5 นวัตกรรมสื่อสารของโลกเทเลคอม ที่คุณอาจคาดไม่ถึงว่าคิดค้นโดยคนไทย

by sponsored
26 October 2018 - 09:08

กระแส Digital Disruption ที่ถาโถมสู่ทุกธุรกิจนี้ ส่งผลให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง ประชากรหลายพันล้านคนทั่วโลกเข้าถึงอินเตอร์เน็ตเป็นเรื่องปกติ เรียกว่าเชื่อมโยงถึงกันได้แบบไร้ขีดจำกัด ซึ่งหนึ่งอุตสาหกรรมที่น่าจับตามองอย่างมากคือธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมที่ขยายบทบาทสู่การเป็นแกนหลักในการดำเนินธุรกิจทุกอุตสากรรมในยุคดิจิทัลนี้อย่างเต็มตัว

AIS รับมือกับคลื่นความเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ด้วยกลยุทธ์เชิงรุก โดยตั้งเป้าเป็นผู้พัฒนาเทคโนโลยีสื่อสารในทุกมิติด้วยตนเอง เพื่อให้คนไทยได้ใช้ประโยชน์ของดิจิทัลที่ทันสมัยที่สุดก่อนใครในโลกแบบไม่ต้องรอ ดังนั้นความท้าทายของ AIS ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา จึงมากกว่าการขยายโครงข่ายสำหรับการให้บริการ 3G และ 4G ให้ครอบคลุมประชากรทั่วประเทศ แต่คือการเดินหน้าคิดค้น พัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ รวมทั้งทำงานร่วมกับพันธมิตรชั้นนำระดับโลกอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผลลัพธ์คือวันนี้เทคโนโลยีต่างๆ ที่เกิดขึ้น ทำให้การให้บริการเครือข่ายในประเทศมีความแข็งแรงมากกว่าเดิม และสามารถมอบประสบการณ์ใหม่ๆ ให้คนไทยในแบบที่มีแค่เอไอเอสเท่านั้นจะให้ได้

แล้วอะไรบ้างที่ AIS พิสูจน์ให้เห็นถึงการเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมเครือข่ายของโลก ?

อัดฉีดเทคโนโลยี ให้ 4G แบบที่ไม่เคยมีที่ไหนมาก่อน

ย้อนไปเมื่อช่วงแรกๆ ของการให้บริการ 4G ในประเทศไทย หลังจากขยายเครือข่ายครอบคลุมทั่วประเทศ เอไอเอสก็ไม่รอช้า พัฒนาเครือข่ายเดิมที่มีให้ดียิ่งขึ้นไปอีก เพื่อพร้อมรับการใช้งานของผู้บริโภคที่มีแนวโน้มสูงขึ้นอยู่ตลอดเวลา ด้วยการคิดค้นพัฒนาเทคโนโลยีสื่อสารใหม่ๆ และอัดฉีดเข้าไปในเครือข่าย 4G

ตั้งแต่ปี 2014 AIS คือ บริษัทแรกของโลกที่สามารถพัฒนาเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือเป็นแบบ 6 Sector จาก 3 Sector ทำให้เสาหนึ่งต้นสามารถรองรับการใช้งานโทรศัพท์มือถือพร้อมๆ กันในปริมาณมากขึ้นถึงสองเท่า

ปี 2015 AIS พัฒนาอุปกรณ์ที่สามารถรองรับสองคลื่นความถี่ คือ 1800 MHz และ 2100 MHz ได้ภายในตัวเดียวกัน ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่นำไปติดตั้งกับสถานีฐานเพื่อการส่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือที่ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ ซึ่งกลายมาเป็นมาตรฐานที่ทั่วโลกนำไปใช้งาน และพัฒนาต่อจนถึงวันนี้

ปี 2016 AIS พัฒนาเทคโนโลยี CA (Carrier Aggregation) รวมคลื่นความถี่ต่างกันเข้าด้วยกัน คือคลื่น 1800 MHz รวมกับความถี่ 2100 MHz รวมทั้งขยาย Coverage ให้ครอบคลุมมากที่สุดในประเทศ ด้วยการติดตั้งสถานีฐาน 4G กว่า 75,000 สถานีฐาน พร้อมยกระดับคุณภาพสัญาณด้วยเทคโนโลยี Download Modulation 256QAM / Upload Download 64QAM เพิ่มประสิทธิภาพ ในการรับส่งข้อมูลจำนวนมหาศาล ทำให้เพิ่มขีดความสามารถในการดาวน์โหลดแรงขึ้น 30% เมื่อเทียบกับ 4G ปกติ และใช้เทคโนโลยี Download MIMO 4x4 เป็นเทคโนโลยีการรับส่งสัญญาณจากสถานีฐานด้วยการใช้งานระบบ 4 เสา สามารถรับส่งข้อมูลได้ในจำนวนมากๆ พร้อมกัน เพิ่มประสบการณ์การดาวน์โหลดที่แรง เต็มสปีดมากขึ้น 2 เท่า

AIS 4.5G รายแรกของโลก ด้วยเทคโนโลยี LTE-U/LAA

ด้วยความมุ่งมั่นของ AIS ในการตอบสนองความต้องการใช้งานดาต้าความเร็วสูงบนโทรศัพท์มือถือของลูกค้า ด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ อย่างมากมายนั้น ที่ทำให้ศักยภาพของเครือข่ายที่ไกลกว่า 4G ไปแล้ว ดังนั้นเอไอเอสจึงพัฒนาไปอีกขั้นสู่ 4.5G ภายใต้เทคโนโลยี LTE-U/LAA (LTE-Unlicensed / License Assisted Access) เป็นครั้งแรกในไทย ด้วยการรวมคลื่นความถี่ปัจจุบัน (ที่ได้รับอนุญาต) เข้ากับคลื่นความถี่สาธารณะ และการพัฒนาเครือข่ายให้รองรับเทคโนโลยีขั้นสูง MIMO 4x4 with CA และ 256 QAM ทำให้ 4.5G ของ AIS สามารถรับส่งข้อมูลเร็วกว่าเครือข่าย 4G ถึง 2 เท่า และเพิ่มขีดความสามารถในการดาวน์โหลดแรงขึ้น 30% เมื่อเทียบกับ 4G ปกติ

ความพิเศษของ LAA จากเอไอเอส ที่ไม่เหมือนใคร คือมีการทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ผู้ผลิตดีไวซ์ให้เครือข่ายสุดล้ำนี้ ใช้งานได้จริงแล้วบนสมาร์ทโฟนที่เราใช้กันอยู่ปัจจุบัน โดยอุปกรณ์ที่พร้อมรองรับเทคโนโลยี LAA บนเครือข่าย 4.5G แล้ว ได้แก่ Samsung Galaxy S9, S9+ และ Sony Xperia XZ2 Premium และรุ่นใหม่ๆ ที่กำลังจะตามมาในอนาคต

เทคโนโลยี 32T 32R ใน FDD-LTE ครั้งแรกของโลก

ย้อนไปเมื่อเดือน มกราคม 2017 การพัฒนานวัตกรรมเครือข่ายของ AIS สร้างเสียงฮือฮาให้วงการโทรคมนาคมทั่วโลกอีกครั้ง โดยความร่วมมือกับพาร์ทเนอร์อย่าง Huawei พัฒนาเทคโนโลยี Massive MIMO 32T 32R ขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความสามารถในการส่งข้อมูลให้ได้มากขึ้น ถือเป็นเทคโนโลยีการสื่อสารที่ล้ำสมัย ที่แสดงให้เห็นถึงการเตรียมความพร้อมด้านนวัตกรรมเครือข่ายให้กับประเทศ เพื่อก้าวสู่เทคโนโลยีการสื่อสารในยุคถัดไปอย่าง 5G

โดยเทคโนโลยี Massive MIMO 32T 32R เป็นการขยายขีดความสามารถในการรองรับการใช้งานให้เพิ่มขึ้นจากระบบเดิมอีก 5-8 เท่า ช่วยเพิ่มประสบการณ์การสื่อสารที่มีคุณภาพให้กับผู้ใช้บริการซึ่ง AIS เป็นผู้ให้บริการเครือข่ายรายแรกที่ประสบความสำเร็จกับการทดสอบเทคนิคดังกล่าวบนเครือข่าย FDD-LTE

AIS กับ IoT เชิงพาณิชย์ รายแรกและรายเดียวในประเทศ บนเครือข่าย NB-IoT และ eMTC ครอบคลุม 77 จังหวัด

ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีเครือข่ายของ AIS นอกจากการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลแล้ว ยังนำมาซึ่งการเชื่อมต่อระหว่างอุปการณ์ ผ่านการให้บริการ IoT บนสองเครือข่าย NB-IoT และ eMTC ที่ GSMA รับรองแล้วว่าครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศเป็นรายแรก และรายเดียวของไทย พร้อมให้บริการเชิงพาณิชย์กับทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ รวมถึงมหาวิทยาลัยและหน่วยงานวิจัยที่ต้องการพัฒนาสินค้าหรือบริการ

โดยทั้งสองเครือข่าย มีจุดเด่นที่แตกต่างกัน เหมาะกับการใช้งานโซลูชันส์ที่ไม่เหมือนกัน จึงสามารถทำงานควบคู่กัน เพื่อรองรับการใช้งานของอุปกรณ์ IoT ในรูปแบบต่างๆ ได้อย่างครอบคลุม อาทิ Smart City, Smart Industrial, Smart Logistics และ Smart Home สร้างประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศในทุกๆ ด้าน ทั้งการใช้ชีวิตของคนในสังคม, ชุมชน และสิ่งแวดล้อม โดยในปัจจุบันมีภาครัฐและเอกชนชั้นนำเลือกใช้บริการ IoT จาก AIS อย่างต่อเนื่อง อาทิ ปตท., พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค, โครตรอนกรุ๊ป, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กระทรวงสาธารณสุข ฯลฯ

นอกจากนี้ AIS ยังร่วมมือกับสมาชิกอีกกว่า 700 ราย จากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี IoT ในโครงการ AIS IoT Alliance Program - AIAP ไม่ว่าจะเป็นองค์กรหน่วยงาน ทั้งภาครัฐ มหาวิทยาลัย ผู้ผลิตเทคโนโลยี นักพัฒนาอุปกรณ์และซอฟต์แวร์ ทั้งในและต่างประเทศ ที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนความรู้ความสามารถ, Products, Services หรือ Solutions เพื่อให้เกิดการพัฒนา IoT Solution / Business Model ร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม ขยายประโยชน์สู่ภาคประชาชน เสริมการบริการจัดการในทุกภาคส่วน

NEXT G บทพิสูจน์ของ AIS กับการก้าวข้ามยุคของเทคโนโลยีสื่อสาร

AIS NEXT G เป็นอีกหนึ่งบริการที่พิสูจน์ให้เห็นถึงความก้าวหน้าของการพัฒนานวัตกรรมเครือข่ายของ AIS ด้วยแนวคิดที่ไม่ว่าจะอยู่ในยุค 3G, 4G หรือ 5G เอไอเอสจะพัฒนาเครือข่ายที่ดีกว่าให้ลูกค้าเสมอ โดยครั้งนี้ เป็นความร่วมมือกับพันธมิตร KT (Korea Telecom) ผู้ให้บริการเครือข่ายชั้นนำจากประเทศเกาหลีใต้ ใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า Multipath TCP ที่สามารถรวมความเร็วอินเทอร์เน็ตของทั้งเครือข่ายมือถือและเครือข่ายไวไฟเข้าด้วยกัน ส่งผลให้พื้นที่ใดก็ตามที่มีทั้งเครือข่าย AIS 4G ADVANCED และ AIS SUPER WiFi อยู่ในพื้นที่เดียวกัน จะสามารถให้ความเร็วในการใช้อินเทอร์เน็ตได้สูงสุดถึง 1 Gbps

นอกจากนี้ AIS ยังร่วมมือกับผู้ผลิตมือถือทุกแบรนด์ อาทิ Huawei, Samsung, Oppo, Vivo, Sony, LG, Xiaomi, Honor และ OnePlus มาร่วมพัฒนาซอฟต์แวร์ที่จะทำให้โทรศัพท์มือถือทุกรุ่นที่เป็น Android เวอร์ชัน 7.0 ขึ้นไป รองรับแอป NEXT G ได้

จากทั้งหมดนี้ นับเป็นการตอกย้ำให้เห็นถึงความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมเครือข่ายของ AIS ที่มุ่งมั่นพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารให้ครบทุกด้านเพื่อตอบสนองการใช้งานและมอบประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กับคนไทย สะท้อนให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ของ AIS ที่กำลังมองไปข้างหน้า เป็นมากกว่าผู้ให้บริการเครือข่าย สู่บริษัทผู้พัฒนานวัตกรรมการสื่อสารที่ทั่วโลกให้การยอมรับ

Blognone Jobs Premium