โลกธุรกิจในทุกวันนี้ ให้ความสำคัญกับความเร็วเป็นอันดับหนึ่ง องค์กรต้องการลดเวลาที่บริการแต่ละตัวใช้ในการพัฒนา จนถึงนำออกมาให้บริการ (time to value) เพื่อให้ลูกค้าใช้ประโยชน์จากบริการใหม่ๆ ได้ทันที
แนวทางเช่นนี้ทำให้บริการคลาวด์เข้ามาช่วยองค์กรได้มากขึ้น เพราะนักพัฒนาสามารถเข้าถึงเครื่องมือที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องรอให้ใครมาเซ็ตอัพเครื่องมือต่างๆ ให้เหมือนระบบไอทียุคก่อน
บริการคลาวด์ในยุคแรกๆ คือการย้ายเครื่อง server จาก bare metal หรือ physical server ไปเป็น virtual machine แต่นักพัฒนายังต้องจัดการเครื่องเองทั้งหมด (self-managed) ตั้งแต่บูตเครื่อง ติดตั้งระบบปฏิบัติการและซอฟต์แวร์ที่จำเป็น ไปถึงการอัพเดตแพตช์ความปลอดภัย บำรุงรักษาฐานข้อมูล ตรงนี้ถือเป็นภาระที่เพิ่มขึ้นเมื่อระบบใหญ่โตและซับซ้อนขึ้นตามระยะเวลา
ในช่วงหลังเราจึงมักจะเห็น “บริการคลาวด์ที่มาพร้อมการจัดการ” (managed cloud service) ที่ช่วยลดภาระของทีมพัฒนา ทำให้นักพัฒนาใช้เทคโนโลยีต่างๆ ได้โดยไม่ต้องกังวลกับการจัดการฮาร์ดแวร์, บริหาร uptime, หรือวุ่นวายกับการอัพเดตซอฟต์แวร์อีกต่อไป บริการประเภทนี้พร้อมใช้งานได้ทันที โดยไม่ต้องเสียเวลาติดตั้งและคอนฟิก รวมถึงค่าใช้จ่ายในระยะยาวอาจจะถูกลงเพราะคิดค่าบริการตามการใช้งานจริง
การเลือกระหว่างบริการทั้ง 2 แบบมีปัจจัยให้พิจารณาหลายอย่าง ทีมพัฒนาบางทีมต้องการปรับแต่งทุกส่วนตามใจ ขณะที่บางกลุ่มต้องการให้ผู้เชี่ยวชาญมาตัดสินใจแทนและเอาเวลาไปพัฒนาตัวแอปพลิเคชั่นแทน
Red Hat มีบริการให้กับทั้งสองกลุ่ม กลุ่มที่ต้องการปรับแต่งเองอาจใช้บริการในกลุ่ม self-managed และกลุ่มที่ต้องการใช้งานแบบสำเร็จรูปทาง Red Hat ก็เสนอ managed cloud service ให้ได้เช่นกัน
ตัวอย่างข้อดีของบริการแบบ managed cloud ได้แก่
บริการคลาวด์เหล่านี้ไม่เพียงอำนวยความสะดวกให้นักพัฒนา แต่ยังช่วยลดภาระฝ่ายไอทีที่ดูแลบริการ ตลอดจนฝ่ายธุรกิจที่เล็งเห็นโอกาสในด้านต่างๆ มาเป็นผลลัพธ์ทางธุรกิจได้ทันที ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาแอปพลิเคชั่นใหม่ หรือการปรับปรุงระบบเดิม หรือหากต้องการทดสอบว่าจะใช้บริการเหล่านี้ได้ตรงความต้องการหรือไม่ก็สามารถทดสอบได้ทันโดยไม่ต้องเสียเวลาติดตั้ง
ทดสอบบริการคลาวด์พร้อมการจัดการของ Red Hat ได้แล้ววันนี้