูลสำคัญของลูกค้า)

ข้อดีของ hybrid cloud คือความยืดหยุ่นในการย้ายงานไปมาระหว่าง public/private เช่น ในกรณีที่มีงานเร่งด่วน และทรัพยากรในองค์กรไม่เพียงพอ (เช่น การปิดบัญชีช่วงปลายปี) ก็สามารถย้ายงานบางส่วนไปรันบน public cloud ได้ทันที โดยไม่ต้องซื้อเครื่องเพิ่ม

การที่ hybrid cloud สามารถตอบโจทย์ทั้งฝั่ง public และ private cloud พร้อมๆ กัน ทำให้ช่วงหลังโลกไอทีได้ข้อสรุปแล้วว่า hybrid cloud เป็นตัวเลือกที่เหมาะสมและยืดหยุ่นที่สุด

VMware โซลูชันที่เหมาะที่สุดสำหรับ Hybrid Cloud

หลายคนอาจรู้จักชื่อ VMware ในฐานะซอฟต์แวร์สำหรับ virtualization มาตั้งแต่ยุคแรกๆ แต่ในยุคของคลาวด์ VMware ก็ปรับตัวตามด้วยการออกซอฟต์แวร์สำหรับการสร้าง private cloud ภายในองค์กร จนกลายเป็นผู้นำในตลาดนี้ โดยมีลูกค้ามากกว่า 500,000 รายทั่วโลก

แต่สิ่งที่หลายคนอาจไม่รู้คือ VMware ไม่ได้มีแค่ธุรกิจฝั่ง private cloud เพียงอย่างเดียว เพราะเทคโนโลยีคลาวด์ของ VMware สามารถใช้งานบน public cloud ได้ด้วย โดยในตลาดมีผู้ให้บริการคลาวด์จำนวนมาก ใช้เทคโนโลยีของ VMware ให้บริการคลาวด์แก่ลูกค้า

ข้อดีของการให้บริการ public cloud ด้วยเทคโนโลยีของ VMware คือองค์กรจำนวนมากมี private cloud ที่เป็น VMware อยู่แล้ว หากองค์กรกลุ่มนี้ต้องการสร้าง hybrid cloud ที่ย้ายงานข้ามไปมาได้ การที่ทั้งสองฝั่งเป็น VMware ด้วยกันเอง ยิ่งทำให้การย้ายงานสะดวกรวดเร็วมากขึ้น เพราะแทบไม่ต้องแก้ไขหรือปรับแต่งใดๆ เลย

แนวทางการให้บริการคลาวด์ VMware บน public cloud ถูกพิสูจน์แล้วจากผู้ให้บริการคลาวด์รายใหญ่ของโลก ทั้ง Amazon AWS และ Microsoft Azure ต่างก็เปิดบริการ VMware บนคลาวด์ของตัวเองแล้ว

VMware Cloud Provider Program คลาวด์จากผู้ให้บริการในไทย

สำหรับลูกค้าในไทยที่ต้องการใช้บริการคลาวด์ที่เป็น VMware และต้องการศูนย์ข้อมูลที่อยู่ในไทย เพื่อความรวดเร็วในการเรียกใช้งาน VMware มีความร่วมมือให้กับผู้ให้บริการในไทยหลายราย ภายใต้โครงการ VMware Cloud Provider Program (VCPP)

จุดเด่นของผู้ให้บริการที่อยู่ในโครงการ VMware Cloud Provider Program (VCPP) คือความเชี่ยวชาญทางเทคโนโลยีที่ผ่านมาตรฐานและได้การรับรองจาก VMware โดยตรง มีความพร้อมในการให้บริการอย่างต่อเนื่อง ปลอดภัย รวมถึงการซัพพอร์ตทางเทคนิคโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญ

ตัวอย่างผู้ให้บริการที่ผ่านการรับรอง VMware Cloud Verified ในประเทศไทยได้แก่ Internet Thailand (INET), AIS Cloud, True IDC, CS Loxinfo, NTT Communications, ISSP, KSC, SiS และ IBM Thailand

ผู้สนใจบริการ VMware Hybrid Cloud สามารถดูรายละเอียดเป็นภาษาไทยได้จากเว็บไซต์ VMware Hybrid Cloud

Blognone Jobs Premium