Skyller และ AIS ประสานเทคโนโลยี Sensor IoT และโดรนดับเพลิง เพื่อรับมือไฟป่าอย่างทันท่วงที

by sponsored
3 November 2021 - 03:30

ปัญหาไฟป่าเป็นปัญหาที่ลุกลามมาตลอดในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ภาคเหนือของไทย ที่มีสภาพอากาศแห้งแล้ง เป็นเหตุให้เกิดประกายไฟและการลุกลามของไฟป่าได้ง่าย ยังรวมถึงกิจกรรมของคนในพื้นที่ที่ก่อให้เกิดไฟลุกลามอยู่บ่อยครั้ง เช่น การจุดไฟเผาพื้นที่ให้โล่งเพื่อเดินทางเข้าไปเก็บของป่า การเผาไร่ก็เพื่อกำจัดวัชพืชหรือเศษซากพืชที่เหลืออยู่ภายหลังการเก็บเกี่ยว

ไฟป่าเมื่อเกิดขึ้นและลุกลามเป็นวงกว้างก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบนิเวศในพื้นที่ รวมถึงส่งผลให้เกิดหมอกควัน และมลพิษทางอากาศ PM 2.5 ที่รุนแรงเป็นประจำในช่วงปลายปี ส่งผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่ ส่งผลต่อสุขภาพที่ต้องใช้ชีวิตท่ามกลางมลพิษ และกระทบต่อการท่องเที่ยว

จากปัญหาเหล่านี้ Skyller หนึ่งในหน่วยธุรกิจภายใต้ บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด หรือ ARV บริษัทในเครือบริษัท ปตท. สผ. ผู้นำด้านการตรวจสอบอุตสาหกรรมและโครงสร้างพื้นฐานด้วยโดรนและระบบ AI ได้ร่วมกับผู้ให้บริการระบบสื่อสารโทรคมนาคมและเทคโนโลยีดิจิทัลอย่าง AIS ทดสอบการใช้งานระบบ Sensor IoT ร่วมกับโดรนดับเพลิง เพื่อตรวจจับสัญญาณไฟและดับไฟป่าในเบื้องต้น ช่วยให้เจ้าหน้าที่รับมือไฟป่าได้เร็วขึ้น ลดปัญหาความรุนแรงของไฟป่าและผลเสียต่างๆที่ตามมา

AIS ได้ลงมือศึกษาหาแนวทางเพื่อช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ให้รับมือไฟป่าได้อย่างรวดเร็วในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทีม AIS NEXT ซึ่งเป็นหน่วยงานขับเคลื่อนนวัตกรรมของเอไอเอส ได้พัฒนาระบบ Sensor IoT ที่สามารถตรวจจับสัญญาณควัน ความร้อน อุณหภูมิและความชื้น และส่งสัญญาณแจ้งเตือนถึงเจ้าหน้าที่ซึ่งใช้เวลาน้อยกว่า 30 นาที จากปกติต้องใช้เวลา 3 - 6 ชม. ทำให้หลายครั้งการจัดการเรื่องไฟป่าเป็นไปอย่างล่าช้า

ด้วยระบบการทำงานประสานกันของ Sensor IoT ที่ติดตั้งกระจายตามจุดเสี่ยงที่เกิดไฟป่าเป็นประจำ ร่วมกับโดรนดับเพลิงอัจฉริยะ ช่วยให้เจ้าหน้าที่รับมือไฟผ่าได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำกว่าเดิม การสื่อสารและทำงานที่รวดเร็วนี้ จะช่วยลดปัญหาที่เกิดจากการสื่อสารข้อมูลเชื่องช้า ที่อาจทำให้ไฟลุกลามขยายพื้นที่เป็นวงกว้างโดยที่ไม่อาจควบคุมได้ แต่เมื่อข้อมูลถูกส่งมาโดยเร็ว การรู้เร็ว วางแผนเร็ว เจ้าหน้าที่ก็จะสามารถจัดกำลังคนและจัดการดับไฟป่าได้อย่างทันท่วงที

หลังจาก Sensor IoT ส่งสัญญาณแจ้งเตือน เจ้าหน้าที่สามารถสั่งการโดรนดับเพลิงที่บินรวมกันเป็นฝูง (Swarm Drone) พร้อมลูกบอลสารเคมีดับเพลิง เพื่อเข้าไปปฏิบัติงาน First Response ป้องกันและควบคุมเพลิงในเบื้องต้นก่อนได้ โดยโดรนจะสามารถตรวจจับจุดความร้อน (Hot Spot) ได้แม่นยำ เพื่อปล่อยลูกบอลดับเพลิงลงจุดที่เกิดไฟไหม้ ลดความรุนแรงของไฟในเบื้องต้น เพื่อชะลอเวลาในการเข้าควบคุมสถานการณ์ได้อย่างทันท่วงที และสามารถทำแนวกันไฟเพื่อป้องกันไม่ให้ไฟลุกลาม

ระบบโดรนดับเพลิงสามารถตั้งค่าและดูผลการทำงานผ่านแพลตฟอร์ม Skyller เจ้าหน้าที่สามารถนำข้อมูลมาวางแผนและวิเคราะห์การทำงานต่อไปได้ เช่น เกิดปัญหาไฟป่าเพลิงไหม้ที่บริเวณใด จุดเกิดเหตุอยู่ตรงไหน มีอาณาเขตกว้างใหญ่เพียงใด เพื่อจะตีกรอบในการสร้างแนวกันไฟเพื่อใช้ดับเพลิง รวมถึงวางแผนการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ

Skyller และ AIS ได้ร่วมกันทำการทดสอบครั้งแรกของประเทศไทย เป็นการผสานการทำงานระหว่างระบบ Sensor IoT และ โดรนดับเพลิงพร้อมระบบ AI เข้ามาช่วยจัดการดับเพลิงเบื้องต้นเพื่อไม่ให้ไฟลุกลาม ซึ่งนวัตกรรมนี้จะช่วยอำนวยความสะดวกให้เจ้าหน้าที่ อาสาสมัคร หน่วยกู้ภัย เฝ้าระวังในการรับมือ และวางแผนจัดการปฏิบัติภารกิจเมื่อเกิดไฟป่าได้ และจะช่วยลดความรุนแรงของสถานกาณ์ไฟป่าของประเทศไทยหากมีการนำเทคโนโลยีนี้ไปขยายผลในวงกว้างตามจุดที่เกิดไฟป่าซ้ำเป็นประจำทุกปี

นอกจากฝูงโดรนปล่อยลูกบอลดับเพลิงแล้ว Skyller ยังพัฒนาโดรนดับเพลิงที่สามารถเอาสายของอุปกรณ์ดับเพลิงทั่วไปจากรถดับเพลิงมาต่อเชื่อม และสามารถบินฉีดน้ำหรือโฟมดับเพลิงบนอาคารสูงเพื่อดับไฟในบริเวณที่อาจเข้าถึงยาก หรือ มีอันตรายหากใช้เจ้าหน้าที่ควบคุมเพลิง นอกจากนี้ยังสามารถใช้ดับเพลิงในอาคาร หรือโกดังขนาดใหญ่ที่ต้องการความรวดเร็วในการเข้าถึง และอาจจะเข้าถึงได้ยาก โดยหวังใช้เทคโนโลยีในการรับมือและแก้ปัญหาภัยพิบัติได้อย่างครอบคลุม

ด้วยเทคโนโลยีเหล่านี้ที่ Skyller และ AIS ร่วมกันทดสอบ นับว่าเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จในความร่วมมือกันทางเทคโนโลยี เพื่อแก้ปัญหาในวงกว้าง และส่งเสริมให้เกิดความปลอดภัยในแต่ละพื้นที่ เช่น อุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ รวมถึงตึกสูง หรืออาคารขนาดใหญ่ เช่น โรงงาน โรงแรม อุตสาหกรรม หรือแม้แต่บ้านเรือนประชาชน ทุกกลุ่มธุรกิจในพื้นที่ใกล้เคียงก็ได้รับความปลอดภัยให้กับชีวิตและทรัพย์สินด้วย

หากท่านสนใจ สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม และติดต่อเราได้ที่ Skyller.co

Blognone Jobs Premium