ทำไมการเปลี่ยนงานบ่อย (Job Hopping) คือ New Normal

by Augustine
19 October 2022 - 03:30

การเปลี่ยนงานบ่อยหรือ Job Hopping แต่ก่อนถูกมองว่าเป็นในแง่ลบว่าผู้ที่เปลี่ยนงานบ่อยเป็นคนที่ไม่อดทนและไม่จริงจังกับการทำงาน แต่หลังจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 เทรนด์การทำงานก็เปลี่ยนไป การเปลี่ยนงานบ่อย อาจจะกลับกลายเป็น New Normal โดยเฉพาะในกลุ่ม Millenials และ Gen Z และทำไมจึงเป็นเช่นนั้น?

ข้อดีของการเปลี่ยนงานบ่อยสำหรับผู้เปลี่ยนงานหรือ Jop Hopper

  • พนักงานได้เรียนรู้ทักษะที่กว้างขึ้น ไม่ต้องเจาะจงแค่การเรียนรู้ในเชิงลึกที่อาศัยการใช้เวลาทำงานในตำแหน่งเดิมนาน ๆ
  • การย้ายงานทำให้ได้อยู่ในสังคมและสิ่งแวดล้อมที่หลากหลาย ทำให้มีโอกาสได้เจอสังคมที่เหมาะกับผู้ทำงานมากที่สุด โดยเฉพาะกับกลุ่ม Millennials และ Gen Z ที่ให้ความสำคัญกับการหาสังคมการทำงานที่ดี
  • การเปลี่ยนงานแต่ละครั้งทำให้มีโอกาสได้รับเงินเพิ่มขึ้นตั้งแต่ 10% ขึ้นไป ขณะที่การอยู่ในตำแหน่งเดิมและบริษัทเดิมมีโอกาสได้เงินเพิ่มสูงสุด 2-4% ตามค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปีเท่านั้น
  • ได้พบเจอผู้คนหลากหลายเพื่อสร้างคอนเนคชั่นกับบริษัทต่าง ๆ และพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจ

ข้อดีสำหรับฝั่งบริษัทที่รับสมัครงาน

  • ผู้สมัครงานที่เปลี่ยนงานหลายครั้งได้ผ่านการทำงานในบริษัทที่หลากหลายซึ่งรวมถึงบริษัทคู่แข่งด้วย
  • การเปลี่ยนงานบ่อยแสดงถึงความไม่กลัวต่อความท้าทายและความเสี่ยงซึ่งนับว่าเป็นคุณสมบัติที่ดีสำหรับโลกที่เปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา
  • ตำแหน่งบางตำแหน่งไม่ได้ขึ้นอยู่กับความยาวนานของการทำงาน เช่น การทำโปรเจคหนึ่งให้สำเร็จในระยะเวลาหนึ่งก็เพียงพอ
  • การต้องสรรหาพนักงานอยู่เรื่อย ๆ ทำให้ได้พนักงานใหม่ที่มาพร้อมกับทัศนคติและไอเดียใหม่ ๆ ซึ่งช่วยสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีให้กับผู้ร่วมงานในองค์กรด้วย

ทั้งนี้ การเปลี่ยนงานบ่อยก็มีข้อควรระวังเช่นกัน เช่น เวลาที่พนักงานจะออกจากงานก็อาจทำให้เพื่อนร่วมงานมีภาระงานมากขึ้นระหว่างที่บริษัทกำลังจัดหาคนใหม่มาทำงานแทน ส่วนทางฝั่งบริษัทเองการต้องรับคนปล่อย ๆ ก็อาจต้องใช้งบประมาณและเวลามาก และการที่พนักงานไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อสร้างความสำเร็จให้องค์กรให้ระยะยาวก็อาจจะเป็นอีกปัญหาหนึ่ง

วิธีป้องกันไม่ให้การเปลี่ยนงานบ่อยส่งผลเสียต่ออาชีพ

  • ผู้ที่ต้องการเปลี่ยนงานควรตั้งเป้าหมายและศึกษา career path ของตนเองให้ดีก่อนเพื่อที่จะสื่อสารกับฝ่ายบุคคลได้อย่างชัดเจนว่าทั้งพนักงานและบริษัทเองมีเป้าหายตรงกันหรือไม่
  • ควรเตรียมความพร้อมเพื่อนำเสนอผลงานที่ผ่านมาให้กับผู้สัมภาษณ์งานและควรบอกเหตุผลที่เปลี่ยนงานบ่อยอย่างชัดเจนเพื่อป้องกันการเข้าใจผิด
  • ผู้ที่ต้องการเปลี่ยนงานควรบอกหัวหน้างานให้ชัดเจนถึงทิศทางของ career path ที่ต้องการเพื่อเป็นการยืนยันด้วยว่าการมาสมัครงานจะนำพาไปสู่เป้าหมายที่วางไว้

สำหรับผู้ที่ต้องการเปลี่ยนงานเพื่อเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ และค้นหาสิ่งแวดล้อมการทำงานที่ดีขึ้น สามารถหางานได้ที่ Blognone Jobs

ที่มา: LinkedIn

Blognone Jobs Premium