AIS Business จับมือ Mitsubishi Electric และ TKK สร้างโซลูชัน e-F@ctory บนเครือข่าย 5G เดินหน้าปฏิวัติอุตสาหกรรมไทย

by sponsored
19 August 2021 - 03:00

ที่ผ่านมา AIS ผลักดันการใช้งาน 5G ในภาคอุตสาหกรรมการผลิต (Manufacturing) ซึ่งเป็นภาคส่วนที่จะได้ผลประโยชน์จากการใช้เครือข่าย 5G มากที่สุด จากรายงานของ Author D. Little พบกรณีศึกษาการใช้งาน 5G ในอุตสาหกรรมการผลิตถึง 49% และมีการคาดการณ์ด้วยว่า 5G จะสร้างโอกาสทางธุรกิจสำหรับองค์กรทั่วโลกได้มากถึง 475 ล้านเหรียญภายในปี 2025

ไทยเองถือเป็นหนึ่งในฐานการผลิตสินค้าส่งออกสำคัญ และเพื่อให้ไทยยังสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก จำเป็นต้องปฏิวัติ ยกระดับวงการอุตสาหกรรมด้วยเทคโนโลยี

และถือเป็นก้าวสำคัญเมื่อ AIS Business ลงนามความร่วมมือกับ Mitsubishi Electric และ TKK Corporation ร่วมกันนำเสนอโซลูชัน e-F@ctory บนเครือข่าย AIS 5G เพื่อนำมาใช้งานจริง

ส่วนเหตุผลที่ว่า ทำไมจึงต้องเป็น Mitsubishi Electric และ TKK นั้น เป็นเพราะ Mitsubishi Electric คือผู้นำด้านระบบควบคุมการผลิตอัตโนมัติในโรงงาน (Factory Automation) ดำเนินธุรกิจมากว่า 20 ปีในประเทศไทย โดยให้บริการทั้งการนำเข้า, จัดจำหน่ายสินค้า, ให้คำปรึกษาด้านเทคนิค, ตลอดจนสร้างศูนย์ฝึกอบรมให้ความรู้ด้านเทคนิคการและวิธีการใช้งานเครื่องจักรแก่บุคลากรด้วย ด้าน TKK คือผู้นำด้านการให้บริการจัดหาและจำหน่ายสินค้าในระบบควบคุมการผลิตอัตโนมัติในโรงงาน (Factory Automation) ครอบคลุมกว่า 50 แบรนด์ทั่วโลก ซึ่งทั้งสองบริษัทให้บริการโรงงานต่างๆ ในการทำระบบออโตเมชันในโรงงานอยู่แล้ว

“หัวใจสำคัญของการขยายศักยภาพ 5G สู่ภาคอุตสาหกรรม นอกเหนือจากความแข็งแกร่งของการมีเครือข่ายที่พร้อมใช้งานแล้ว การมีพันธมิตรทางธุรกิจที่พร้อมเปลี่ยนแปลงโรงงานให้มีศักยภาพสอดรับกับโลกยุคใหม่ คือแนวทางที่ AIS ยึดถือมาตลอด” นายธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าองค์กร AIS กล่าว

e-F@ctory บนเครือข่าย AIS 5G

ความสามารถหลักๆ ของโซลูชัน e-F@ctory คือระบบควบคุมการทำงานของเครื่องจักรในโรงงานระยะไกลด้วย IoT เป็นการควบคุมระยะไกลโดยสมบูรณ์ ซึ่งทาง Mitsubishi Electric ได้พัฒนาโซลูชัน IoT ร่วมกับพันธมิตรในโครงการ e-F@ctory Alliance พัฒนาโซลูชันควบคุมเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่มีความซับซ้อน ตั้งแต่ระบบการทำงานไปจนถึงเครือข่ายการเชื่อมต่อ เสมือนการควบคุมจากหน้าไลน์การผลิตจนได้ออกมาเป็นกลุ่มโซลูชัน FA Remote (Factory Automation Remote)

FA Remote ทำงานสำคัญ 4 อย่างคือ

  • Remote Monitoring การตรวจสอบระยะไกล ผู้บริหาร, หัวหน้างาน หรือผู้ดูแลเครื่องจักรตรวจสอบสถานะการผลิต สถานะเครื่องหรือประสิทธิภาพการผลิตได้จากทุกที่ บริหารจัดการการผลิตในภาพรวมได้ชัดเจน และยังมองเห็นปัญหาในภาพรวมเพื่อแก้ไขต่อไป
  • Remote Maintenance การบำรุงรักษาระยะไกล ลดระยะเวลาการเข้าหน้างานไปซ่อมบำรุงรักษา หรือตรวจสอบการทำงานเครื่องจักร สามารถทำงานจากที่บ้านได้ ทำให้ลดต้นทุนค่าเสียโอกาสที่สายการผลิตจะต้องหยุดลง
  • Remote Development การพัฒนาโปรแกรมจากระยะไกล เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการภาพรวมในการประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ภายในโรงงาน ทำให้สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง และจากที่ไหนก็ได้ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการประสานงานระหว่างแผนก
  • Remote Service การบริการระยะไกล บริการให้คำปรึกษาแบบทางไกลได้ทันทีผ่าน Mobile Network จากผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคของ Mitsubishi และ Partners เมื่อเครื่องจักรมีปัญหาสามารถ เข้าแก้ไขปัญหาเบื้องต้นได้จากระยะไกลได้อย่างรวดเร็ว

การนำระบบ FA Remote มาใช้งานจริงบนเครือข่าย AIS 5G ช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงานภายในภาคการผลิตได้อย่างสมบูรณ์ ทั้งการเพิ่มคุณภาพ ลดต้นทุนการผลิต และตอบรับความต้องการการใช้งานในรูปแบบเครือข่ายเฉพาะ (Private Network) อีกทั้งยังช่วยเพิ่มความปลอดภัยของข้อมูล ความเร็ว ลดความหน่วง เพื่อการรองรับการทำงาน IoT ได้อย่างเต็มรูปแบบ และยังสามารถเลือกย่านความถี่ที่เหมาะสมกับความต้องการของโรงงานได้

นายวิเชียร งามสุขเกษมศรี กรรมการผู้จัดการ Mitsubishi Electric ให้ภาพรวมสถานการณ์ตอนนี้ว่า โควิด-19 ทำให้ความตระหนักของโรงงานมีมากขึ้น เพราะโรงงานเล็งเห็นแล้วว่าการใช้คนงานมีความเสี่ยงเรื่องโรคระบาด การทำ FA Remote จึงเป็นสิ่งที่อุตสาหกรรมต้องการ Mitsubishi Electric เองเป็นผู้นำตลาดฮาร์ดแวร์และการทำออโตเมชันอยู่แล้ว ประกอบกับ 5G จาก AIS จะช่วยให้การวางโครงสร้างระบบ สามารถทำได้เร็วขึ้น

นางกัลยาณี คงสมจิตร ประธานบริหาร TKK ตั้งเป้าในความร่วมมือครั้งนี้ว่า เมื่อนำความเชี่ยวชาญด้านการจัดจำหน่ายสินค้าในระบบควบคุมการผลิตอัตโนมัติในโรงงาน ผนวกกับความร่วมมือของ AIS และ Mitsubishi Electric เชื่อมั่นว่าจะสามารถส่งมอบมอบโซลูชันให้กับโรงงานในภาคอุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สรุป

ทั้ง Mitsubishi Electric และ TKK ต่างก็เป็นผู้เชี่ยวชาญการทำระบบออโตเมชันในโรงงานอยู่แล้ว ส่วนบทบาทของ AIS คือเข้าไปเป็นตัวกลาง ให้บริการด้านเครือข่ายที่จะทำให้ระบบ FA Remote ทำงานได้เร็วขึ้น เสริมด้วยบริการดิจิทัล, คลาวด์ ที่จะช่วยเร่งให้โรงงาน deploy ระบบได้เร็วยิ่งขึ้น

ผู้ที่สนใจบริการธุรกิจจาก AIS เพิ่มเติม สามารถดูข้อมูลรายละเอียดต่างๆ ได้ที่หน้าเว็บไซต์ของ AIS Business ได้ทันที หรือติดต่อเจ้าหน้าที่ AIS Business ที่ดูแลท่านอยู่

Blognone Jobs Premium