AIS โชว์ศักยภาพ สาธิต 5G ครั้งแรกในไทย พร้อมโชว์เคสการประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรม

by sponsored
24 November 2018 - 03:22

ด้วยความพร้อมในเชิงโครงข่ายและเทคโนโลยี วันพฤหัสที่ผ่านมา AIS ร่วมกับพาร์ทเนอร์อย่าง Nokia, Huawei และ ZTE ได้รับอนุญาตจาก กสทช. ในทดสอบการใช้งาน 5G บนคลื่นความถี่ 26.5 - 27.5 GHz แล้ว

การทดสอบครั้งนี้เป็นการโชว์เคสการใช้งานของ 5G โดยจะไม่ได้พูดถึงแต่ในแง่ของ Speed อย่างเดียว แต่ทาง AIS ได้จัดหา usecase ที่ทำให้เห็นในหลายๆ รูปแบบการใช้งาน และครอบคลุมทุกองค์ประกอบของ 5G ทั้ง 3 แกน คือeMMB (Enhanced Mobile Braodband) ที่เน้นความเร็ว, URLLC (Ultra-Reliable Low Latency Communication) สำหรับการเชื่อมต่อความหน่วงต่ำและ eMTC (Massive Machine Type Communication)

การทดสอบ 5G และโชว์เคสของ AIS มีทั้งหมด 5 แบบ

  • 5G Super Speed แสดงศักยภาพด้านสัญญาณของ 5G ซึ่งเป็นสัญญาณ 5G ที่ปล่อยผ่านเสาอากาศ ไปหามือถือจริงเป็นอุปกรณ์ต้นแบบ (prototype) ที่ support 5G โดยไม่ได้ใช้อุปกรณ์พิเศษ เพื่อให้ผู้เข้าชมได้เข้าถึงประสบการณ์จริงและเห็นว่าความเร็วที่ได้รับผ่านมือถือจริงๆนั้นมีความเร็วที่สูงระดับ Gigabit และความหน่วง (latency) ที่ต่ำในระดับ 5ms

  • 5G Ultra Low Latency – Cooperative Cloud Robot สาธิตความเร็วในการตอบสนองของหุ่นยนต์ 3 ตัวในการหาจุดสมดุลด้วยการทำให้ลูกบอลอยู่ที่กลางกระดาน โดยสาธิตแสดงเวลาที่หุ่นยนต์ใช้ในการหาจุดสมดุลผ่านการสื่อสารระหว่างกันโดยใช้เครือข่าย 4G เปรียบเทียบกับเครือข่าย 5G ซึ่งเวลาที่หุ่นยนต์ 3 ตัวใช้เวลาในการหาจุดสมดุลที่ใช้เครือข่าย 5G จะทำได้เร็วกว่าใช้เครือข่าย 4G

ระยะเวลาที่หุ่นยนต์ใช้ในการสื่อสารผ่านเครือข่ายเทียบระหว่าง 4G และ 5G

  • 5G for Industry 4.0 แสดงการทำงานร่วมกันของเครื่องจักรจากหลายสายการผลิตต้องการการเชื่อมต่อไร้สายที่มีความหน่วงต่ำ ทำให้สายการผลิตทำงานได้เร็วขึ้น ยืดหยุ่น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการสาธิตหุ่นยนต์ YuMi Dual-Arm Collaborative Robot จาก ABB ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต โดยเชื่อมต่อผ่านเครือข่าย 5G

  • 5G Virtual Reality – Immersive video การดูวีดีโอ VR ที่มีความคมชัด ต้องการแบนด์วิธที่สูงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเป็นการถ่ายทอดสด หรือ live streaming เคสนี้เลยแสดงการดูวิดิโอ VR ผ่าน 5G ที่มีการแสดงผลแทบจะเรียลไทม์และไม่หน่วง ซึ่งจะช่วยลดอาการเวียนหัวหรือ Motion Lag จากการดูวิดิโอผ่านแว่น VR ลงไปด้วย

  • 5G FIFA Virtual Reality โชว์ความหน่วงต่ำของ 5G ด้วยการให้ผู้เข้าร่วมทดสอบสวมแว่น VR และเตะจุดโทษ โดยเปรียบเทียบการตอบสนองของผู้รักษาประตูผ่านเครือข่าย 4G และ 5G ซึ่งจะพบว่าการเล่นผ่านเครือข่าย 5G จะยิงลูกโทษยากกว่า เพราะผู้รักษาประตูมีการตอบสนองต่อลูกบอลที่เราเตะออกไปเร็วกว่าบน 4G

สรุป

การทดสอบ 5G ครั้งนี้ของ AIS ไม่เพียงแต่โชว์ความพร้อมในแง่เทคโนโลยีเท่านั้น แต่ยังนำเสนอการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในอุตสาหกรรมต่างๆ ด้วย โดยงาน 5G the First LIVE in Thailand by AIS จะจัดไปจนถึงวันที่ 15 ธันวาคมนี้ ที่ AIS DC ชั้น 5 ศูนย์การค้าเอ็มโพเรียม

Blognone Jobs Premium