คุยกับคุณกิตติพงศ์ ทุมนัส ผู้จัดการ F5 ประเทศไทยกับยุคที่ F5 ไม่ได้เป็นแค่ load balancer แต่เป็นแพลตฟอร์มครบวงจรสำหรับแอปพลิเคชั่น

by sponsored
25 May 2020 - 08:24

F5 เป็นบริษัทซอฟต์แวร์ระดับองค์กรที่คนทำงานดูแลโครงสร้างไอทีระดับองค์กรอาจจะรู้จักในฐานนะผู้ผลิต Load Balancer ชื่อดังจากความนิยมในตัว BIG-IP โดยเป็นสินค้าตัวแรกของบริษัทตั้งแต่ช่วงก่อตั้งกว่า 20 ปีมาแล้ว ขณะคนทำงานไอทีทั่วไปน่าจะได้ยินชื่อ F5 มากขึ้นเรื่อยๆ หลังจากบริษัทเข้าซื้อบริษัท NGINX ไปเมื่อปีที่แล้ว ผู้ผลิตเว็บเซิร์ฟเวอร์ชื่อดังที่เว็บจำนวนมากใช้งานกันมานาน

นอกจากชื่อที่เราได้ยินกันบ่อยๆ แล้วที่จริง F5 ยังสะสมซอฟต์แวร์ระดับองค์กรเข้าพอร์ตอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทำให้บริการขยายออกไปกว่าการเป็นบริษัท Load Balancer อย่างเดิมมาก และเมื่อต้นปีที่ผ่านมา F5 ประเทศไทยก็ได้คุณกิตติพงศ์ ทุมนัส เข้ามารับตำแหน่งผู้จัดการประจำประเทศไทย (country manager) ในโอกาสนี้เราก็จะได้พูดคุยกับคุณกิตติพงศ์ถึงความท้าทายของการรับตำแหน่งในครั้งนี้

จากการรับตำแหน่งแล้วพบกับ COVID-19 พอดี มีความท้าทายอะไรต้องรับมือในช่วงนี้บ้าง

ที่จริงแล้วต้องบอกว่าเป็นโอกาส เพราะที่ผ่านมา F5 ทำได้ดีในตลาด ADC และ ความปลอดภัยโดยเฉพาะกลุ่มธนาคารและหน่วยงานรัฐ แต่พอเกิด COVID-19 แล้วเราก็มีโอกาสได้เข้าไปช่วยเหลือหลายองค์กรให้ได้ใช้งาน SSL VPN ของเรา เพราะสินค้าตัวนี้ที่จริงแล้วเราก็นับว่าเป็นที่หนึ่งมานานมีลูกค้าที่ใช้งานทั้งธนาคารและหน่วยงานรัฐ ในช่วง COVID-19 โดยเราให้ลูกค้าใช้งานได้ฟรี 45 วันและมีลูกค้าหลายรายใช้งานไปแล้ว ที่ผ่านมาเราก็ออก Campaign F5 SSLVPN สำหรับการ Work From Home ราคาพิเศษให้กับลูกค้าเพื่อช่วยเหลือกับช่วงโควิด-19

งานที่คิดว่าจะเข้ามาทำหน้าที่ใน F5 คิดว่าจะทำอะไรเป็นหลัก

ลูกค้าของ F5 มักเป็นองค์กรที่ใช้งานมานานโดยเฉพาะในกลุ่มธนาคาร แต่คำถามที่ลูกค้าอาจจะถามกันมากคือเรามีอะไรมากกว่า Load Balancer บ้าง แต่ที่จริงแล้วเรามีสินค้ามากกว่า 20 ตัว โดยเราวางแนวทางการออกผลิตภัณฑ์ไว้ว่าจะให้บริการจากแอปไปจนถึงผู้ใช้ปลายทาง (end user) แนวทางนี้ทำให้องค์กรจำนวนมากใช้ประโยชน์จากผลิตภัณฑ์ของเรากว้างขึ้นมาก ไม่ว่าจะเป็นบริการแบบ B2B, B2C, Retail ไปจนถึงกลุ่มโรงงาน (manufacturing) โดยเฉพาะการรักษาความปลอดภัยของแอปพลิเคชั่น

เราเข้าไปบอกตลาดว่าในระบบที่ดีนั้นการพัฒนาแอปเสร็จแล้วควรมีโซลูชั่นอะไรเข้ามาป้องกันแอปพลิเคชั่นให้ทำงานได้ต่อเนื่อง เช่น Web Application Firewall (WAF), Bot Protection, API Security การทำ High Availablity (HA) ให้กับแอป ไปจนถึงการ deploy แบบ multi-cloud

ยิ่งในปีที่ผ่านมาเราเพิ่มสินค้าในกลุ่ม Shape Security ที่ปกป้อง fraud (การฉ้อโกง)และ Anti-Bot ในระบบอีคอมเมิร์ชไม่ว่าจะเป็น B2C หรือ B2B การแนะนำให้ลูกค้าเห็นถึงภาพรวมของ F5 ให้ครบถ้วนก็นับเป็นงานสำคัญ

แนวทางการลงทุนกับความปลอดภัยของระบบเพิ่มขึ้นมาในช่วงหลัง F5 อยู่ตรงไหนในภาพนี้

ผลิตภัณฑ์ของเราให้บริการด้านความปลอดภัยแอปพลิเคชั่นอยู่แล้ว แต่ความพิเศษของเราคือการทำงานร่วมกับผู้ผลิตรายอื่นๆ ในกรณีที่ลูกค้าต้องการใช้โซลูชั่นอื่นเพิ่มเติม ที่ผ่านมาลูกค้าหลายรายมีปัญหาว่าเมื่อเพิ่มโซลูชั่นความปลอดภัยเข้าไปแล้วทำให้ประสิทธิภาพบริการโดยรวมลดลลง บางครั้งเหลือไม่ถึงครึ่งของโหลดสูงสุดที่ออกแบบไว้ โดยเฉพาะในช่วงหลังที่ทราฟิกของเว็บทั้งหมดถูกเข้ารหัส โซลูชั่นแต่ละตัวต้องเข้ารหัสถอดรหัสใหม่ทุกรอบ แต่ F5 มีฟีเจอร์การถอดรหัส SSL Visibility ที่รับหน้าที่ส่งต่อทราฟิกให้กับโซลูชั่นรักษาความปลอดภัยอื่นๆ โดยที่ประสิทธิภาพรวมของระบบไม่ได้ลดลง

อย่างตัว Shape Security เองที่เราบอกว่าเป็นการป้องกันการฉ้อโกง แต่ฟีเจอร์จริงๆ ของมันป้องกันการโจมตีได้หลากหลายกว่านั้นมาก นับตั้งแต่การป้องกันบอต, ป้องกันการดูดเว็บจากภายนอกเพื่อจับข้อมูลหรือชิงซื้อของช่วงลดราคาจนลูกค้าจริงซื้อไม่ได้ ไปจนถึงการป้องกันบัญชีลูกค้าบนเว็บของเราไม่ให้ถูกขโมยบัญชี

ความเปลี่ยนแปลงในแง่การพัฒนาแบบ DevOps ในช่วงหลัง F5 มีแนวทางอย่างไรบ้าง

เราพูดถึงแนวทาง Code to Customer มานานจากการที่เราอยู่ตรงกลางแล้วมองเห็นว่า DevOps และ SecOps หลายครั้งทำงานอยู่มุมตรงข้ามกัน เพราะ DevOps ต้องการนำโค้ดขึ้นไปเจอกับผู้ใช้ให้เร็วที่สุด ขณะที่ SecOps บอกว่าต้องมีการตรวจสอบให้แน่ใจ มีกระบวนการควบคุมตามมาตรฐานและข้อกำหนดต่างๆ ตามมาตร
ฐานความปลอดภัยให้ครบถ้วน

F5 เองมีเครื่องมีเชื่อมแนวทางเหล่านี้ให้ครบทั้งหมด เมื่อแอปมีการนำโค้ดใหม่ขึ้นไป SecOps ยังมีความสามารถในการควบคุมความปลอดภัยได้ และฝั่ง DevOps ก็มองเห็นประสิทธิภาพแอปที่ขึ้นไปแล้วมีประสิทธิภาพดีอยู่หรือไม่

การเปลี่ยนไปใช้งานคลาวด์ทำให้ลูกค้าใช้สินค้าของ F5 เปลี่ยนไปไหม

ลูกค้าจำนวนมากของเราใช้ผลิตภัณฑ์ของเราในรูปแบบ Appliance ที่ไปพร้อมกันทั้งเซิร์ฟเวอร์ แต่ที่จริงแล้วเรามีสินค้าในกลุ่มซอฟต์แวร์ที่ลูกค้าสามารถติดตั้งได้ทั้งในองค์กรเองและบนคลาวด์ ที่ผ่านมาเราก็สื่อสารไปยังลูกค้าว่าไม่ว่าจะซื้อรูปแบบไหนมาใช้งานประสิทธิภาพก็ไม่ได้ต่างกัน

จุดที่ต่างกันคือลูกค้ายังคงใช้ความชำนาญเดิม และชุดเครื่องมีอในการจัดการเดิมเข้าไปจัดการกับซอฟต์แวร์ของ F5 ได้ทั้งหมดไม่ว่าจะอยู่บนคลาวด์หรือในองค์กรเอง อันนี้เป็นเรื่องสำคัญเพราะลูกค้าจำนวนมากกังวลว่าการทำ Digital Transformation จะทำให้เข้าต้องหาบุคตลากรความสามารถใหม่ๆ หรือกระทั่งแยกทีมงานเป็นหลายทีม แต่ F5 ยืนยันว่าลูกค้ายังคงทำงานต่อเนื่องจากระบบเดิมได้แม้เปลี่ยนสภาพแวดล้อมไปก็ตาม ตอนนี้เองก็มีองค์กรขนาดใหญ่ที่ปรับตัวไปใช้คลาวด์แล้ว และยังใช้งาน F5 อยู่ หลายรายไปลองแบรนด์อื่นมาแล้วและก็พบว่าความต่างมันไม่คุ้ม

ปีที่แล้ว F5 รวม NGINX เข้ามามีผลยังไงในเมืองไทยบ้าง

ปีที่แล้วเราก็มีการสำรวจตลาดว่าในประเทศไทยว่ารู้จัก NGINX หรือไม่เราก็พบว่านักพัฒนา 70-80% รู้จักหรือใช้งานกันอยู่แล้ว ก็นับว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อแข็งแกร่งในวงการโอเพนซอร์ส

เราก็เตรียมจะเข้าไปบอกกับตลาดว่าสามารถใช้เวอร์ชั่นแอดวานซ์กว่านั้น คือ NGINX Plus ได้หากจะนำแอปพลิเคชั่นขึ้นไปทำงานในระดับองค์กร เพราะ NGINX Plus เอง มีฟีเจอร์เพิ่มเติมอย่าง API Security, Protect App, Load Balancing ที่แอดวานซ์ขี้น , NGINX Controller, หรือการทำ side car

อันนี้เป็นความท้าทายของผมในการรับตำแหน่งครั้งนี้โดยตรง เพราะในตลาดเองหลายคนไม่รู้ว่ามี NGINX Plus ก็เป็นเรื่องที่ต้องเข้ามาปรับความรับรู้ในตลาด โดยล่าสุดเราก็เตรียมจัดงานสัมมนาออนไลน์ในเรื่องนี้ ก็ขอเชิญทุกคนที่สนใจไปร่วมกันได้

เตรียมพบกับสัมมนาออนไลน์จาก F5 Networks

ทาง F5 Networks ประเทศไทยกำลังจะจัดงานสัมมนาออนไลน์ภาษาไทย “NGINX App Delivery in the age of DevOps” ที่จะเล่าถึงการใช้ NGINX ในการพัฒนาแอปพลิเคชั่นสำหรับองค์กรในรูปแบบ DevOps ผู้สนใจสามารถเข้าร่วมได้ในวันอังคารที่ 2 มิถุนายน 2563 เวลา 14.00 – 15.30 น ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนได้ทาง Zoom ฟรีสำหรับผู้สนใจทุกคน

และหลังจากนั้นในวันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน 2563 เวลา 9:00 น. - 11:00 น. ทาง F5 ยังมีงานประชุมสัมมนาออนไลน์ ASEAN Customer Engagement Summit 2020 เป็นการรวบรวมผู้เชี่ยวชาญและผู้นำ ด้านการพัฒนาแอปพลิเคชั่นมัลติคลาวด์มาให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับพัฒนาแอปพลิเคชั่นสมัยใหม่ โดยอาศัยแนวทาง API, DevOps, Site Reliability Engineering, และ Microservices

งานบรรยายเป็นภาษาอังกฤษ ผู้สนใจดูตารางการบรรยายและลงทะเบียนร่วมงานได้ในเว็บไซต์ F5

Blognone Jobs Premium