ในโอกาสที่ NVIDIA จะเปิดตัว GeForce "Ampere" วันที่ 1 กันยายนนี้ ถือเป็นช่วงครบรอบ 2 ปีของการเปิดตัว GeForce RTX ซีรีส์ 20 สถาปัตยกรรม "Turing" ด้วยพอดี
เว็บไซต์ PCWorld จึงมีบทความย้อนอดีต มองกลับไปว่า 2 ปีที่เราอยู่กับ GeForce RTX ส่งผลอะไรต่อวงการเกมบ้าง
GeForce RTX ซีรีส์ 20 ถือเป็นก้าวสำคัญของวงการจีพียู (ถึงขั้น NVIDIA ยอมเปลี่ยนชื่อ GTX ที่ใช้มานานเป็น RTX) เพราะมีฟีเจอร์สำคัญ 2 อย่างเพิ่มเข้ามาจากจีพียูรุ่นก่อนหน้า (GeForce GTX ซีรีส์ 10) คือ
อย่างไรก็ตาม ตัวคอร์หลักของจีพียูคือ CUDA core ที่ใช้ประมวลผลกราฟิกทั่วๆ ไป กลับไม่ได้พัฒนาประสิทธิภาพขึ้นจาก GeForce 10 มากนัก แต่ราคาของ GeForce 20 กลับแพงขึ้นจาก GeForce 10 อีกพอสมควร (ประมาณ 100 ดอลลาร์ต่อรุ่น หรือถ้าเป็นตัวท็อปคือแพงขึ้นถึง 500 ดอลลาร์) ทำให้ความคุ้มค่าของ GeForce 20 ขึ้นกับฟีเจอร์ ray tracing และ DLSS เป็นหลัก
Ray tracing ถือเป็นฟีเจอร์สำคัญที่สุดของ GeForce 20 เพราะพลิกโฉมวงการกราฟิกไปอย่างสิ้นเชิง อย่างไรก็ตาม เกมจำนวนมากกลับยังไม่รองรับฟีเจอร์นี้ เพราะต้องลงทุนออกแบบระบบจัดการแสงกันใหม่, เปลืองพลังการประมวลผลทำให้เฟรมเรตตกลง แถมในท้องตลาดก็ยังมีเพียง NVIDIA เพียงเจ้าเดียวที่รองรับด้วย (AMD RDNA 2 และ Intel Xe จะรองรับในช่วงปลายปีนี้) ทำให้นักพัฒนาเกมยังไม่ค่อยมีแรงจูงใจในการปรับเกมให้รองรับ ray tracing กันสักเท่าไรนัก
PCWorld รวบรวมข้อมูล 2 ปีย้อนหลังแล้วพบว่า
เวลาผ่านมา 2 ปี แต่เกมที่รองรับ ray tracing กลับมีเพียง 13 เกมเท่านั้น (นับรวม World of Warcraft: Shadowlands ที่ยังเป็น Beta) โดย PCWorld ประเมินว่าเกมที่คุ้มค่า ray tracing จริงๆ มีเพียง 4 เกมคือ Metro Exodus, Control, Minecraft และ Quake II RTS
PCWorld ประเมินว่า การพัฒนาเกมให้รองรับ ray tracing ต้องใช้เวลาในระยะแรกนานพอสมควร แต่เกมยุคถัดไปที่จะออกพร้อมคอนโซลยุคใหม่ (ซึ่งรองรับ ray tracing กันหมดแล้ว) จะเริ่มออกสู่ตลาดแล้ว เช่น Cyberpunk 2077 หรือ Watch Dogs Legion ซึ่งจะช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้น
นอกจากนี้ การที่ ray tracing ของ NVIDIA เรียกใช้ผ่าน DirectX 12 Ultimate ของไมโครซอฟท์ ที่เป็น API กลางของอุตสาหกรรม (อย่างน้อยใช้ได้บนพีซีและ Xbox Series X) ทำให้ฮาร์ดแวร์ของค่ายอื่นๆ ทั้ง Intel/AMD ได้ประโยชน์ตามไปด้วย เมื่อฮาร์ดแวร์ทุกค่ายรองรับ ray tracing บน API ตัวเดียวกันหมด นักพัฒนาก็ทำงานง่าย และตลาดมีขนาดใหญ่พอที่จะมีแรงจูงใจให้ทำ
ฟีเจอร์สำคัญอีกตัวของ GeForce 20 คือ DLSS ที่ใช้ AI ช่วยอัพสเกลภาพให้ความละเอียดสูงขึ้น ช่วยลดทรัพยากรการประมวลผลลงเพราะไม่ต้องประมวลผลภาพที่ความละเอียดเต็ม (ถือเป็นตัวช่วยของ ray tracing ที่เปิดใช้แล้วทำให้มีปัญหาประสิทธิภาพตกด้วย)
DLSS เวอร์ชัน 1.0 ไม่ประสบความสำเร็จมากนัก เพราะภาพที่เรนเดอร์ออกมาดูแย่ แต่ NVIDIA ก็แก้เกมอย่างรวดเร็ว ด้วยการออก DLSS เวอร์ชัน 2.0 ที่แก้ปัญหาไปมาก ทั้งเรื่องคุณภาพของภาพ และประสิทธิภาพในการเรนเดอร์
ช่วงแรกของการเปิดตัว DLSS เมื่อปี 2018 ทาง NVIDIA ประกาศรายชื่อเกมที่รองรับทั้งหมด 25 เกม แต่พอถึงปัจจุบันปี 2020 มีเพียง 8 จาก 25 เกมที่รองรับ DLSS ได้ตามที่สัญญาไว้ ซึ่งเป็นสถานการณ์เดียวกับที่ ray tracing เจอในช่วงแรกๆ ถ้านับรวมเกมทั้งหมดที่รองรับ DLSS มีอยู่ประมาณ 15 เกม
DLSS เป็นเทคโนโลยีที่ปรับเกมให้รองรับได้ง่ายกว่า ray tracing เพราะไม่ต้องปรับกระบวนการทำงานของเกมมากนัก (เท่ากับการออกแบบระบบแสงใหม่ของ ray tracing) แต่ข้อจำกัดของมันคือต้องพึ่งพา tensor core ที่เป็นเทคโนโลยีเฉพาะของ NVIDIA อย่างเดียว ต่างจากกรณีของ ray tracing ที่เรียกใช้ DirectX ของกลาง ก็อาจเป็นจุดอ่อนที่ทำให้นักพัฒนาเกมไม่สนใจรองรับ DLSS สักเท่าไร
PCWorld สรุปภาพรวมของ GeForce 20 ว่า ผลประโยชน์ในระยะสั้นไม่เยอะเท่าที่ควร เพราะผ่านมาแล้ว 2 ปี เกมที่รองรับฟีเจอร์เหล่านี้ยังมีน้อยมาก (คนที่ซื้อ GeForce 20 ไปก็คงไม่คุ้มค่ามากนัก) แต่ส่งผลประโยชน์ต่อ NVIDIA ในระยะยาว เพราะว่า
ส่วนผู้เล่นเองที่ซื้อ GeForce 20 ไปแล้วก็คงต้องรอกันต่อไปยาวๆ และความคุ้มค่าของการ์ดก็น่าจะเพิ่มขึ้นอีกมากในช่วงเวลาถัดจากนี้
ที่มา - PCWorld