ชารัด เมห์โรทรา (Sharad Mehrotra) ซีอีโอคนใหม่ของ dtac ที่เพิ่งมาเริ่มงาน 1 กุมภาพันธ์ แถลงข่าวครั้งแรก หลังการประมูลคลื่นความถี่ 5G รอบล่าสุด เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ซึ่งมีทั้งประเด็นการประมูลคลื่น และยุทธศาสตร์ของ dtac ในยุคของเขานับจากนี้ไป
คุณชารัด บอกว่าแม้ล่าสุดจะไปทำงานที่ Telenor ประเทศพม่า แต่จริงๆ เขาอยู่เมืองไทยมา 6 ปีแล้ว ครอบครัวอยู่ที่เมืองไทย มีลูกสาวเรียนอยู่ที่ประเทศไทย
2 สัปดาห์แรกที่มาทำงานที่ dtac นอกจากการประมูลคลื่น 5G แล้ว ยังได้ลงสำรวจตลาด พบปะลูกค้า และให้กำลังใจพนักงานของ dtac ที่ประสบเหตุติดอยู่ในห้างสรรพสินค้า Terminal 21 ที่โคราชด้วย
ในแง่ยุทธศาสตร์ของ dtac หลังจากนี้ไป คุณชารัดให้ข้อมูลว่าลูกค้าใช้งาน mobile data มากขึ้นเรื่อยๆ จากปัจจัยเรื่องความนิยมของการดูวิดีโอออนไลน์ ลูกค้า dtac มีปริมาณใช้งานข้อมูลเฉลี่ย 11 GB ต่อคนต่อเดือนในปี 2019 ซึ่งตัวเลขนี้จะเพิ่มเป็น 16 GB ในปี 2020
คุณชารัดยังยืนยันคำสัญญาของ dtac ที่บอกกับลูกค้าว่า "เราจะไม่หยุดพัฒนา" (Never Stop) โดยสิ่งที่ dtac จะทำแบ่งออกเป็น 3 เรื่อง
dtac ยังยึดหลักเรียบง่าย ซื่อตรง จริงใจ (simple honest human) เช่นเดิม
ยุทธศาสตรืนี้เกี่ยวกับการปรับปรุงองค์กรของ dtac เองให้พร้อมสู่อนาคต ประกอบด้วย
คุณชารัด อ้างรายงานของ OpenSignal ในเดือน พ.ย. 2562 ว่า dtac มีความเร็วดาวน์โหลด 4G สูงสุดในไทย โดยมีค่าเฉลี่ยที่ 10 Mbps
ในแง่ของโครงสร้างพื้นฐานโครงข่าย สิ่งที่ทำได้แล้วคือ virtualized ตัวอุปกรณ์โครงข่ายให้จัดการง่ายขึ้น, เชื่อมต่อสายไฟเบอร์ไปยังสถานีฐานเกือบครบทุกแห่งแล้ว, หลังการพัฒนาโครงข่าย เสียงร้องเรียนจากลูกค้าก็ลดลงไป 50%
คุณชารัดอธิบายเหตุผลที่ dtac ตั้งใจเข้าไปประมูลคลื่นย่าน 26GHz อย่างเจาะจง ว่าเป็นคลื่นย่านเดียวที่มีความกว้างของคลื่นสูงมาก ตอบโจทย์ทั้งด้านความเร็วสูง และความหน่วง (latency) โดยคุณชารัดใช้คำว่า "เหมือนใช้แทนไฟเบอร์" ได้เลย
การเลือกคลื่น 26GHz ที่เป็นความถี่ย่านสูง (high band หรือ mmWave) ช่วยให้ dtac เปิดรูปแบบการใช้งาน (use case) ใหม่ๆ ได้แตกต่างจากคลื่นย่านอื่นที่มีอยู่แล้ว อย่างคลื่นความถี่ย่านต่ำ (700/900MHz) หรือย่านกลาง (1800/2100/2600MHz) ที่นำมาเปิดประมูล
นอกจากนี้ยังมีประเด็นว่าคลื่น 26GHz เป็นคลื่น 5G มาตรฐานเดียวกับเยอรมนี อังกฤษ สเปน และอีกหลายประเทศ ช่วยแก้ปัญหาเรื่องความเข้ากันได้ของอุปกรณ์ด้วย
หลัง dtac ได้คลื่น 26GHz มาแล้ว ทำให้ dtac มีคลื่นครบ 3 ย่านความถี่ ตอบโจทย์การใช้งาน 3 รูปแบบ
นอกจากประเด็นเรื่องโครงข่ายแล้ว dtac ยังจะลงทุนด้านแอพพลิเคชันในยุค 5G ซึ่งไม่จำกัดเฉพาะบนมือถือเท่านั้น เช่น dtac@Home ที่เป็น fixed wireless broadband เน้นลูกค้าตามบ้าน, การสร้างพันธมิตรด้านคอนเทนต์ และการสร้างเครือข่าย 5G ในองค์กร (Private Network) ซึง่จะแถลงข่าวความคืบหน้าของโครงการเหล่านี้ในระยะถัดๆ ไป