TikTok นอกจากจะมีความโดดเด่นเรื่องคลิปบันเทิง ร้องเล่นเต้นประกอบเพลงแล้ว ด้วยความที่เป็นแพลตฟอร์มคลิปสั้น ผู้ใช้งานจึงนิยมดูเนื้อหาประเภทคลิปสอนฮาวทู แต่งหน้า ทำอาหาร ประดิษฐ์สิ่งของต่างๆ เพราะดูแล้วเพลิดเพลิน เข้าใจง่ายและได้ความรู้เพิ่ม
คลิปฮาวทูสอนการลงทุน เคล็ดลับรวยเร็ว และวิธีจัดการการเงินส่วนตัวก็ได้รับความนิยมมากเช่นกัน คลิปในแฮชแท็กจำพวก #sidehustle, #personalfinance, #investing และ #stocktips ได้รับการดูหลายล้านครั้งในเวลาเพียงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา
HootSuite เป็นบริการสำหรับโพสต์ไปยังเครือข่ายสังคม ประมาณการว่า 69% ของผู้ใช้ TikTok มีอายุระหว่าง 13 ถึง 24 ปี และเนื้อหาในหัวข้อการเงินส่วนบุคคลก็มี engagement สูง แต่ความน่ากังวลคือเป็นการยากที่จะแยกแยะว่า คลิปไหนเป็นคลิปเชิงให้ความรู้จริงๆ หรือคลิปไหนเป็นเชิงตลก ตัวอย่างคลิปการเงินที่มีคนดูสูงอย่างคลิปของ Tommy Zippler (@kingzippy) ที่แนะนำให้ใช้เงินจากบัตรเครดิตใบใหม่มาโปะใบเก่า ทำแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ ก็จะไม่มีหนี้บัตรเครดิต แม้เขาจะระบุแล้วว่าเป็นคลิปตลก แต่มีคนดูคลิปนี้ไปแล้วกว่า 430,000 ครั้ง
เนื้อหาจำพวกแนะนำการลงทุนได้รับความนิยมสูงด้วย ครีเอเตอร์บางรายแนะนำให้กดซื้อคอร์สสอนลงทุนราคา 300 ดอลลาร์ หรือกดเพื่อพูดคุยกันต่อที่ Discord เพื่อที่พวกเขาจะได้ให้คำแนะนำการลงทุนเล่นหุ้นเพิ่มเติม ซึ่งหลายคนอาจยังไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญการลงทุนมากขนาดนั้น
การตรวจสอบเนื้อหาว่าคลิปไหนถูกหรือปิด ก็ทำได้อย่าง เนื่องจากสื่อรูปแบบมัลติมีเดียแบบนี้ ตรวจสอบยากกว่าเนื้อหาที่เป็นตัวอักษรที่โพสต์ตามโซเชียลมีเดียอื่นอย่าง Facebook, Twitter
ดานโฆษก TikTok ระบุว่า ทางแพลตฟอร์มไม่อนุญาตให้ใครใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มเพื่อทำร้ายผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นการฉ้อโกง, ขโมยทรัพย์สิน ทางแพลตฟอร์มได้ลบเนื้อหาที่จงใจหลอกลวงทางการเงิน อย่างไรก็ตาม TikTok ไม่ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการทำงานของอัลกอริทึม หรือตัวอย่างเฉพาะของเนื้อหาที่ตรวจสอบและลบออกไปว่ามีอะไรบ้าง
ที่มา - Bloomberg Wealth