ซอฟต์แวร์ประสานงานคอนเทนเนอร์ หรือ orchrestration นั้นได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงหลังเพราะมันช่วยให้องค์กรจัดการกระบวนการพัฒนาและการดีพลอยแอปอย่างเป็นระบบมากขึ้น ฝั่ง Red Hat เองก็มี OpenShift เป็นแพลตฟอร์มที่ทำให้เราสามารถดึงโค้ดมาสู่การวางระบบทั้งชุดได้ในขั้นตอนเดียว
บทความนี้เราจะทดลองใช้งาน OpenShift Online บริการคลาวด์ของ Red Hat ที่เปิดให้นักพัฒนาสามารถทำแอปขึ้นคลาวด์ได้โดยไม่ต้องยุ่งกับการเซ็ตอัพระบบปฎิบัติการมากนัก โดยตัว OpenShift Online นั้นเป็นบริการสำเร็จรูป หลังจากนั้นเราจะแนะนำชุดซอฟต์แวร์ Red Hat Container Development Kit (CDK) ชุดพัฒนาที่เปิดให้ผู้ใช้สามารถติดตั้ง OpenShift ขนาดเล็ก เพื่อพัฒนาในเครื่องของตัวเองได้ โดยไม่ต้องอาศัยเซิร์ฟเวอร์
ตัว OpenShift Online สามารถสมัครใช้งานได้ฟรี โดยมีแพ็กเกจ 2 แบบ
ช่วงนี้ผู้ใช้ Starter ค่อนข้างมาก เมื่อสมัครแล้วอาจจะต้องรอทรัพยากรว่างอยู่ 1-2 วันจึงจะใช้งานได้ ดังนั้นหากยังคิดโปรเจคไม่ออกก็อาจจะสมัครไว้ก่อนเลยได้
เมื่อสมัครแล้วต้องรอทรัพยากรช่วงหนึ่ง เมื่อได้รับแล้วจะมีปุ่ม “Open Web Console” ให้เข้าไปใช้งาน
หน้าจอแรกหลังเข้าคอนโซล ทาง Red Hat เตรียม template สำหรับการพัฒนามาให้แล้วชุดหนึ่ง ในกรณีนี้ผมเลือกโครงการ Django + PostgreSQL
หน้าจอคอนฟิกนั้นเตรียมให้ครบทุกอย่างแล้ว โดยแบ่งแรมเป็นของ Django ไว้ 512MB และของ PostgreSQL อีก 512MB พอดีโควต้าแรมสำหรับ Starter พอดี โดยโค้ดตัวอย่างนั้นอยู่ที่ https://github.com/sclorg/django-ex.git หากต้องการทดลองแก้ไขอาจจะ fork ไปไว้ที่อื่นก่อนได้
สร้างโครงการใหม่สำเร็จแล้ว
เมื่อเข้าไปดูในโครงการ จะเห็นคอนเทนเนอร์รันอยู่สองชุด (เรียกว่า pod) เป็นฐานข้อมูลและตัวแอป พร้อมกับได้ URL สำหรับเข้าเว็บ แม้แอปจะรันอยู่แล้ว แต่ URL อาจจะต้องรอสักระยะหนึ่ง (2-5 นาที) เพื่อให้แอป ตัว Route คอนฟิกเรียบร้อยพร้อมใช้งาน
เว็บ django ตัวอย่าง
เมื่อมีความเปลี่ยนแปลงตัวโค้ด หรือย้ายตำแหน่งโค้ด สามารถเข้าไปยังเมนู Build > เลือกชื่อแอป (ในกรณีนี้คือ django-psql-persistent) และสั่ง Edit เพื่อแก้ Git Repository ได้ หรือหากไม่ได้ย้ายโค้ด แต่มีการอัพเดตโค้ด ก็สามารถสั่ง Start Build ได้เลย
หลังสั่ง Start Build แล้ว OpenShift จะดึงโค้ดใหม่มารันเอง
ในกรณีที่ต้องการให้ OpenShift ดึงโค้ดมาโดยอัตโนมัติ สามารถนำค่า GitHub Webhook จากเมนู Build > django-psql-persistent > Configuration > GitHub Webhook URL แล้วนำ URL ไปวางใน Settings ของ Repository ใน GitHub ตั้ง Content type เป็น application/json หลังจากนั้นทุกๆ push ตัว OpenShift ก็จะดึงโค้ดขึ้นไปรันจนเป็นเว็บให้เอง
Container Development Kit หรือ CDK เป็นซอฟต์แวร์ minishift รุ่นที่จำลองการใช้งาน OpenShift รุ่นที่ Red Hat ซัพพอร์ตจริง โดยสามารถใช้สร้างอิมเมจจาก RHEL ทำให้นักพัฒนาที่กำลังพัฒนาแอปสำหรับองค์กรที่ใช้ OpenShift สามารถพัฒนาแอปได้บนเครื่องตัวเอง ข้อดีสำคัญคือข้อจำกัดเรื่องทรัพยากรบน OpenShift Online จะหมดไป หากเรามีเครื่องพัฒนาขนาดใหญ่สักหน่อยก็สามารถพัฒนาแอปพลิเคชั่นที่มีความซับซ้อนสูงได้
โดยทั่วไปแล้ว CDK ซัพพอร์ตการติดตั้งบน RHEL เป็นหลัก อย่างไรก็ตามเราสามารถติดตั้งบน Fedora 28 ได้ด้วย ไม่ซัพพอร์ตการติดตั้งบน Ubuntu แต่สามารถติดตั้งผ่าน VM บน Windows, และ Mac
หน้าเว็บ CDK เปิดให้ดาวน์โหลดได้ฟรี แต่ต้องการรหัสผ่านของ OpenShift Online
เมื่อติดตั้งเรียบร้อยแล้ว สั่ง minishift start โปรแกรมก็จะสร้างเซิร์ฟเวอร์ขึ้นมา
ตัวเว็บคอนโซลสามารถเข้าใช้งานได้จากเบราว์เซอร์ โดยในกรณีตัวยอย่างนี้คือเว็บ https://192.168.42.60:8443 เว็บเป็น HTTPS แต่ใช้ใบรับรอง self-signed เราต้องกดข้ามคำเตือนของเบราว์เซอร์ด้วยตัวเอง และล็อกอินโดยใช้ username เป็น developer ส่วนรหัสผ่านใส่ค่าอะไรก็ได้
จะพบว่าหน้าจอคอนโซลเหมือน OpenShift Online อย่างมาก จากตรงนี้เราสามารถทดลองนำแอปมารันแบบเดียวกับ OpenShift Online ในช่วงต้นบทความ และสามารถสำรวจคอนฟิกอื่นๆ เช่นการทำ load balance เพิ่มจำนวน pod ให้แต่ละส่วนของแอปพลิเคชั่น
ตัวอย่างในบทความนี้เป็นการสร้างเว็บตัวอย่างด้วย OpenShift แต่ตัวแพลตฟอร์มยังเปิดสำหรับการใช้งานอื่นๆ อีกมาก แพ็กเกจ Starter ของ OpenShift Online นี้ให้ทรัพยากรจำกัดสำหรับการเรียนรู้พื้นฐาน ทำให้การทดลองใช้งานฟีเจอร์สำคัญเช่น การ scale ระบบอัตโนมัติยังไม่สามารถทดลองได้เต็มที่ แต่ก็นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับการทดลองว่า OpenShift สามารถใช้งานอะไรได้บ้าง หลังจากนั้นเราได้ทดลองติดตั้ง CDK ที่เปิดให้เรานำ OpenShift มารันบนเครื่องของเราเอง สำหรับการพัฒนาแอปเพื่อเตรียมนำขึ้นเซิร์ฟเวอร์ OpenShift จริงขององค์กร
หากต้องการให้ทีมงาน Red Hat ติดต่อเพื่อสาธิตประสิทธิภาพและฟีเจอร์ของ OpenShift เพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ +66-2624-0601