เว็บไซต์ AnandTech มีบทความอธิบายสถาปัตยกรรมของ Core 12th Gen Alder Lake ที่ค่อนข้างละเอียด ของใหม่ที่สำคัญใน Alder Lake คือการมีคอร์สองขนาดคือ คอร์ใหญ่ Performance Core (P-Core) และคอร์เล็ก Efficiency Core (E-Core)
การมีคอร์ 2 ระดับ (แถม P-Core มี hyperthreading) ทำให้การเลือกว่าจะจ่ายงานให้คอร์ไหนมีความซับซ้อนขึ้นมาก เพราะในอดีต ซีพียู x86 มีคอร์แบบเดียวเท่ากันหมด การจ่ายงานเป็นหน้าที่ของ OS ที่เลือกจัดคิว (scheduler) ตามความเหมาะสม แต่ OS เองก็ไม่มีข้อมูลว่าคอร์ไหนมีสถานะอย่างไร ทำงานอะไรอยู่บ้าง
อินเทลจึงเพิ่มไมโครคอนโทรลเลอร์ที่ระดับฮาร์ดแวร์มาอีกตัวในชื่อ Intel Thread Director (ITD) เพื่อมอนิเตอร์การทำงานของทุกคอร์ว่ากำลงทำอะไรอยู่ มีความร้อนหรือระดับพลังงานอย่างไร (ละเอียดระดับ nanosecond) และส่งข้อมูลนี้ไปบอก OS (ละเอียดระดับ microsecond) ให้ OS คอยตัดสินใจอีกที
อินเทลร่วมมือกับไมโครซอฟท์เพื่อให้ OS ทำงานร่วมกับ ITD ได้อย่างเหมาะสม แต่สิ่งสำคัญคือ Windows 11 จะทำงานกับ ITD ได้ดีกว่า Windows 10 เพราะมองเห็นข้อมูลใน ITD ละเอียดกว่า (Windows 10 มองเห็นว่า E-Core ประสิทธิภาพต่ำกว่า P-Core แต่ไม่รู้สถานะละเอียด) นี่อาจเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ไมโครซอฟท์จูงใจให้คนมาใช้ Windows 11 แทน Windows 10 ในกรณีที่ใช้ซีพียู 12th Gen
การทำงานของ ITD แบ่งงาน (workload) ออกเป็น 4 คลาสคือ
ITD จะแนะนำว่างาน Class 3 ควรรันโดย E-Core ส่วน Class 1-2 ควรเป็นของ P-Core แต่สุดท้ายเป็นหน้าที่ของ OS ตัดสินใจเลือกอีกที (OS สามารถ override คำแนะนำของ ITD ได้) โดย ITD ใช้โมเดลที่เทรนจากข้อมูลการทำงานของซีพียูเป็นหลักล้านชั่วโมง มาแยกแยะงานแต่ละคลาส (โมเดลของ ITD เทรนมาแล้ว เทรนเพิ่มไม่ได้อีก)
ที่มา - AnandTech