ถอดความสำเร็จการเปลี่ยนผ่านองค์กรสู่ธนาคารดิจิทัลของ CIMB Thai กับรางวัลด้าน Digital Banking และ HR

by workplace
11 January 2022 - 03:50

CIMB Thai เริ่มมีการปรับเปลี่ยนเข้าสู่การเป็นธนาคารดิจิทัลเมื่อราวปี 2019 จากการสร้างทีม Digital Technology ขึ้นมาภายใน เปรียบเสมือนเป็นสตาร์ทอัพซอฟต์แวร์เฮ้าส์ภายในองค์กร แบบมีกระบวนการทำงานและวัฒนธรรมที่แยกตัวเป็นอิสระ

ล่าสุดทางธนาคารก็มีการปรับปรุงโครงสร้างอีกครั้ง นำเอาทีม Digital Technology ที่เดิมแยกตัวเป็นอิสระ ให้มารวมกับทีมเทคโนโลยีเดิมของธนาคารและอยู่ภายใต้ทีมใหม่ Technology & Data เพื่อให้ธนาคารสามารถขับเคลื่อนธุรกิจธนาคารดิจิทัล รวมถึงเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็วมากกว่าเดิม ปรับปรุงกระบวนการทำงาน ที่นำเอาวิธีการทำงานแบบใหม่ที่ใช้อยู่ในทีม Digital Technology เดิม มาประยุกต์และผสานเข้ากับการทำงานในทีมใหม่นี้ด้วย เพื่อให้ทีมงานด้านเทคโนโลยีสามารถส่งเสริมการทำงานด้านดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วันนี้ผ่านมา 2 ปี การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนับว่าเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง ซึ่งสะท้อนได้จากรางวัลที่ได้รับมากมาย โดยเฉพาะรางวัลด้าน Digital Banking และด้าน Human Resources

รางวัลสะท้อนความสำเร็จ

ปีนี้ CIMB Thai ได้รับรางวัลหลากหลายสาขาจากหลายสถาบัน อาทิ รางวัล Wealth Management Platform of the Year ซึ่งเป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน และ รางวัล Digital Banking Initiative of the Year จาก Asian Banking & Finance Retail

ส่วนด้าน Human Resources (HR) ก็ได้รางวัล ‘Best Companies to work for in Asia’ จาก HR Asia (เป็นปีที่ 2 ) และ Gold Winner in Excellence in Graduate Recruitment and Development จาก HR Excellence

คุณไพศาล ธรรมโพธิทอง ตำแหน่ง Head, Transaction Banking and Head, Technology & Data ซึ่งเป็นผู้บริหารที่ดูแลทีมใหม่ Technology & Data เล่าว่ากระบวนการด้านเทคโนโลยีในธนาคารแบบเดิม จะแบ่งเป็น 2 สายหลักๆ คือทีม Digital Technology ที่เป็นเหมือนสตาร์ทอัพ พัฒนาแอปและแพลตฟอร์มใหม่ๆ สำหรับลูกค้า และทีม Information Technology เดิมของธนาคาร ที่ดูแลระบบหลักของธนาคาร เช่น Core Bank

การรวม 2 ทีมเข้าด้วยกัน ได้นำเอากระบวนการทำงานในแบบใหม่อย่าง agile, scrum, automated testing และ CI/CD มาใช้ ทำให้เกิดการทำงานแบบทีมเวิร์คและคล่องตัวมากขึ้น ไม่มีการทำงานแบบคนละส่วนแล้วส่งไม้ต่อให้อีกทีมในแบบเดิมๆ

คุณไพศาล ธรรมโพธิทอง (พี่หน่อง): Head, Transaction Banking and Head, Technology & Data

คุณสมภพ ตั้งบุญธินา ตำแหน่ง Head, Digital Technology บอกว่าปัจจุบัน tech stack หลังบ้านของ CIMB Thai ล้วนเป็นเทคโนโนโลยีใหม่บนมัลติคลาวด์ ซึ่งเมื่อเสริมกับสิ่งที่คุณไพศาลเล่าถึงกระบวนการทำงาน ทั้งหมดเป็นวิธีการทำงานภายใน CIMB Thai ที่ตอบโจทย์ทั้งในแง่ธุรกิจและความยืดหยุ่นในการทำงานของนักพัฒนารุ่นใหม่ๆ ด้วย

ขณะเดียวกันก็มีการทำงานร่วมกันในเชิงกลยุทธ์ระหว่างหลายทีม เช่น ทีม Customer Experience ทีม Technology & Data และทีมงานฝั่งธุรกิจ (business) มากยิ่งขึ้น ทำให้นักพัฒนามีความเข้าใจในแง่มุมธุรกิจเกี่ยวกับตัวผลิตภัณฑ์หรือบริการมากยิ่งขึ้น ไม่ได้แค่รู้ว่าตัวเองต้องทำอะไร แต่เข้าใจว่าทำไปทำไม ผลิตภัณฑ์หรือบริการนั้นมีส่วนร่วมกับธุรกิจ มีผลกับการเติบโตของธุรกิจอย่างไร เกี่ยวข้องกับการเพิ่มประสบการณ์ลูกค้าอย่างไร ทำให้ทีมงานสามารถเพิ่มคุณค่าของตัวเองเข้าไปในตัวผลิตภัณฑ์หรือบริการมากยิ่งขึ้น

คุณสมภพ ตั้งบุญธินา (พี่เอ): Head, Digital Technology

กระบวนการทำงานในแต่ละ Squad จะได้สัมผัสตั้งแต่ต้นน้ำ คือเหตุผลทางธุรกิจ สิ่งที่ลูกค้าต้องการ สิ่งที่ตอบโจทย์ลูกค้า เรื่อยมาจนถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการ ทั้งหน้าบ้านหลังบ้าน การเชื่อมต่อกับระบบ Core Bank เชื่อมต่อกับพาร์ทเนอร์ ความปลอดภัยและกฎระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ไปจนถึงปลายน้ำ คือ ความพึงพอใจของลูกค้าหลังใช้งาน

คุณคีทจิน ตัน (Keat Jin Tan) ตำแหน่ง Head, Consumer Banking บอกว่า สิ่งที่ยืนยันความสำเร็จของการดำเนินงาน ที่ผ่านมา คือการที่ธนาคารได้รับการยอมรับและคำชื่นชมจากลูกค้า พนักงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องซึ่งออกมาในรูปแบบของรางวัลต่าง ๆ ที่ได้รับจากองค์กรระดับภูมิภาค ซึ่งแสดงว่าเรากำลังเดินมาถูกทาง ตามวิสัยทัศน์ที่จะเป็นธนาคารชั้นนำของไทยที่ใช้กระบวนการดิจิทัลเป็นตัวนำในการบริการลูกค้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ด้วยศักยภาพความเป็นผู้นำในอาเซียน ของ CIMB Group

Keat Jin Tan (เคเจ): Head, Consumer Banking

งานที่ได้เรียนรู้และท้าทายไปพร้อมกัน

อย่างที่กล่าวไปแล้วว่าการทำงานในฐานะนักพัฒนาของ CIMB Thai จะได้เรียนรู้เนื้องานตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ และด้วยการทำงานแบบเป็น Squad ทำให้คนรุ่นใหม่ยังสามารถเรียนรู้และดูดซึมทักษะ แนวคิด ประสบการณ์ต่างๆ จากพี่ๆ ที่อยู่มาก่อนหน้าด้วย นอกจากนี้ยังมีโอกาสได้ทำโปรเจ็คที่หลากหลาย มีโจทย์และเงื่อนไขแตกต่างกันไป ไม่ว่าจะด้านการบริหารจัดการความมั่งคั่ง (wealth management) ที่ให้ลูกค้าได้ซื้อหุ้นกู้หรือกองทุนรวมผ่านแอป หรือระบบกู้ผ่านแอป (digital lending) เป็นต้น

คุณสิร์ภัสนัน กิตติธนัฐกุล (แป๋ม) ตำแหน่ง Quality Assurance เล่าว่า การทำงานในฐานะทีมพัฒนาของธนาคาร ได้เรียนรู้งานและมีโจทย์ที่ท้าทายมากกว่าการทำงานที่เก่าที่เคยทำด้าน E-Commerce ค่อนข้างมาก ยกตัวอย่างการเชื่อมต่อแพลตฟอร์ม E-Commerce แค่เชื่อมต่อบริการต่างๆ เข้ากับแพลตฟอร์มเดียว แต่พอเป็นธนาคาร ที่มีหลายบริการ หลายแพลตฟอร์ม ระบบเชื่อมต่อต่างๆ ก็มีมากขึ้น แถมต้องใส่ใจด้านความปลอดภัยและกฎระเบียบต่างๆ ของธนาคารแห่งประเทศไทยมากกว่าด้วย แต่ต้องไม่กระทบ UX ของลูกค้า

คุณสิร์ภัสนันบอกด้วยว่า สิ่งที่ชอบในการทำงานที่นี่ มีทั้งโจทย์ที่ท้าทายกว่า อย่างการทำให้ลูกค้าที่ใช้ Mobile Banking ต้องเห็นข้อมูลการโอนเงินแบบเรียลไทม์ ถูกต้อง ปลอดภัย รวมถึงยังสนุกกว่าด้วย จากการได้ทำทั้งผลิตภัณฑ์ภายในธนาคารเองและกับพาร์ทเนอร์อย่าง Fintech ต่างๆ และเมื่อผลิตภัณฑ์ออกไปถึงมือลูกค้าที่หลากหลายและผลตอบรับออกมาดี ก็รู้สึกภูมิใจมากกว่าด้วย รวมถึงในแง่สวัสดิการที่รู้สึกว่าธนาคารดูแลค่อนข้างดี เช่น ช่วงโควิด ก็มีมาตรการต่าง ๆ เพื่อดูแแลพนักงานให้ปลอดภัยจากโควิด หรือหากจำเป็นต้องใช้เงินก็สามารถใช้สิทธิพนักงานกู้ซื้อบ้าน รถ ด้วย อัตราดอกเบี้ยพิเศษได้ รวมถึงมี MacBook และอุปกรณ์ที่จำเป็นให้ใช้งานได้ทั้งที่บ้าน (Work from home) และที่ออฟฟิศ

คุณสิร์ภัสนัน กิตติธนัฐกุล (แป๋ม): Quality Assurance

สรุป

ถือเป็นการก้าวเดินไปสู่ความเปลี่ยนแปลงของ CIMB Thai ที่ค่อนข้างถูกทาง ทั้งในแง่ธุรกิจและกระบวนการทำงานภายใน โดยเฉพาะการใช้เครื่องมือและวิธีการใหม่ๆ ร่วมกับการปรับโครงสร้างผสานให้คนรุ่นเก่า ยังคงสามารถทำงานร่วมกับคนรุ่นใหม่ได้อย่างกลมกลืน ซึ่งตอบโจทย์นักพัฒนารุ่นใหม่ๆ ที่ได้ใช้เครื่องมือพัฒนาที่ทันสมัย ขณะเดียวกันก็ได้เรียนรู้เนื้องานจากคนที่มีประสบการณ์ตรงมากกว่าด้วย

สำหรับผู้ที่สนใจสมัครงาน ดูข้อมูลและตำแหน่งได้ที่ Blognone Jobs

Blognone Jobs Premium