ความเคลื่อนไหวใน 24 ชม.หลังกูเกิลประกาศ Chrome OS

by nuntawat
9 July 2009 - 12:58

เป็นธรรมดาที่บริษัทใหญ่จาก กูเกิล อินเทล ไมโครซอฟท์ ยาฮู! ฯลฯ เมื่อมีข่าวออกมา (ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ) ทีไรก็จะกลายเป็นข่าวคึกโครมในอินเตอร์เน็ทไปซะเกือบทุกครั้งไป

หลังจากมีข่าวที่กูเกิลประกาศระบบปฏิบัติการ Chrome OS สำหรับเน็ตบุ๊กแล้ว เกือบทุกสำนักข่าวในต่างประเทศก็ได้ออกทั้งรายงานข่าวและบทวิเคราะห์มามากมาย ผมเลยลองรวบรวมพาดหัวข่าวและใจความสำคัญในช่วง 24 ชม. (ข่าวในวันที่ 8 ก.ค. ตามเวลาสหรัฐฯ) มาให้อ่านกัน โดยแยกตามประเด็นครับ

  • ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์กำลังร่วมมือกับกูเกิลในการพัฒนา Chrome OS (ดูข่าวเก่า โดยคุณ mk)

  • กูเกิลจะเปิดตัว Chrome OS ได้ทันกลางปีหน้าจริงหรือ? (ZDNet, eWeek)

  • Chrome OS จะทำให้กูเกิลต้องเข้าศาลเนื่องจากกลายเป็นผู้ผูกขาดหรือไม่? และน่ากังวลกับความเป็นส่วนตัวของข้อมูลผู้ใช้งานหรือไม่? (C|Net, InfoWorld, TechRadar UK)

  • Chrome OS จะเพิ่มหรือลดความเสี่ยงด้านความปลอดภัย? (C|Net)

  • ชุมชนสาวกลีนุกซ์กังวลว่า Chrome OS จะทำให้เกิดการแยกตัวของชุมชนฟรีซอฟท์แวร์ (TechRadar UK)

แถม: บทความ 'Google Chrome OS เมื่อกูเกิลระเบิดสงครามยึดโลกไอทียกใหม่' โดยคุณ putchonguth

(คลิกที่หัวข้อเพื่อดูใจความสำคัญแต่ละประเด็น)

ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์กำลังร่วมมือกับกูเกิลในการพัฒนา Chrome OS (ดูข่าวเก่า โดยคุณ mk)

ตอนนี้ประกอบไปด้วย Acer, Adobe, Asus, Freescale, HP, Lenovo, Qualcomm และ Texas Instruments โดยไม่มี Dell, Sony, Toshiba แต่อย่างไร โดยเฉพาะกับ Dell ที่ถูก Acer ไล่จี้ยอดขายติดๆ

กูเกิลจะเปิดตัว Chrome OS ได้ทันกลางปีหน้าจริงหรือ? (ZDNet, eWeek)

โดยผู้เขียนข่าวใน ZDNet ได้ตั้งข้อสังเกตไว้หลายประการ จากคำประกาศของกูเกิล อาทิ ได้คาดการณ์ถึงการเปิดตัววินโดวส์โมบาย 7 ที่น่าจะเกิดขึ้นต้นปีหน้าหรือไม่ หรือ กูเกิลกำลังจะบอกว่าผู้ใช้สามารถแก้ไขซอร์สโค้ดของระบบปฏิบัติการได้หรือไม่ เนื่องด้วยความเป็นโอเพ่นซอร์ส ทั้งที่ระบบปฏิบัติการควรจะได้รับการพัฒนาตั้งแต่น้ำจนเสร็จสิ้นโดยไม่น่าให้คนอื่นเข้ามาวุ่นวาย (อ้างอิงคำพูดจากแอปเปิล)

ส่วนใน eWeek เริ่มต้นบทความผู้เขียนได้กล่าวถึงอุปสรรคของกูเกิล อาทิ การตัดสินใจของผู้ผลิตว่าจะย้ายฝั่งจากไมโครซอฟท์วินโดวส์หรือลีนุกซ์มายัง Chrome OS หรือไม่ หรือผู้ที่ใช้งานวินโดวส์จะย้ายมาใช้ด้วยหรือไม่ นอกจากนั้นยังมีประเด็นอื่นๆ อาทิ เครื่องมือในการพัฒนาแอพพลิเคชั่นที่ยังคงเป็นคำถาม เรื่องการสนับสนุนอุปกรณ์ต่างๆ ว่าจำเป็นหรือไม่ที่ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์จะต้องจัดทำออกมาหรืออาจไม่ต้องการไดร์เวอร์มากก็ได้เนื่องด้วยเป็นระบบปฏิบัติการที่ย่อส่วน (lightweight OS) กว่าระบบปฏิบัติการจากค่ายอื่น

Chrome OS จะทำให้กูเกิลต้องเข้าศาลเนื่องจากกลายเป็นผู้ผูกขาดหรือไม่? และน่ากังวลกับความเป็นส่วนตัวของข้อมูลผู้ใช้งานหรือไม่? (C|Net, InfoWorld, TechRadar UK)

โดยใน TechRadar UK ได้กล่าวว่า เนื่องจากกูเกิลได้ครอบครองตลาดการค้นหาทางโทรศัพท์ไว้เกือบทั้งหมด แล้วหาก Chrome OS มีส่วนแบ่งตลาดอย่างมีนัยสำคัญ จะทำให้กูเกิลเป็นผู้นำทั้งเดสก์ท็อปและอินเตอร์เน็ท ซึ่งจะเสี่ยงต่อการที่คู่แข่งร้องเรียนเรื่องการผูกขาดเฉกเช่นเดียวกับไมโครซอฟท์ นอกจากนั้น C|Net และ InfoWorld ยังได้กล่าวเสริมในเรื่องการความเป็นส่วนตัวของข้อมูลผู้ใช้งาน โดย InfoWorld ได้ข้อสงสัยว่ากูเกิลจะทำได้ดีแค่ไหนในการปกป้องความเป็นส่วนตัวของข้อมูลผู้ใช้บนระบบปฏิบัติการ ถึงแม้จะทำได้ดีในบริการที่มีอยู่

ส่วน C|Net ก็กล่าวถึงถึงสิ่งที่คาดหวังว่าจะมี อาทิ การให้ผู้ใช้มีสิทธิ์ที่จะไม่แชร์ข้อมูลกับกูเกิล (เช่น ผ่านการค้นหาข้อมูล) ได้ หรือการติดตามการใช้งานจากผู้ใช้ เนื่องด้วยกูเกิลนั้นเป็นเจ้าของการติดตามดูพฤติกรรมผู้ใช้ เพื่อนำมาพัฒนาหรือปรับปรุงบริการของตนเองอย่างแข่งขัน (มากกว่าไมโครซอฟท์ที่ติดเรื่องสิทธิ์ส่วนบุคคลมากกว่า)

Chrome OS จะเพิ่มหรือลดความเสี่ยงด้านความปลอดภัย? (C|Net)

โดยผู้เขียนข่าว C|Net ได้กล่าวถึงข่าวใหญ่ คือ การเปิดตัว Chrome OS และการโจมตีเว็บไซต์ของราชการและภาคธุรกิจในประเทศเกาหลีใต้และสหรัฐฯ (โดนไปรวม 27 ราย ดูเพิ่มเติมได้จาก eWeek) ซึ่งจุดที่เหล่าแฮกเกอร์ใช้คือจุดอ่อนในระบบปฏิบัติการวินโดวส์ แต่หากเกิดขึ้นกับกูเกิลอาจผลกระทบอย่างกว้างขวางมากวินโดวส์เสียอีก เนื่องด้วยบริการเว็บแอพพลิเคชั่นที่มากมายของกูเกิลเปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานนำข้อมูลขึ้นไปเก็บไว้ และเครื่องแม่ข่ายจำนวนมากที่รันโดนกูเกิล (ถึงแม้ปัญหานี้ยังไม่เคยเกิด แต่เหตุการณ์ในเดือนพ.ค.ที่เว็บไซต์ของกูเกิลบางส่วนไม่สามารถเข้าถึงได้อันเนื่องจากปัญหาทางเทคนิค ทำให้เกิดผลกระทบมากมายแล้ว)

ชุมชนสาวกลีนุกซ์กังวลว่า Chrome OS จะทำให้เกิดการแยกตัวของชุมชนฟรีซอฟท์แวร์ (TechRadar UK)

โดยได้อ้างอิงคำพูดจากนิตยสาร Linux Format โดยได้กล่าวว่าในสถานการณ์ที่กูเกิลเข้าตอนนี้ มีทั้ง Ubuntu ที่จะพยายามลงไปเล่นตลาด ARM อินเทลและโนเกียและพันธมัตรที่พยามผลักดัน Moblin ให้เป็นมาตรฐาน เป็นต้น ทำให้กูเกิลอาจมาแบ่งแยกชุมชนฟรีซอฟท์แวร์ออกไปอีก (ไมโครซอฟท์อาจดีใจที่จะได้เห็นปรากฏดังกล่าวก็เป้นได้)

Blognone Jobs Premium