Asus เปิดตัว Asus Zenfone 5 ในงาน MWC 2018 และกำลังจะเข้ามาขายในไทย โดยตัว Zenfone 5 ชูจุดเด่น AI ที่ช่วยการทำงานในหลายด้าน โดยเฉพาะกล้องถ่ายรูป และยังมาพร้อมกับชิปเซ็ต Qualcomm Snapdragon 636 (เป็นชิปเซ็ตสำหรับสมาร์ทโฟนระดับกลาง) Blognone มีโอกาสได้ลองจับถือ จึงทำมินิรีวิวมาฝาก
ใดๆ ในโลกล้วนมี notch หรือร่องแหว่งแบบ iPhone X, Asus Zenfone 5 ก็มีร่องแหว่งกับเขาเช่นกัน กล้องคู่ด้านหลังในแนวตั้ง และแป้นสแกนนิ้วมือตรงกลาง วัสดุด้านหลังเครื่องมีความมันเงาให้ความรู้สึกพรีเมี่ยม (แต่ก็เป็นรอยนิ้วมือง่ายมาก)
Zenfone 5 มีขนาดหน้าจอกว้าง 6.2 นิ้ว สัดส่วน 19:9 หน้าจอเป็น Super Amoled วัสดุทั้งหน้าและหลังตัวเครื่องเป็นกอริลลากลาส กระจกขอบโค้ง น้ำหนัก 155 กรัม
พอร์ทหูฟัง 3.5 มม. ด้านล่าง และพอร์ทชาร์จแบตเตอรี่ USB-C ด้านขวาของเครื่องเป็นปุ่มปรับเสียง และปุ่มเปิด - ปิด เครื่อง และถาดใส่ซิมอยู่ซ้ายมือของตัวเครื่อง
Asus Zenfone 5 พยายามชูดจุดแข็งเรื่องกล้องเป็นหลัก และยังบอกอีกว่าเป็นกล้องที่มาพร้อม AI คือ AI Scene Detection ที่เรียนรู้จากคลาวด์ สามารถจับข้อมูลรูปภาพได้ 16 แบบ โดยเรียนรู้จากชุดข้อมูลของเซิร์ฟเวอร์ ASUS และจะทำงานได้ดีขึ้นเมื่อผ่านการอัพเดตเฟิร์มแวร์สมาร์ทโฟน (ทาง ASUS ระบุว่าข้อมูลรูปภาพผู้ใช้จะไม่ถูกส่งไปยังเซิร์ฟเวอร์ ASUS ส่วนรูปภาพที่ใช้อ้างอิงมาจากบุคคลที่สาม และช่างภาพของ ASUS)
กล้องคู่หลัง Asus Zenfone 5 มีทั้งกล้องจับภาพปกติกับภาพกว้าง โดยกล้องหลักมีรูรับแสงกว้าง F1.8 จึงสามารถถ่ายรูปกลางคืน แสงน้อยได้ดีระดับหนึ่ง
เทียบกับภาพมือถือที่ใช้อยู่ตอนนี้ เห็นได้ชัดว่าไม่รอด
ลองถ่ายแบบภาพแสงน้อยสุดๆ ยังมี noise ประมาณหนึ่ง แต่ดวงไฟยังสวยอยู่
ภาพมุมปกติกับมุมกว้าง
มุมกว้าง
ลองถ่ายภาพโหมดโปร จับวัตถุด้านหน้า manual focus
ส่วนกล้องหน้ามีโหมด Portrait เบลอฉากหลังอัตโนมัติ
Asus Zenfone 5 ยังมาพร้อม ZeniMoji หรืออีโมจิขยับตามสีหน้าเราอันเป็นฟีเจอร์สมัยนิยมจากการลองใช้ ถือว่ายังเคลื่อนไหวได้ช้าอยู่มาก
Asus Zenfone 5 มาพร้อม AI ที่ช่วยทำงานอื่นอีก เช่น AI Photo Learning แนะนำการปรับแต่งภาพให้ในแกลเลอรี่ เรียนรู้จากการตั้งค่าของผู้ใช้
AI Boost ที่ ASUS ระบุว่าช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานเมื่อต้องใช้แอพที่ใช้พลังงานสูง อย่างเกม เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานประมาณ 12.7% แต่ผู้เขียนไม่ได้ลองใช้มือถือในการเล่นเกมหนักๆ
สรุป