เตรียมพร้อมสู่ทศวรรษที่สองของสตาร์ทอัพด้วยอินฟราและพาร์ทเนอร์ที่แข็งแกร่งของ AIS The StartUp

by sponsored
30 September 2021 - 10:00

AIS Business และ AIS The StartUp จัดงาน NATIONAL DIGITAL CTO FORUM 2022 รวมผู้นำวงการเทคโนโลยีและสตาร์ทอัพ อัพเดตเทรนด์เทคโนโลยี โอกาสและความท้าทายของวงการสตาร์ทอัพที่กำลังก้าวเข้าสู่ทศวรรษที่สอง

ย้อนกลับไปราวปี 2011 ถือเป็นช่วงเวลาเริ่มต้นของวงการสตาร์ทอัพในไทย เรามองเห็นการจัดการแข่งขันประชันไอเดีย สร้างโมเดลธุรกิจเพื่อตอบโจทย์ pain point ของลูกค้าและสังคม เรามองเห็นการระดมทุนอย่างคึกคักและไทยก็ถือว่ามีศักยภาพเป็นศูนย์กลางของสตาร์ทอัพในอาเซียนได้

แนวคิดของหน่วยงาน AIS the StartUp เองเริ่มก่อตั้งขึ้นในปลายปี 2011 ซึ่งเป็นช่วงระยะแรกของวงการสตาร์ทอัพพอดี โดยเอไอเอสเล็งเห็นแล้วว่าประเทศไทยไม่สามารถขับเคลื่อนด้วยสินค้าอย่างเดียว แต่ขับเคลื่อนด้วยบริการและต้องเป็นบริการดิจิทัลด้วย จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ผู้บริหารเริ่มโครงการ Startup ขึ้นมา

จนถึงตอนนี้ผ่านมาสิบปี ก้าวสู่ทศวรรษที่สองของสตาร์ทอัพ มีการเปลี่ยนแปลงจากสิบปีที่แล้วอย่างไร และต้องเตรียมความพร้อมเข้าสู่ทศวรรษที่สองของสตาร์ทอัพได้อย่างไร Blognone จะพาไปหาคำตอบที่งานเสวนาออนไลน์ครั้งนี้

สิบปีที่อยู่ในวงการ AIS the StartUp มองเห็นอะไรบ้าง

ในการเสวนาหัวข้อ “เกิดอะไรขึ้นบ้างกับวงการ Startup และ Tech SMEs” คุณศรีหทัย พราหมณี ผู้จัดการส่วนงาน AIS the StartUp ที่เห็นความเป็นไปในวงการสตาร์ทอัพมาร่วมสิบปี แชร์เทรนด์และโอกาสในอนาคตของสตาร์ทอัพได้อย่างน่าสนใจ

คุณศรีหทัย พราหมณี ผู้จัดการส่วนงาน AIS the StartUp

“เหตุผลสำคัญที่ก่อตั้ง AIS the StartUp มาจากวิสัยทัศน์ของผู้บริหารที่บอกว่า เราไม่สามารถรอให้ประเทศมี ecosystem ที่พร้อมสำหรับสตาร์ทอัพได้ แต่เราต้องเป็นหนึ่งในองคาพยพที่ทำให้ประเทศไทยมีความพร้อม จึงได้ก่อตั้ง AIS the StartUp เพื่อช่วยสนับสนุนสตาร์ทอัพในประเทศไทย”

แรงขับเคลื่อนที่ทำให้ไทยสามารถสร้าง ecosystem มาได้ถึงสิบปี มาจากสามปัจจัยด้วยกัน

  • ตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ ไทยเป็นศูนย์กลางของอาเซียน ความสะดวกในการเดินทางและแลกเปลี่ยนกันทางธุรกิจกับประเทศอื่นที่มีความแข็งแกร่งทางเทคโนโลยีอย่างสิงคโปร์ เวียดนาม
  • ต้นทุนการเริ่มต้นสร้างธุรกิจ ค่าครองชีพ ยังไม่สูงมากเมื่อเทียบกับสิงคโปร์
  • ไทยเป็นตลาดที่มีความหลากหลาย ธุรกิจสตาร์ทอัพสามารถสร้างผลิตภัณฑ์และทำการทดสอบตลาดได้ตั้งแต่ระดับชุมชน หรือกลุ่มคนเล็กๆ ไปจนถึงกลุ่มใหญ่ระดับประเทศ

โควิด-19 บททดสอบสำคัญของสตาร์ทอัพ

ช่วงโควิด-19 เป็นบททดสอบสำคัญสำหรับสตาร์ทอัพและ SMEs ใครที่สามารถพิสูจน์ธุรกิจของตัวเองได้ว่าก่อตั้งขึ้นมาด้วยเหตุผลอะไร ทำไปด้วยเหตุผลอะไร ผลิตภัณฑ์ของเราสามารถแก้ไขปัญหาให้ลูกค้าได้อย่างไร ธุรกิจนั้นจะสามารถเปล่งประกายขึ้นมาได้ในยุคโรคระบาด

โควิด-19 ยังเป็นโอกาสของสตาร์ทอัพที่จะสร้างตัวจากการแก้ปัญหาของคนได้ เพราะด้วยโครงสร้างบริษัทมีขนาดเล็ก สามารถขยับตัวทำอะไรใหม่ๆ ได้คล่องตัวกว่า หากสร้างบริการหรือผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ปัญหาช่วงโควิด-19 ได้ทันเวลา ลูกค้าก็พร้อมยอมจ่าย

ยกตัวอย่าง SHIPPOP ที่เข้าร่วมกับ AIS The StartUp ตั้งแต่ปี 2015 สตาร์ทอัพด้านโลจิสติกส์เจาะกลุ่มธุรกิจรายย่อย เป็นอีกทางเลือกบริการแพลตฟอร์มส่งของสำหรับคนขายของออนไลน์ที่ไม่มีเครื่องมือด้านโลจิสติกส์ สามารถนำไปใช้กับธุรกิจของตัวเอง โดยช่วงล็อกดาวน์ SHIPPOP มีการเติบโตมากกว่า 60% สะท้อนถึงการคว้าโอกาสได้อย่างดี

Exclusive Network Partnership กับไมโครซอฟท์ ให้สตาร์ทอัพไปได้ไกลกว่า

พัฒนาการของสตาร์ทอัพเริ่มจาก B2C ให้บริการแก่ผู้บริโภคทั่วไป และ B2B ให้บริการแก่ผู้ประกอบการ แต่เทรนด์อนาคตคือ B2B2X โดย X ในที่นี้สามารถเป็นใครก็ได้ตั้งแต่ คน ธุรกิจ ไปจนถึงองค์กร ซึ่งการขยายตัวไปสู่ B2B2X ได้จำเป็นต้องมีเครือข่ายพาร์ทเนอร์เป็นแรงสนับสนุนสำคัญ

AIS the StartUp จึงร่วมมือกับ Microsoft for Startups โดยเอไอเอสเป็นพาร์ทเนอร์รายแรกและรายเดียวของไมโครซอฟท์ร่วมกันทำโครงการ AIS x Microsoft for Startups สนับสนุนสตาร์ทอัพไทยที่ทำธุรกิจ B2B ให้เข้าถึงการใช้งานเทคโนโลยีและเข้าถึงกลุ่มลูกค้าในต่างประเทศได้

ในงานเสวนาครั้งนี้ Emily Rich ซึ่งเป็นหัวหน้าของ Microsoft for Startups ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มาร่วมเสวนา และแชร์มุมมองฝั่งไมโครซอฟท์ให้ฟังกันด้วย

Emily Rich หัวหน้า Microsoft for Startups ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

Rich บอกว่า การร่วมมือกับเอไอเอสครั้งนี้สร้างความเป็นไปได้มากมายแก่สตาร์ทอัพไทย โดยเฉพาะเรื่องมาร์เก็ตเพลสที่สตาร์ทอัพจะสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้กว้างขึ้น และการสนับสนุนสตาร์ทอัพในเชิงเทคนิคหลายด้าน

Rich ยกตัวอย่างเทคโนโลยีสำคัญที่สตาร์ทอัพสามารถเข้าถึงได้เลยเมื่อเข้าร่วมโครงการคือ

  • เครดิต Azure (สูงถึง $120,000 เป็นเวลา 2 ปี)
  • เข้าถึง Visual Studio และ GitHub Enterprise ฟรี
  • สิทธิ์การใช้งาน Microsoft 365 รวมถึง Microsoft Teams เพื่อดำเนินธุรกิจ
  • สิทธิ์การใช้งาน Dynamics 365 และ Power Platform
  • การสนับสนุนทางเทคนิคตลอด 24 ชั่วโมง
  • เข้าถึงเมนเทอร์ ผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิคของไมโครซอฟท์

นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างโปรเจกต์ที่ไมโครซอฟท์ช่วยสนับสนุนสตาร์ทอัพในต่างประเทศ ได้แก่ Highway to 100 Unicorns โครงการที่ช่วยผลักดันสตาร์ทอัพเกิดใหม่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียแปซิฟิก, Global Social Entrepreneurship: Project Amplify ร่วมกับ Accenture ช่วยสตาร์ทอัพที่เน้นการสร้างคุณค่าทางสังคม เป็นต้น

การสนับสนุนสตาร์ทอัพเป็นสิ่งที่ไมโครซอฟท์ทำมาตลอดอยู่แล้ว แต่การจับมือเอไอเอส ทำให้เกิดการทำงานร่วมกันแบบครบวงจร ไมโครซอฟท์มีระบบคลาวด์ที่ทำให้ deploy บริการใหม่ออกมาได้เร็ว และเอไอเอสก็มีเครือข่ายบุคลากรหลังการขาย ช่วยให้สตาร์ทอัพออกสู่ตลาดได้ง่ายขึ้น

การร่วมมือกันระหว่างสองค่ายใหญ่เอไอเอสและไมโครซอฟท์ นำมาสู่ ยุทธศาสตร์ 4S ติดปีกสตาร์ทอัพ คือ Speed, Saving, Solution, Sale & Marketing

  • Speed คือการทำงานบนเครือข่ายของเอไอเอส ที่ครอบคลุม 77 จังหวัดทั่วไทย
  • Saving การเข้าถึงเทคโนโลยีไมโครซอฟท์ได้ฟรี ลดค่าใช้จ่ายและลดระยะเวลา deploy บริการและผลิตภัณฑ์
  • Solutions การเข้าถึงโซลูชันทั้ง Azure, Visual Studio, GitHub Enterprise ฯลฯ
  • Sale & Marketing เข้าถึงช่องทางการขายหลากหลาย ผ่านพนักงานขายของเอไอเอสและไมโครซอฟท์ สร้างการเติบโตทางธุรกิจ

สรุป

ย้อนกลับไปสักสิบปีที่แล้ว มาตรวัดความสำเร็จของสตาร์ทอัพคือโมเดลธุรกิจและการสร้าง Impact ต่อสังคม แต่การรันธุรกิจให้ราบรื่นและต่อยอดธุรกิจให้โตขึ้นเรื่อยๆ ก็เป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งการทำคนเดียวอาจเป็นเรื่องยาก เพราะสิ่งที่ทำให้ธุรกิจโตต่อไปได้อย่างก้าวกระโดดคือ Infrastructure

การสร้างพาร์ทเนอร์ที่แข็งแกร่งผ่านโครงการ AIS x Microsoft for Startups พร้อมโครงข่าย 5G จากเอไอเอสที่นำมาใช้เป็น use case จริงแล้วในหลายอุตสาหกรรม จะช่วยติดปิกสตาร์ทอัพให้ก้าวเข้าสู่ทศวรรษที่สองของสตาร์ทอัพได้อย่างมั่นคง

สตาร์ทอัพและผู้ที่สนใจสามารถเข้ามาดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการ หรือเข้าเว็บไซต์ AIS the StartUp หรือ Facebook Fanpage AIS the StartUp

Blognone Jobs Premium