อินเทลติดหล่ม 14 นาโนเมตร นับตั้งแต่การออก Skylake ในปี 2015 ก็ยังไม่สามารถก้าวข้ามมายัง 10 นาโนเมตรได้ตามแผน ทำให้ยุทธศาสตร์ Tik-Tok ต้องล่มสลาย และนับจากนั้นเป็นต้นมา เราก็ยังอยู่กับสารพัดทะเลสาบ (lake) ที่ใช้สถาปัตยกรรมเดิมของ Skylake ที่ปรับแต่งเล็กน้อย บนกระบวนการผลิต 14 นาโนเมตรดังเดิม
(หมายเหตุ: อินเทลมี Cannon Lake 10 นาโนเมตร แต่เพียงแค่รุ่นเดียวและผลิตจำนวนจำกัดมาก)
แต่ปี 2019 สถานการณ์น่าจะเปลี่ยนไป เพราะอินเทลดูพร้อมแล้วสำหรับ 10 นาโนเมตร แถมยังเปิดตัวสถาปัตยกรรมใหม่ Sunny Cove ที่เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในรอบ 4 ปีนับจาก Skylake เป็นต้นมา เรียกได้ว่า Sunny Cove เป็นการเปลี่ยนแปลงทั้งกระบวนการผลิตและสถาปัตยกรรมไปพร้อมกันในรุ่นเดียว
ของใหม่ใน Sunny Cove แยกออกเป็นสองส่วน ได้แก่
ตอนนี้ยังมีข้อมูลของ Sunny Cove ออกมาไม่เยอะนัก เพราะเป็นแค่การเปิดตัวสถาปัตยกรรมเพียงอย่างเดียว ยังไม่มีชิปที่ใช้ Sunny Cove เปิดตัวออกมา และคงต้องรอรายละเอียดเพิ่มเติมในปีหน้า 2019
ซีพียู Sunny Cove ยังจะมาคู่กับจีพียูตัวใหม่ที่อินเทลเรียกว่า Gen11 (ข้ามจาก Gen9 ใน Skylake มาเป็น Gen11 เลย) ที่มีสมรรถนะเพิ่มขึ้นจากเดิมมาก มีฟีเจอร์สำคัญที่จีพียูยุคใหม่ควรมีอย่าง tile-based rendering (NVIDIA มีในปี 2014) และ Coarse Pixel Shading
ภาพจาก @intelgraphic
Sunny Cove นับเป็นจุดเริ่มต้นของซีพียูตระกูล Cove (อ่าว) ที่จะตามมาในปีต่อๆ ไป ได้แก่ Willow Cove ในปี 2020 และ Golden Cove ในปี 2021
ที่มา - AnandTech, Ars Technica