หนึ่งในโรคที่ทาสแมวรู้จักกันดีคือโรคไข้ขี้แมว หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือโรค Toxoplasmosis เกิดจากการติดเชื้อโปรโตซัวที่มีชื่อว่า Toxoplasma gondii (T.gondii) ซึ่งนักวิจัยทำการทดลองและตั้งข้อสังเกตว่าเชื้อดังกล่าวอาจมีผลทำให้ร่างกายของผู้ติดเชื้อมีเสน่ห์ทางเพศเพิ่มมากขึ้น
โรค Toxoplasmosis นั้นพบได้มากในแมวก็จริง แต่ความจริงแล้วสัตว์ฟันแทะและมนุษย์ก็สามารถเป็นโรคนี้เมื่อติดเชื้อ T.gondii ได้เช่นกัน สำหรับคนที่ติดเชื้อนี้บางคนอาจไม่แสดงอาการเจ็บป่วยใดๆ แต่บางรายอาจมีอาการต่อมน้ำเหลืองอักเสบ, ตัวร้อน, ปวดกล้ามเนื้อ, มีผื่น และที่สำคัญคือผู้ติดเชื้อบางรายมีพฤติกรรมและลักษณะนิสัยที่เปลี่ยนแปลงไป โดยผู้ติดเชื้อจะมีนิสัยที่ดื้อรั้น, ขี้อิจฉา, ขาดความมั่นใจ, ระมัดระวังเกินเหตุ, ติดสินใจช้า และมีความเจ้าระเบียบ
ก่อนหน้านี้มีงานวิจัยพบว่าเชื้อ T.gondii มีผลต่อพฤติกรรมต่อหนูเจ้าของร่างที่มันอาศัยอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการทำให้สัตว์เจ้าของร่างที่มันอาศัยอยู่รู้สึกถูกดึงดูดด้วยกลิ่นปัสสาวะของแมว ส่งผลให้หนูมีพฤติกรรมที่เสี่ยงจะโดนล่าเพิ่มสูงขึ้น โดยนักวิจัยสรุปว่าการที่เชื้อ T.gondii ทำให้หนูที่มันอาศัยอยู่มีแนวโน้มจะโดนล่าโดยแมวก็เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสที่มันจะได้ย้ายไปอาศัยอยู่ในร่างของแมวมากขึ้นนั่นเอง
นอกจากนี้ยังมีการศึกษาพบว่า T.gondii ยังส่งผลให้หนูตัวผู้ที่ติดเชื้อนี้มีเสน่ห์ดึงดูดหนูตัวเมียที่ปลอดเชื้อมากกว่าปกติ ซึ่งผลการศึกษาสรุปว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเพราะเชื้อ T.gondii สร้างคุณลักษณะดังกล่าวเพื่อเพิ่มโอกาสในการขยายพันธุ์แพร่เชื้อไปสุ่หนูตัวอื่นๆ ผ่านการผสมพันธุ์ของหนู และด้วยเหตุนี้จึงทำให้ Javier Borráz-León นักวิจัยจาก University of Turku เกิดความสงสัยว่าเชื้อ T.gondii นี้อาจส่งผลให้เกิดคุณลักษณะแบบเดียวกันร่างกายคนที่ติดเชื้อด้วย
Borráz-León ได้ทำการวิจัยเพื่อหาคำตอบเกี่ยวกับเรื่อง โดยเริ่มจากการสัมภาษณ์เก็บข้อมูลจากผู้ติดเชื้อไข้ขี้แมวเปรียบเทียบกับผู้ไม่ติดเชื้อ โดยมุ่งเน้นเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับภาวะความดึงดูดทางเพศ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลโครงหน้า, ดัชนีมวลกาย รวมถึงจำนวนคู่นอน ซึ่งข้อมูลที่เขาสรุปมามีแนวโน้มดังนี้
จากนั้น Borráz-León ได้ทำการทดลองขั้นต่อไปด้วยการสอบถามความเห็นของอาสาสมัครประมาณ 200 คน เพื่อให้ระบุความรู้สึกต่อภาพโครงหน้าของกลุ่มผู้ติดเชื้อไข้ขี้แมวเปรียบเทียบกับภาพของผู้ไม่ติดเชื้อ
Borráz-León ได้เตรียมแบบทดสอบขึ้นโดยใช้ภาพใบหน้าของคน 4 กลุ่ม ประกอบไปด้วย
โดยแต่ละกลุ่ม Borráz-León ใช้ภาพใบหน้า 10 ภาพมาซ้อนทับกันเพื่อสร้างภาพโครงหน้าแบบเฉลี่ยของคนในกลุ่มนั้นๆ และอีกเหตุผลหนึ่งเพื่ออำพรางตัวตนของเจ้าของภาพใบหน้า จากนั้นก็ใช้ภาพที่เตรียมไว้เหล่านี้ไปสอบถามอาสาสมัครให้ทำการเปรียบเทียบและเลือกภาพโครงหน้าที่พวกเขารู้สึกว่ามีความสวย/หล่อมากกว่า และให้เลือกภาพโครงหน้าคนที่พวกเขารู้สึกว่ามีสุขภาพแข็งแรงกว่า
ผลการเลือกของอาสาสมัครพบว่า ส่วนใหญ่รู้สึกว่าภาพของคนที่ติดเชื้อดูมีเสน่ห์ทางเพศมากกว่าและดูมีสุขภาพดีกว่าภาพของคนที่ไม่ติดเชื้อ อย่างไรก็ตามผลการทดสอบนี้ยังไม่อาจสรุปได้อย่างสมบูรณ์ว่าเชื้อ T.gondii มีผลทำให้ผู้ติดเชื้อมีเสน่ห์ทางเพศเพิ่มขึ้นและมีโครงหน้าที่ดูดีขึ้นจริง เนื่องจากยังมีองค์ประกอบอย่างอื่นที่พึงพิจารณาประกอบด้วยตามระเบียบวิจัย
ข้อสมมติฐานของ Borráz-León ที่ตั้งข้อสังเกตว่าเชื้อไข้ขี้แมวหรือเชื้อ T.gondii นี้ส่งผลให้คนที่ติดเชื้อมีเสน่ห์ทางเพศเพิ่มมากขึ้น อาจมองได้ว่ามีความสอดคล้องกับงานวิจัยอีก 2 ชิ้น ทั้งจากงานวิจัยโดย University in Prague และงานวิจัยโดย Charles University ที่สันนิษฐานว่าการติดเชื้อจากคนสู่คนอาจเกิดขึ้นได้ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งหากข้อสมมติฐานของงานวิจัยทั้งหมดนี้เป็นจริงสอดคล้องกันก็อาจสรุปได้ว่าเชื้อปรสิต T.gondii นี้ช่วยเพิ่มเสน่ห์ทางเพศให้กับเจ้าของร่างเพื่อเพิ่มโอกาสในการมีเพศสัมพันธุ์และทำให้มันขยายพันธุ์แพร่เชื้อไปสู่ร่างกายมนุษย์คนอื่นนั่นเอง
สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานวิจัยของ Borráz-León ที่นี่
ที่มา - New Atlas