หลังจากไมโครซอฟท์จัดงานเปิดตัวฟีเจอร์แชตบอทใน Bing ทางไมโครซอฟท์ประเทศไทยก็จัดงานพบปะกับองค์กรในประเทศเพื่อสาธิตถึงการใช้ Azure OpenAI ที่เพิ่งเปิดตัวเป็นทางการเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ผมได้คุยกับคุณเชาวลิต รัตนกรไกรศรี เชาวลิต รัตนกรไกรศรี CTO ของไมโครซอฟท์ประเทศไทย ถึงการใช้งานปัญญาประดิษฐ์กับธุรกิจในไทยในอนาคต
Azure OpenAI มองว่าเป็น OpenAI for Enterprise ที่เตรียมไว้สำหรับลูกค้าองค์กร เราให้ความสำคัญกับแนวทาง Responsible AI เราต้องการให้ปัญญาประดิษฐ์ถูกใช้งานอย่างปลอดภัย ปัญญาประดิษฐ์ที่ถูกฝึกและใช้งานต้องตอบคำถามอย่างปลอดภัยเป็นส่วนตัว, มีการใช้งานอย่างมีความรับผิดชอบ ไม่แบ่งแยกคน
อย่างที่สองคือ องค์กรต้องการ compliance กับมาตรฐานต่างๆ เช่น ISO, SOC II และสุดท้าย คือ การใช้ Azure OpenAI จะเปิดให้องค์กรสามารถใช้งาน concurrent ได้มากกว่า การฝึกโมเดลต่างๆ จะสามารถฝึกได้ในเวลาสั้นกว่า
GPT-3 น่าจะเป็นปัญญาประดิษฐ์ประมวลภาษาที่ดีกว่าตัวอื่นๆ ที่เคยมีในท้องตลาดอย่างชัดเจน แต่ในการใช้งานก็ต้องเลือก use case ที่ใช้งานให้เหมาะสม และมีการตรวจสอบในการใช้งาน
ในตอนนี้ผมไม่เชื่อว่ามันจะเข้ามาแทนมนุษย์อย่างสิ้นเชิง แต่งานหลายอย่างสามาารถทำได้อย่างดี เช่น การอ่านคำติชมจากสังคมออนไลน์ต่างๆ ก็สามารถใช้ปัญญาประดิษฐ์เข้ามาทำงานได้
แต่งานบางประเภทเช่นงานเสนอขายผลิตภัณฑ์ทางการเงิน ตอนนี้อาจจะยังมีข้อกำหนดอยู่ว่าต้องมีเจ้าหน้าที่ที่ได้รับใบอนุญาตเท่านั้น การใช้งานส่วนหนึ่งที่เป็นไปได้คือการใช้งานแทนระบบ IVR ที่ผู้ใช้สามารถติดต่อเข้ามาสอบถามข้อมูลกับแชตบอทได้
ตอนนี้เราอยู่ในช่วงพูดคุยกับลูกค้าถึงความเป็นไปได้ แต่หลังจากนี้ก็จะมีการทำ workshop เพื่อหาความเป็นไปได้ และความคุ้มค่า
อย่างระบบ IVR ที่อาจจะมีราคาถูกกว่ามาก แต่ในความเป็นจริงลูกค้ามักจะได้รับประสบการณ์ที่ไม่ดีนัก ลูกค้าอาจจะวนอยู่ใน IVR และหาคำตอบไม่ได้ จนเสียลูกค้าไป หากเราใช้ OpenAI ร่วมกับ IVR แบบเดิมๆ แล้วลูกค้าได้ประสบการณ์ที่ดีขึ้นก็อาจจะคุ้มค่ากว่าที่ลูกค้าจะไปบ่นวิจารณ์ลงโซเชียลหรือย้ายไปใช้ผู้ให้บริการายอื่นไปเลย เรื่องนี้ก็ต้องหา use case ที่เหมาะสมกันต่อไป
ทุกองค์กรเวลามีวิสัยทัศน์ไปข้างหน้า ทุกคนก็ต้องตัดสินใจว่าจะสร้างเทคโนโลยีเองหรือจะซื้อเทคโนโลยี ในครั้งนี้ OpenAI สร้างเทคโนโลยีที่มีศักยภาพเราก็เลือกจะนำเข้ามา empower ลูกค้าของเรา เช่นเดียวกับระบบอื่นๆ ที่อาจจะมีการ integrate จากผู้ผลิตต่างๆ
อีกอย่างคือการทำงานกับ OpenAI นั้นเป็นรูปแบบของการทำงานร่วมกันมากกว่าผู้ลงทุนเฉยๆ แม้ว่า OpenAI จะพัฒนาซอฟต์แวร์ได้อย่างดีแต่ไมโครซอฟท์ก็เป็นผู้พัฒนาแพลตฟอร์มให้ OpenAI อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันไมโครซอฟทืก็ยังคงทำงานวิจัยด้านปัญญาประดิษฐ์อย่างต่อเนื่อง ล่าสุดเองก็มี BioGPT ที่นำ GPT-2.5 มาฝึกกับข้อมูลงานวิจัยด้านชีววิทยาโดยเฉพาะ
หรืออีกกรณีหนึ่งคืออินเดียมีภาษาราชการถึง 12 ภาษา ทีมวิจัยของไมโครซอฟท์ก็ไปฝึกปัญญาประดิษฐ์เพื่อให้รองรับภาษาท้องถิ่นได้
ก่อนใช้งาน GPT ต้องมีการ fine-tune และความเก่งของ OpenAI คือกระบวนการนี้ทำได้ง่ายใกล้เคียงกับการสอนคนว่าคำถามแบบใดอย่าตอบ
แต่ทั้งนี้ต้องยอมรับว่าอาจจะป้องกันไม่ได้ทั้งหมดจริงๆ ก็เป็นงานอีกส่วนว่าองค์กรที่จะนำไปใช้ต้องมีการมอนิเตอร์ต่อเนื่อง ดูผลตอบรับเมื่อผู้ใช้ได้รับคำตอบแล้วมีความผิดพลาดต้องนำกลับมาแก้ไขเพิ่มเติมหรือไม่ ซึ่งงานส่วนนี้ต่อให้ใช้คนตอบคำถามก็ต้องมีกระบวนการแบบเดียวกัน
กระแส ChatGPT ทำให้ลูกค้าในไทยแสดงความสนใจอย่างมาก เราก็ต้องบอกว่า ChatGPT เป็น use case หนึ่ง และยังมี use case อื่นๆ ที่ใช้งานในธุรกิจได้ด้วย
ที่จริงตลาด search engine เป็นตลาดที่ใหญ่มาก ที่ผ่านมาก็แทบจะถูกผูกขาด จุดเริ่มต้นของไมโครซอฟท์คือเรามองว่าการ search ต้องเปลี่ยนแนวคิดเพราะบริการค้นหาแบบเดิมๆ ไม่มี productivity และในอนาคตจะมีการทำธุรกิจก็อาจจะมีการโฆษณาที่ตรงจุดมากขึ้น การใช้ปัญญาประดิษฐ์ทำความเข้าใจคำถามก็อาจจะทำให้แสดงสินค้าตามบริบทที่ผู้ใช้สนทนากับ Bing อยู่