BSA (Business Software Alliance) ออกมาสนับสนุนให้บริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์ฟ้องแพ่งเรียกค่าเสียหายกับผู้บริโภคที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ จากกรณีคดีบริษัทไทยละเมิดลิขสิทธิ์ "Autodesk"
นายดรุณ ซอว์นีย์ ผู้อำนวยการฝ่ายปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ ประจำภูมิภาคเอเชีย ของกลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ หรือบีเอสเอ เปิดเผยว่า ปลายปี 2551 ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางของประเทศไทยได้มีการพิจารณาคดีให้บริษัท ฮาร์เวสท์ โมลด์ (ประเทศไทย) จำกัด จ่ายชดเชยจำนวน 3.5 ล้านบาท เป็นค่าเสียหายของซอฟต์แวร์ที่ถูกละเมิด ค่าเสื่อมเสียชื่อเสียง และค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีตามกฎหมาย ให้กับ บริษัท Autodesk Inc. ตามที่บริษัทฯ เป็นโจทย์ยื่นฟ้องต่อศาล
ตัวแทนจาก BSA กล่าวต่อไปว่า คดีดังกล่าวจะเป็นตัวอย่างให้บริษัทผู้พัฒนาซอฟต์แวร์สามารถดำเนินการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ได้ จากเดิมที่บริษัทผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ไม่ค่อยกล้าฟ้องร้องเพราะไม่เคยมีคำตัดสินคดีที่เป็นคดีตัวอย่าง โดยส่วนมากจะเป็นการเจรจายอมความระหว่างโจทย์กับจำเลยกันในศาลอาญา
ปัจจุบันอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ของไทยเท่ากับ 78% เป็นอันดับที่ 7 ในเอเชีย ขณะที่ค่าเฉลี่ยของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก อยู่ที่ 59% สำหรับประเทศที่มีอัตราละเมิดลิขสิทธิ์สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่
ส่วนซอฟท์แวร์ที่่ถูกละเมิดลิขสิทธิ์มาที่สุดคือ Antivirus และ โปรแกรม Office
ข้อมูลจาก IDC ระบุว่าหากประเทศไทยสามารถลดการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ที่ใช้ใน PC ลงได้ 10% จะทำให้มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 2,100 อัตรา และเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ถึง 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ
ผมว่าเปลี่ยนมาใช้ OpenSource ทดแทนกันดีกว่า เพราะฟรีและไม่ผิดกฎหมายด้วย