นักวิทยาศาสตร์พบ DNA ไม่ได้เกาะตัวเป็นเกลียวคู่แบบที่เข้าใจกัน แต่ซับซ้อนกว่านั้น

by mixbeta
24 April 2018 - 08:44

เรียกได้ว่าแทบจะเป็นการพลิกตำราวงการวิทยาศาสตร์เมื่อแดเนียล ไครสต์ (Daniel Christ) และทีมนักวิจัยจากสถาบันวิจัยทางการแพทย์การ์วาน (Garvan Institute of Medical Research) ประเทศออสเตรเลียค้นพบว่าดีเอ็นเอ (DNA: Deoxyribose Nucleic Acid) ไม่ได้เป็นเพียงแค่เกลียวคู่ตลอดสาย แต่ว่าบางส่วนของมันมีรูปร่างที่ซับซ้อนมากกว่านั้น

ส่วนประกอบใหม่ที่นักวิจัยค้นพบนั้นเรียกว่า i-Motif (intercalated motif) ซึ่งค้นพบครั้งแรกในช่วงทศวรรษ 1990 แต่ว่าตอนนั้นพบในเพียงหลอดทดลองเท่านั้น ไม่ได้พบในสิ่งมีชีวิต แต่ในภายหลังได้ค้นพบว่า i-Motif ก็มีในมนุษย์ด้วย ซึ่งมีความแตกต่างเพราะปกติดีเอ็นเอจะจับคู่กันกับ A-DNA, Z-DNA, ดีเอ็นเอเกลียวสามและดีเอ็นเอแบบไขว้ไม้กางเขน (Cruciform DNA) ที่สามารถพบได้ปกติได้ในเซลล์ของมนุษย์แต่ i-motif ไม่จับคู่กับกลุ่มใดข้างต้นเลย

นักวิจัยยังเปิดเผยอีกว่าตัว i-motif นั้นสามารถก่อตัวขึ้นได้เอง คืนรูป และก่อตัวเองใหม่อีกครั้ง ซึ่งมันอาจจะเป็นเหมือนตัวสั่งการหรือสวิทช์ของดีเอ็นเอนั้นให้แสดงหรือไม่แสดงผลลัพธ์อะไรบางอย่าง และอาจจะเกี่ยวข้องกับการแปรรูปเป็นกรดอะมิโนหลังจากการถอดรหัสของดีเอ็นเอ ซึ่งในภายภาคหน้าอาจจะส่งผลทางพยาธิวิทยาในอนาคตก็เป็นได้ นักวิจัยได้กล่าวสรุป

ที่มา - Sciencealert, ScienceDirect, Nature

ลักษณะของ i-Motif (ภาพบน) และลักษณะของดีเอ็นเอแบบปกติ (ภาพล่าง)

Blognone Jobs Premium