The Verge เว็บไซต์ข่าวเทคโนโลยีชื่อดังได้รวบรวมความล้มเหลวของสิ่งประดิษฐ์และเรื่องราวต่างๆ ในโลกเทคโนโลยีในรอบทศวรรษนี้ไว้ 84 อย่าง ผมเห็นว่าน่าสนใจดีเลยเอา 10 อันดับแรกมาให้อ่านกัน ดังนี้
เรียกว่าเป็นความล้มเหลวชิ้นใหญ่ของแอปเปิลได้เลย โดยคีย์บอร์ด Butterfly ถูกเปิดตัวและนำมาใช้กับ MacBook รุ่น 12 นิ้วในปี 2015 ตามมาด้วย MacBook Pro และ Air ก็ใช้คีย์บอร์ดแบบนี้ทั้งสิ้น ซึ่งแอปเปิลต้องการให้ยัดคีย์บอร์ดเข้าไปในบอดี้โน้ตบุ๊กบางๆ ได้ ทำให้ระยะลึกของปุ่มกดอยู่ที่เพียง 1 มม.
หายนะเริ่มเกิดในปี 2016 ที่ผู้ใช้รายงานว่าปุ่มเริ่มกดไม่ติด หรือบางครั้งก็กดเบิ้ล ซึ่งในตอนแรกแอปเปิลได้ปฏิเสธปัญหาดังกล่าวและแนะนำให้เอาลมมาเป่าไล่ฝุ่นออก อย่างไรก็ตาม แอปเปิลได้พัฒนาคีย์บอร์ด Butterfly มาอีกถึง 4 รุ่นเพื่อแก้ปัญหานี้ และออกโปรแกรมยืดระยะเวลารับประกันคีย์บอร์ดให้เป็น 4 ปี แต่ใน MacBook Pro รุ่น 16 นิ้วที่เพิ่งเปิดตัวก็ได้กลับไปใช้คีย์บอร์ดแบบ scissor ดั้งเดิมแล้ว
The Verge ระบุว่าการตีความและความเข้าใจเรื่องความเป็นส่วนตัวนั้นล้มเหลว เริ่มจากที่ Mark Zuckerberg ระบุในปี 2010 ว่า “ความเป็นส่วนตัวนั้นล้าหลัง” (ต่อมาเขาบอกว่าเข้าใจผิด) ไปจนถึงการที่รัฐบาลสหรัฐฯ เริ่มดักฟังโทรศัพท์หลังเหตุการณ์ 9/11 และเหตุการณ์ที่ NSA สอดแนมประชาชนทั้งประเทศ รวมถึงการที่บริษัทบัตรเครดิตก็ขายข้อมูลลูกค้า
หลายคนคงทราบว่ากูเกิลออกแอพแชทมาเยอะมาก ตั้งแต่ Hangouts เมื่อหลายปีก่อน (ตอนนี้ตายไปแล้ว) และต่อมาก็เปิดตัวแอพแชท Allo ที่ให้ใช้งานอยู่ไม่กี่ปีแล้วก็ปิดบริการไป คงเหลือแต่ Duo แอพวิดีโอคอลที่ดูจะไปได้ดี
อันนี้ก็เคยเป็นกระแสหนักมากของวงการทีวี เพราะคนทั่วไปก็สามารถดูทีวีสามมิติที่บ้านได้ แต่เอาเข้าจริงแล้วภาพก็ยังไม่ได้ทะลุจอเหมือนดูที่โรงหนัง แถมไม่มีใครอยากใส่แว่นให้เกะกะตอนอยู่บ้านด้วย ซึ่งบริษัททีวีพยายามดันอยู่หลายปีแต่ก็จุดกระแสไม่ติดและล้มเลิกกันไปในที่สุด
สมาร์ทโฟนจาก Amazon ที่ล้มเหลวไม่เป็นท่า เพราะซอฟต์แวร์ห่วย แต่ใส่ลูกเล่นมาเต็ม ซึ่งท้ายสุดแล้วจุดประสงค์ของโทรศัพท์รุ่นนี้ก็คือการเพิ่มยอดขายสินค้าอื่นๆ ของ Amazon ด้วยนั่นเอง แถม Jeff Bezos ก็เป็นคนริเริ่มโปรเจ็คนี้เองตั้งแต่แรกด้วย
Amazon Fire Phone ทำบริษัทขาดทุนไป 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้เป็นหนึ่งในไตรมาสที่แย่ที่สุดในประวัติศาสตร์บริษัทเลยทีเดียว
แว่นสุดเท่ที่เป็นกระแสไปทั่วโลก จัดงานเปิดตัวยิ่งใหญ่ขนาดที่ว่าให้นักโดดร่มสวม Google Glass ลงมากลางเมืองซานฟรานซิสโก ถ่ายทอดสดทาง Hangouts มาในหอประชุม แต่หลังจากนั้นไม่นานก็เริ่มมีร้านอาหารแบน Google Glass เพราะห่วงเรื่องความเป็นส่วนตัวจากกล้องที่ชี้เข้าหน้าคนอื่นตลอดเวลา
สุดท้ายแล้ว Google Glass ก็มีใช้เฉพาะในกลุ่มลูกค้าองค์กรเท่านั้น เพราะเพิ่งออกอัพเดตสุดท้ายให้ลูกค้าทั่วไปเพื่อตัดการเชื่อมต่อกับกูเกิลหลังประกาศปิดโครงการเมื่อปี 2015
อีกหนึ่งความล้มเหลวที่โด่งดังที่สุดในโลกสมาร์ทโฟน โดยไมโครซอฟท์เคยหวังไว้ว่า Windows Phone จะเป็นขั้วที่สาม นอกเหนือจาก iOS และ Android ด้วยการซื้อกิจการสมาร์ทโฟนของ Nokia มาในราคา 7.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และต่อมาก็ลงบัญชีเป็นหนี้สูญ (write-off) โดยบอกว่าเป็นการทดลองที่ล้มเหลว ซึ่งตอนนี้ Windows 10 Mobile ก็ได้ตายลงอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 10 ธันวาคม ที่ผ่านมา เพราะไมโครซอฟท์หยุดการออกแพตช์ทุกชนิดแล้ว
มหกรรมปาหี่ระดับโลกในร่างของเครื่องตรวจเลือดที่อ้างว่าใช้ตัวอย่างเลือดไม่กี่หยดก็ได้ผลการตรวจอย่างรวดเร็ว และจะมาปฏิวัติวงการตรวจเลือดใหม่หมด ซีอีโอหญิง Elizabeth Holmes ได้หลอกลวงผู้ให้เงินลงทุนหลายราย, ผู้บริหารบริษัทต่างๆ รวมถึงลูกค้าด้วยการใช้ผลการทดสอบจากห้องแล็บ แทนที่จะเป็นผลจากเครื่องตรวจเลือดดังกล่าว ทำให้บริษัท Theranos มีมูลค่าสูงสุดถึง 9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
ต่อมา Holmes ถูกฟ้องในข้อหาฉ้อโกง และแม้แต่ทีมทนายของเธอเองก็ออกมาบอกเมื่อตอนต้นปีนี้ว่าไม่ได้รับค่าจ้างมาหลายเดือนแล้ว
มือถือสุดอื้อฉาวที่มีข่าวระเบิดหลายครั้ง โดยตอนที่ Note 7 ออกมาแรกๆ นั้นมีเสียงตอบรับเป็นบวก เพราะการออกแบบสวยงามและใข้งานได้ดี แต่จากนั้นมันก็เปลี่ยนเป็นหายนะ เพราะมีรายงานการระเบิดของมือถือรุ่นดังกล่าวออกมาอย่างน้อย 35 ครั้ง โดย Samsung ต้องเรียกคืนและออกรุ่นปรับปรุงที่บอกว่าปลอดภัยแล้วแต่กลายเป็นว่ายังระเบิดอยู่
สุดท้ายแล้ว Samsung ต้องหยุดจำหน่าย Note 7 ทั่วโลก และนำชิ้นส่วนที่รีไซเคิลมาจาก Note 7 กลับมาประกอบเป็น Note FE (Fan Edition) และขายในบางประเทศ (มีขายในไทยด้วย)
อันดับหนึ่งไม่ใช่สิ่งประดิษฐ์ แต่เป็นเรื่องใหญ่ที่กระทบกับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคน คือโครงการความเป็นกลางของอินเทอร์เน็ต หรือ Net Neutrality ที่ให้อำนาจกับ FCC หรือกสทช.ของสหรัฐฯ เข้ามากำกับดูแลผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตได้มากขึ้น เช่นห้ามการปิดกั้นเนื้อหา (internet censorship), การบีบความเร็ว หรือพูดง่ายๆ ว่าหาก Net Neutrality ถูกบังคับใช้ เนื้อหาทุกชนิดบนอินเทอร์เน็ตต้องถูกเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียมจากผู้ใช้ทุกคน ด้วยความเร็วที่เท่ากัน
อย่างไรก็ตาม หลังจากการเข้ามาของประธานาธิบดี Donald Trump ที่แต่งตั้งให้ Ajit Pai เป็นหัวหน้าบอร์ดของ FCC คนใหม่ เขาก็พยายามจะยกเลิกการบังคับใช้ Net Neutrality อย่างมาก (Ajit Pai เคยทำงานให้ Verizon) ซึ่งเขาก็ทำสำเร็จเสียด้วย
เว็บไซต์ The Verge จึงยกให้ Ajit Pai เป็นความล้มเหลวอันดับหนึ่งในวงการเทคโนโลยีแห่งทศวรรษนี้ไปเลย
นอกจากนี้ใน 84 รายการ ยังมีสิ่งที่น่าสนใจอีกหลายอย่าง เช่น
ใครเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับการรวบรวมนี้อย่างไร หรืออยากเพิ่มอะไรเข้าไป คุยกันได้ในคอมเมนต์ด้านล่างครับ
ที่มา – The Verge