Kbank ชวนเปลี่ยน Technology Disruption ให้เป็นโอกาส พร้อมรับความเปลี่ยนแปลงใน 10 ปีข้างหน้า

by sponsored
14 October 2021 - 07:20

ก่อนโควิด-19 เรามักจะพูดถึงการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอยู่เสมอ คนในวงการเทคโนโลยี นักธุรกิจและผู้ประกอบการ ต่างอยากรู้อยากเห็นและคาดการณ์เทรนด์เทคโนโลยีไว้ล่วงหน้า 10 ปี 20 ปี เพื่อที่จะได้ตั้งรับและปรับตัวได้ทัน ในแง่การลงทุนก็เช่นกัน นักลงทุนมองหาเทรนด์ธุรกิจใหม่ๆ เพื่อบริหารความมั่งคั่ง และมีแนวโน้มที่จะลงทุนในเมกะเทรนด์ หรือเทรนด์ที่จะมามีส่วนสำคัญในธุรกิจกระแสหลักในอนาคตอันใกล้

จนกระทั่งโควิด-19 ที่เร่งการเปลี่ยนแปลงที่ควรจะเกิดขึ้นภายใน 5 ปี 10 ปี ให้เกิดขึ้นได้ในระยะเวลา 2 ปี ได้เปลี่ยนมุมมองคนในวงการเทคโนโลยีและนักลงทุนไปอย่างสิ้นเชิง เราต้องจับตาดูความเลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเร็วระดับรายไตรมาสหรือรายเดือนเท่านั้น เพราะความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในอัตราเร่งกว่าเดิมและถี่กว่าเดิม

คุณกระทิง เรืองโรจน์ พูนผล ประธานกลุ่มกสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KTBG) คือหนึ่งในบุคคลที่ออกมาพูดเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอยู่เสมอ คุณกระทิงพูดอยู่หลายครั้งว่า เทรนด์ที่เกิดขึ้นแล้วคือการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องหรือ Continuous Disruption ดังนั้นทักษะที่จำเป็นในระยะยาวทั้งกับคนในวงการเทคโนโลยีและนักลงทุน คือเรียนรู้ที่จะอยู่กับความเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

ในงานสัมมนาออนไลน์ด้านเศรษฐกิจและการลงทุน THE WISDOM The Symbol Of Your Vision: The Future of Digital Disruption and Investment ที่ธนาคารกสิกรไทยจัดสัมมนาแบบ Exclusive ให้แก่กลุ่มลูกค้า WISDOM คุณกระทิงได้มาแชร์เทรนด์การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ซึ่งนอกจากเราต้องตั้งรับ Continuous Disruption แล้ว ยังมีเมกะเทรนด์ใหม่ๆ ที่น่าจะเกิดขึ้นใน 10-20 ปีมาแชร์ให้ฟังด้วย

พัฒนาการการเปลี่ยนแปลงของโลกก่อนปี 2030

คุณกระทิงเริ่มต้นให้ฟังว่า โลก 10-20 ปีข้างหน้าไม่ใช่แค่เปลี่ยนแปลงธรรมดา แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาล มาพร้อมความท้าทายและโอกาส การจัดงาน THE WISDOM The Symbol Of Your Vision: The Future of Digital Disruption and Investment จึงมีเป้าหมายให้ลูกค้า WISDOM ได้รับแรงบันดาลใจดีๆ เพื่อวางแผนการลงทุน และมองเห็นอนาคตร่วมกันกับธนาคารกสิกรไทย

ในหัวข้อการบรรยาย Turning Digital Disruption into Opportunity หรือการปรับมุมมองเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีให้เป็นโอกาสนั้น คุณกระทิง ได้พาผู้ฟังนั่งไทม์แมชชีนแชร์เมกะเทรนด์ในอีก 10 ปีข้างหน้าหรือช่วงปี 2030 ว่าจะมีเทรนด์ไหนที่น่าจับตามอง และธุรกิจควรปรับตัวอย่างไรบ้าง

ช่วงปี 2016-2019 เคยคาดการณ์ไว้ว่าจะเกิดปรากฏการณ์ดิสรัปชันต่อกันแบบโดมิโน หรือการเปลี่ยนแปลงจากอุตสาหกรรมหนึ่งไปยังอีกอุตสาหกรรมหนึ่งนั้นไม่เป็นความจริงอีกต่อไป เพราะโควิด-19 มาเร่งการเปลี่ยนแปลงทุกอย่าง และจะกลายเป็นยุคของ Continuous Disruption อย่างที่ได้กล่าวไปแล้ว

ปี 2024-2025 จะเกิดการหักศอกของการเปลี่ยนแปลง หลังจากนั้นการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นอย่างก้าวกระโดดต่อเนื่องไปจนถึงปลายทศวรรษ ดังนั้นโลกในปี 2030 จะเป็นโลกเหนือจินตนาการของพวกเรา

ก่อนโควิด-19 การท่องเที่ยวและสื่อ ถูกดิสรัปชันมากกว่าอุตสาหกรรมอื่น ส่วนการศึกษา อาหาร สุขภาพ คืออุตสาหกรรมยังไม่เจอการดิสรัปชันเข้มข้นเท่า

แต่โควิด-19 ทำให้เกิดการดิสรัปชันพร้อมๆ กันในทุกอุตสาหกรรม จากเดิมการศึกษาและสุขภาพที่แทบไม่เจอดิสรัปชัน กลับต้องปรับตัวอย่างมหาศาลในยุคโควิด การรักษาทางการแพทย์ต้องเปลี่ยนมาเป็นการรักษาทางไกลหรือ Telemedicine เพื่อรักษาระยะห่างเรียกได้ว่า ทุกอุตสาหกรรมถูกปรับเปลี่ยนอย่างเท่าเทียม

ในยุคโควิด-19 พบว่าจับจ่ายใช้สอยออนไลน์โตขึ้น 16% ต่อเดือน อุตสาหกรรมอาหารโตขึ้น 74% ส่วนอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารหรือ Non-Food โตขึ้น 60%

ปัจจัยทั้งหมดนี้ส่งผลให้บริการส่งอาหาร เดลิเวอรี อีคอมเมิร์ซโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด ในปี 2020 จำนวนการจับจ่ายใช้สอยบนออนไลน์ในประเทศไทยโต 58% สิงคโปร์โตขึ้น 47% อินโดนีเซียโตขึ้น 15%

โควิด-19 ยังเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภค ข้อมูลจากบริษัทวิจัยเรตติ้ง Nielsen และบริษัทที่ปรึกษาระดับโลก McKinsey มีการสำรวจความเห็นประชาชน พบว่าในประเทศจีนนั้น คนจีน 83% มองว่าการทำงานจากที่บ้านนั้นให้ประสิทธิภาพดี 81% มีการเรียนรู้ออนไลน์ทุกวัน คนอเมริกันที่ดูทีวีทุกวันเพิ่มขึ้นมา 30% และทำอาหารที่บ้านเพิ่มขึ้น 39%

ทั้งหมดทั้งมวลนี้ ทำให้ระบบเศรษฐกิจของโลกเริ่มปรับเปลี่ยนจาก Lazy Economy หรือกลุ่มอุตสาหกรรมตอบโจทย์ความสะดวกสบาย กลายเป็น At Home Economy ที่ตอบโจทย์พฤติกรรมใหม่ที่คน Work-Play-Stay-Learn-Exercise at Home


​​ภาพจาก Unsplash โดย Mimi Thian

มาเจาะที่เทคโนโลยีกันบ้าง ปัจจุบันเรามีเทคโนโลยีศักดิ์สิทธิ์สามอย่างคือ AI, Blockchain, Quantum Computing

ในแง่ AI เราจะเห็นพัฒนาการจากการทำงานซ้ำๆ เป็นรูทีนแทนมนุษย์ได้ มาสู่การทำงานที่ไม่ใช่รูทีนแล้ว ยกตัวอย่างเทคโนโลยี NLP หรือ Natural Language Processing ที่ทำหน้าที่วิเคราะห์ข้อความและเสียง จะพัฒนาการมาเป็นการสร้างข้อความและเสียง และจะสามารถเข้าใจภาษาสีหน้าและการแสดงท่าทางของมนุษย์ และสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วก็คือ AI Influencer อย่างน้องไอรีนและ Rozy ที่รับงานจริง สร้างรายได้จริง

ดังนั้น แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นคือ อุตสาหกรรมต่างๆ จะนำ AI ไปปรับใช้กับธุรกิจของตัวเองมากขึ้น และยิ่งเร็วกว่าเดิมเมื่อเกิดโควิด-19 ซึ่งก่อให้เกิดข้อมูลมหาศาลทั้งข้อมูลการจับจ่ายใช้สอยออนไลน์ ข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภค ทุกอย่างเป็นอาหารชั้นดีให้ AI ได้ทั้งสิ้น

เมกะเทรนด์มาแรงในโลกอนาคต ทางเลือกใหม่นักลงทุน

อุตสาหกรรมหนึ่งที่คุณกระทิงยกตัวอย่างว่าสามารถถูกดิสรัปชันได้เสมอคือตลาดอาหารที่ทำจากเนื้อสัตว์ มูลค่า 1.7 ล้านล้านดอลลาร์ เนื่องจากอาหารกลุ่มนี้ใช้น้ำ, พื้นที่ และการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่บรรยากาศมาก ดังนั้นเทรนด์ที่จะเข้ามาดิสรัปชันคือ อาหารที่ทำจากพืชหรือ Plant Based ที่ใช้น้ำ และพื้นที่รวมถึงการปล่อยก๊าซน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญ

ดังนั้นเราจึงเริ่มมองเห็นร้านอาหารทั้งเชนใหญ่ และรายย่อย เพิ่มทางเลือกอาหารจากพืชเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในร้าน เพราะลูกค้ามีความตระหนักเรื่อง Climate Change ข้อมูลจากบริษัท Data Bridge คาดการณ์ว่ามูลค่าตลาดอาหาร Plant Based จะโตได้ถึง 143 พันล้านดอลลาร์ภายในปี 2027
​​


Photo: Shutterstock

อุตสาหกรรมรถยนต์ก็เช่นกัน เรามองเห็นเทรนด์รถ EV กันมาสักพักแล้ว มีการคาดการณ์ว่าอุตสาหกรรม EV จะมีมูลค่าเป็น 2.5 พันล้านดอลลาร์ภายในปี 2027 และโลกปี 2030-2040 ที่เราพอจะจินตนาการได้ในตอนนี้คือ เป็นโลกที่ขับเคลื่อนด้วยยานพาหนะ EV และรถยนต์ขับเคลื่อนด้วยตัวเอง

ในอุตสาหกรรมรีเทลหรือค้าปลีกนั้น ถูกดิสรัปชันจากอีคอมเมิร์ซมาก่อนยุคโควิด-19 แต่คุณกระทิงยืนยันว่าร้านค้าออฟไลน์นั้น ยังจำเป็นกับชีวิตคน แต่ร้านค้าต้องปรับเปลี่ยนตัวเองใหม่ที่สามารถสร้าง Engagement กับคนได้ ยกตัวอย่างเช่นร้านขายเสื้อผ้าโยคะ เปิดพื้นที่ให้คนมาฝึกโยคะ ฝึกนั่งสมาธิ หรือร้านกาแฟที่เปิดพื้นที่ให้คนมาร่วมพูดคุยกัน เป็นอีกเทรนด์ที่ชื่อว่า Community is the New Retail ปรับเปลี่ยนตัวเองให้เข้าถึงลูกค้ามากขึ้น

อนาคตยังมาพร้อมเทรนด์ธุรกิจใหม่ๆ อีกมาก ทั้งธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ ซึ่งจะเป็นกลุ่มบุคคลที่พร้อมจ่ายและยอมจ่ายเพื่อสินค้าและบริการที่มาตอบโจทย์พฤติกรรมของตนเอง หรือ Silver Friendly นอกจากนี้ยังมีธุรกิจการศึกษาหรือ EdTech ที่คนหันมารีสกิลและเรียนรู้สิ่งใหม่เพื่อพัฒนาตัวเองให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

Asia Partner คาดการณ์ธุรกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไว้ว่าจะสามารถเข้าสู่ยุคทอง คาดว่าจะมีสตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์นได้มากกว่า 20 เจ้าภายในปี 2029 เนื่องจากการปรับตัวเข้าสู่ดิจิทัลเริ่มอิ่มตัวและ Mature โดยเฉพาะในสิงคโปร์ เวียดนาม อินโดนีเซีย

เมกะเทรนด์ในโลกการเงินการลงทุน

ภาคการเงินถือเป็นอุตสาหกรรมที่ต้องปรับตัวเปลี่ยนแปลงมาตลอด ซึ่งในกระแสการเปลี่ยนแปลงยังมาพร้อมโอกาสและเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่าง DeFi หรือ Decentralized Finance และ Blockchain ที่จะสร้างนวัตกรรมการเงินใหม่ และจะส่งผลกระทบต่อระบบการเงิน การธนาคารได้อย่างที่ยังจินตนาการได้ยาก เพราะเรายังอยู่ในจุดเริ่มต้นของการดิสรัปชันในเวฟที่สองของโลกการเงินเท่านั้น

ในงานสัมมนายังมีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนอีกสามท่านมาเสวนาร่วมกันในหัวข้อ Unlocking a New Era of Investment คือ

  • คุณชลเดช เขมะรัตนา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มโรโบเวลธ์ นายกสมาคมฟินเทคประเทศไทย
  • คุณจิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ผู้ก่อตั้งและ Group CEO บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์
  • คุณกานต์นิธิ ทองธนากุล ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการลงทุน Merkle Capital ผู้ก่อตั้งเพจ Kim DeFi Daddy และ Bitcoin Addict Thailand

คุณชลเดช บอกว่า โควิด-19 เป็นยุคทองของธุรกิจเทคโนโลยี และอีกปรากฏการณ์ที่น่าสนใจคือ จำนวนนักลงทุนเพิ่มขึ้น เดือน ม.ค. ปี 2020 มีนักลงทุนหุ้นไทย 1.2 ล้านคน แต่ข้อมูลล่าสุดเดือน ส.ค. ปี 2021 เพิ่มขึ้นเป็น 2.0 ล้านคน

โควิดทำให้หลายคนรู้ว่าการลงทุนเป็นเรื่องจำเป็น เงินในกระเป๋ามนุษย์เงินเดือน (ที่ยังได้เงินเดือนเต็ม) มีมากขึ้น ทำให้เขาเลือกที่จะเอาเงินมาลงทุน นอกจากนี้ยังมีข่าวสาร เพจ เว็บไซต์ช่วยให้นักลงทุนรายย่อยเข้ามามีส่วนร่วมในการลงทุน

ด้านการลงทุนในเทรนด์ใหม่อย่างบิทคอยน์และ DeFi นั้น คุณกานต์นิธิ ระบุว่า ธรรมชาติของการลงทุนต้องพึ่งพาตัวกลางให้บริหารสินทรัพย์เราได้ดี แต่ DeFi มาช่วยแก้ไขเรื่องความเชื่อใจกันระหว่างนักลงทุนและตัวกลางโดยอาศัย Blockchain เป็นตัวขับเคลื่อน หรือสามารถสรุปได้ง่ายๆ ว่า DeFi เป็นการจำลองระบบการเงินที่เราคุ้นเคยมาอยู่บน Blockchain นั่นเอง

การตระหนักถึงความเสี่ยงเป็นเรื่องสำคัญ การลงทุนมีความเสี่ยง จึงต้องเลือกแพลตฟอร์มที่ให้บริการลงทุน DeFi ดีๆ ต้องตรวจสอบผู้ให้บริการแพลตฟอร์มว่าเป็นใคร เปิดแพลตฟอร์มมาเป็นระยะเวลาเท่าไร หรือสมมติว่าเป็นธนาคารกสิกรไทยมาเปิดแพลตฟอร์ม ก็ถือว่าน่าเชื่อถือ เป็นธนาคารที่ให้บริการจริง มีตัวตน


บริษัท คิวบิกซ์ (Kubix) ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลผ่านบล็อกเชน ก่อตั้งโดย KBTG

ด้านการลงทุนที่มาแรงอย่างบิทคอยน์ คุณจิรายุสระบุว่า คนเริ่มเข้าใจกันมากขึ้นว่า Crypto Currency เป็น Internet Protocol ไม่ใช่อากาศ ปัจจุบันมีลูกค้าบนบิทคับ ล้านบัญชี นอกจากนักลงทุนแล้วยังมีบริษัทมาเปิดบัญชีกับเรามากขึ้นเพื่ออยากมาอยากให้ Crypto Currency มาเป็นอีกสินทรัพย์ของบริษัท แต่การเข้าสู่โลก Crypto Currency นั้น คุณจิรายุส แนะนำว่าควรศึกษาและทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้เสียก่อน เริ่มทำให้เป็นแล้วค่อยเพิ่มจำนวน

สรุป

ถือเป็นงานสัมมนาที่เข้มข้น และอัดแน่นด้วยเนื้อหาที่มีประโยชน์ต่อกลุ่มลูกค้า WISDOM ของธนาคารกสิกรไทยและคนทั่วไปที่อยากรู้อยากเห็นโลกอนาคตว่าจะเดินไปในทิศทางไหน ธุรกิจและคนทำงานต้องปรับตัวอย่างไรบ้าง

ซึ่งคุณกระทิงทิ้งท้ายในงานสัมมนาไว้อย่างน่าสนใจว่า ธุรกิจตอนนี้มีทางเลือกแค่สองทาง คือ Innovate or Die ที่สามารถเริ่มต้นได้ด้วยการสร้าง Empathy ทั้งกับลูกค้าและกับพนักงาน ฟัง เรียนรู้ และการทำงานร่วมกันให้เกิดขึ้นในองค์กร

วิกฤตโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อทุกคน เป็นวิกฤตแห่งศตวรรษ ดังนั้นองค์กรที่สามารถผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปได้ถือเป็น Team of the Century ที่พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงแบบ Continuous Disruption ที่จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในอีก 10-20 ปีข้างหน้า

Blognone Jobs Premium