AIS เตรียมเปิดทดสอบ 5G รายแรกของไทย วันที่ 22 พ.ย. นี้ พร้อมอัพเกรดโครงข่าย ขยายบริการใหม่

by sponsored
21 November 2018 - 06:20

ปฏิเสธไม่ได้ว่าอุตสาหกรรมโทรคมนาคมทั่วโลกกำลังเริ่มต้นเข้าสู่ช่วงเปลี่ยนผ่านอีกครั้ง จากเทคโนโลยีในยุคที่ 4 ไปยังยุคที่ 5 ทำให้ในช่วงหลังเราเห็นข่าวหรือประเด็นเกี่ยวกับ 5G อยู่เนืองๆ ไม่ว่าจะจากฝั่งโอเปอเรเตอร์หรือฝั่งผู้ผลิตก็ตาม

ในบ้านเราก็เช่นเดียวกันที่เริ่มมีการพูดถึง 5G กันบ้างแล้ว โดยล่าสุดมี AIS ประกาศความพร้อมของโครงข่ายแล้ว รวมถึงเตรียมเริ่มทดสอบ 5G เป็นเจ้าแรกในไทย วันที่ 22 พ.ย. – 15 ธันวาคม 2561 ที่ AIS D.C. เอ็มโพเรียม โดยเปิดให้ประชาชนเข้าชมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย

การเตรียมพร้อมของ AIS เริ่มจากการขยายคลื่นความถี่ ที่เดิมเคยให้บริการ 3G มายัง 4G มากขึ้น โดยตอนนี้พื้นที่ในเมืองที่มีความพร้อมจะเริ่มให้บริการ 4G ที่คลื่น 2100MHz เพิ่มเติม ทำให้ผู้ใช้ที่เคยจับคลื่น AIS-T ได้หลังจากนี้หลายพื้นที่ก็จะเป็นบริการ 4G แล้ว

องค์ประกอบเต็มระบบของ 5G นั้นประกอบไปด้วยสามส่วนสำคัญ คือ

  • eMMB (Enhanced Mobile Broadband) ที่ เน้นไปที่การเพิ่มความเร็ว การเชื่อมต่อสำหรับการใช้งานทั่วไป เป็นการปรับปรุงประสบการณ์การใช้งานแบบเดิม
  • URLLC (Ultra-Reliable and Low Lantency Communication) การเชื่อมต่อความหน่วงต่ำสำหรับอุปกรณ์ในอุตสาหกรรม, ความปลอดภัยทางการแพทย์ไปจนถึงรถยนต์ไร้คนขับ
  • mMTC (Massive Machine Type Communication) การเชื่อมต่ออุปกรณ์จำนวนมาก

AIS เตรียมการการปรับปรุงความเร็วตาม eMBB ด้วยเตรียมจะทดสอบ คลื่น mmWave ในย่านความถี่ 26.5-27.5GHz พร้อมตัวอย่างการใช้งานในอุตสาหกรรม ในงาน “5G the First LIVE in Thailand by AIS” เพื่อให้ความพร้อมรองรับเทคโนโลยีใหม่ๆ ในอนาคต

สำหรับ mMTC ทาง AIS มีบริการที่เปิดไปแล้ว อย่าง NB-IoT สำหรับอุปกรณ์ขนาดเล็กความเร็วต่ำรองรับอุปกรณ์ได้มหาศาล และบริการ eMTC ที่รองรับความเร็วสูงขึ้นมา ทั้งสองบริการไม่ใช่เพียงการทดสอบ แต่มีความพร้อมสำหรับให้บริการจริงแล้วในตอนนี้

สุดท้ายคือ URLLC (Ultra-Reliable and Low Lantency Communication) ทาง AIS ได้ปรับโครงสร้างเครือข่ายหลักที่กระจายอยู่ในแต่ละภูมิภาค ให้สามารถสื่อสารไปยังเซิร์ฟเวอร์บริการต่างๆ ได้ทันที ไม่ต้องย้อนกลับมาถึงเครือข่ายในส่วนกลาง ช่วยลดความหน่วงในการรับส่งสัญญาณลง

URLLC จะช่วยให้มีการสร้างแอปพลิเคชันในรูปแบบใหม่ๆ ที่สามารถสั่งงานผ่านเครือข่ายได้จากศูนย์กลาง อาทิ การผ่าตัดทางไกล, การเชื่อมต่อ V2i หรือ Vehicle-to-Infrastructure ของรถยนต์รถไร้คนขับเพื่อสื่อสารกับอุปกรณ์อื่นๆ บนท้องถนน อย่างไฟจราจรหรืออาจเป็นรถยนต์คันอื่น และระบบ automation ในโรงงาน

บริการเหล่านี้เมื่อสมบูรณ์ จะไม่เพียงเป็นแค่ปรับปรุงประสบการณ์การใช้โทรศัพท์มือถือ แต่เป็นการสร้างโอกาสใหม่ๆ ให้กับอุตสาหกรรมการสื่อสาร บริการแนวใหม่ที่มาพร้อมกับการเชื่อมต่อจะมีโอกาสเกิดขึ้นได้อีกจำนวนมาก เช่น รถยนต์ในอนาคตจะสามารถส่งข้อมูลกลับไปยังศูนย์เพื่อรายงานสถานะ, นาฬิกาวัดชีพจรจะสามารถเชื่อมต่อกับโรงพยาบาลได้ทันที สำหรับผู้ใช้ทั่วไปบริการเหล่านี้ไม่สร้างความลำบากเพิ่มเติมในการซื้อซิมหรือเติมเงินรักษาเลขหมายเหมือนเช่นเคย แต่เป็นบริการที่มาพร้อมกับการเชื่อมต่อในตัว

ทั้งนี้ ในงานทดสอบ 5G ของ AIS จะเริ่มต้นด้วยความร่วมมือกับ NOKIA นำเสนอการทดสอบ 5G ผ่าน 5 โซลูชั่นส์ เพื่อแสดงให้เห็นถึงเรื่อง Speed และ Low Latency ของ 5G เปรียบเทียบกับ 4G ประกอบด้วย

  • 5G Super Speed การแสดงความค่าเครือข่ายที่สำคัญของเครือข่าย 5G เช่น ความเร็วในการรับส่งสัญญาณ (Total Throughput, Latency), ความหน่วง (Latency), การเข้ารหัสของสัญญาน (Modulation and Coding Scheme), ข้อมูลแนวลำส่งของสัญญาณ (beam information)
  • 5G Ultra Low Latency – Cooperative Cloud Robot การสาธิตความหน่วงของเครือข่าย 5G โดยการใช้หุ่นยนต์สามตัวในการหาจุดสมดุล ที่ทำให้ลูกบอลอยู่กึ่งกลางกระดาน การสาธิตแสดงเวลาที่หุ่นยนต์ใช้ในการหาจุดสมดุลผ่านการสื่อสารระหว่างกันโดยใช้เครือข่าย 4G เปรียบเทียบกับเครือข่าย 5G
  • 5G for Industry 4.0 หุ่นยนต์จะมีบทบาทอย่างยิ่งสำหรับอุตสาหกรรม 4.0 การทำงานร่วมกันของเครื่องจักรจากหลายสายการผลิตต้องการการเชื่อมต่อไร้สายที่มีความหน่วงต่ำและความน่าเชื่อถือสูง ซึ่งจะทำให้สายการผลิตทำงานได้เร็วขึ้น ยืดหยุ่น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการสาธิตหุ่นยนต์ YuMi® Dual-Arm Collaborative Robot จาก ABB ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต โดยเชื่อมต่อผ่านเครือข่าย 5G
  • 5G Virtual Reality – immersive video การสาธิต การดูวีดีโอที่แสดงสภาวะเสมือนจริง (immersive video) ผ่านเครือข่าย 5G ผู้ที่ใส่แว่นตา VR จะสามารถมองเห็นได้รอบด้าน 360 องศา การดูวีดีโอ VR ที่มีความคมชัด ต้องการ bandwidth ที่สูงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเป็นการถ่ายทอดสด หรือ live streaming
  • 5G FIFA Virtual Reality ทดลองความเร็วของเครือข่าย 5G ด้วยตัวคุณเอง โดยการเตะลูกบอล Virtual Reality ที่จุดโทษผ่านเครือข่าย 5G

สรุป

5G ไม่เพียงแต่เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในแง่ความเร็วของโครงข่ายโทรศัพท์มือถือจาก 4G เท่านั้น แต่ยังก่อให้เกิดการใช้งานในรูปแบบใหม่ๆ โดยเฉพาะกลุ่ม IoT และการเชื่อมต่อไร้สายประสิทธิภาพสูง เช่น การให้บริการทางการแพทย์ระยะไกล และ AIS ไม่ได้หยุดนิ่งรอมาตรฐานแต่อย่างใด แต่ปรับปรุงอย่างต่อเนื่องเพื่อความพร้อมสูงสุด

Blognone Jobs Premium