เว็บไซต์ Impress PC Watch ของญี่ปุ่นได้เปิดเผย roadmap ของอินเทลในช่วงต้นปี 2010 การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือ Core i5 และ Core i7 รุ่นใหม่ที่กินไฟน้อยลง และ Core i3 ซีพียูรุ่นล่างตัวสุดท้ายในการรีแบรนด์รอบนี้ก็ได้เวลาเผยโฉม
เพื่อความเข้าใจง่ายของผู้อ่าน Blognone ผมอธิบายด้วยชื่อแกนที่เป็นโค้ดเนม น่าจะดีกว่าชื่อแบรนด์ทางการค้านะครับ
ของขวัญวันปีใหม่ของอินเทลคือแกน Clarkdale ซึ่งเป็นซีพียูสถาปัตยกรรม Nehalem ตัวแรกที่ผลิตแบบ 32 นาโนเมตรครับ (ก่อนหน้านี้จะเป็น 45 นาโนเมตรหมด) ซีพียูทุกตัวที่ใช้แกนนี้จะมี 2 คอร์ซึ่งแปลว่าจับตลาดล่างนั่นเอง ข้อดีสำหรับแฟนๆ virtualization คือต่อไปนี้ซีพียู Clarkdale มี Intel VT ในตัวทั้งหมด
แกน Clarkdale จะมีจุดเด่นอีกอย่างคือมันจะรวมเอานอร์ธบริดจ์ และ GPU แบบออนบอร์ดเข้ามาในตัวแพกเกจของซีพียูเลย (ดังนั้นซีพียูที่ใช้ Clarkdale จะมี 2 die คือตัวซีพียูจริงๆ และ GPU+memory controller)
ข้อดีของการรวมนอร์ธบริดจ์เข้ามาคือมันจะกินที่น้อยลง ส่วนข้อเสียก็แน่นอนว่าโดนยัดเยียดให้ใช้ GPU แบบออนบอร์ดของอินเทล ซึ่งเป็นการบีบให้คนที่อยากได้การ์ดจอแยกต้องไปซื้อรุ่นที่สูงกว่านี้ (ผมเข้าใจว่าการ์ดจอจะยังใช้แบรนด์ GMA HD ต่อไป แต่ไม่มีข้อมูลชื่อรุ่น)
แกน Clarkdale จะครอบคลุมซีพียู 3 รุ่นดังนี้
เผื่อใครจะงง ดูแผนภาพประกอบ เทียบฟีเจอร์-ราคา
สำหรับแกน Lynnfield ซึ่งถูกใช้ใน Core i7 และ Core i5 ที่ออกมาตั้งแต่ช่วงกลางปีนี้ ก็จะได้รับการอัพเดตให้กินไฟน้อยลง จากเดิมที่กินไฟประมาณ 95 วัตต์จะลงมาเหลือ 82 วัตต์ครับ การผลิตยังใช้ที่ 45 นาโนเมตร ฟีเจอร์อย่างอื่นที่ต่างจากแกน Clarkdale คือไม่รวมการ์ดจอเข้ามาในตัว และเริ่มต้นที่ 4 คอร์ขึ้นไป
ซีพียูที่ใช้แกน Lynnfield ใหม่จะมีตัวอักษร s ห้อยท้ายหลังชื่อรุ่น ซึ่งได้แก่
ความสับสนจะยิ่งตามมาเมื่อ Core i7/i5 ที่ใช้แกน Lynnfield รุ่นแรกก็จะยังมีขายครับ จำไว้ว่าแยกมันจากกันด้วย s
สำหรับซีพียูตัวท็อปของอินเทล จะยังใช้แกน Bloomfield และแบรนด์ Core i7 975 ซึ่งออกมาตั้งแต่ Nehalem เปิดตัวครั้งแรกสุด ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็น Core i9 แกน Gulftown ตามข่าวที่ออกมาก่อนหน้านี้ (ผลทดสอบ แรก Core i9 ถูกเผยแพร่แล้ว?) กำหนดการคือไตรมาสที่สองของปี 2010
มาดูที่ฝั่งโน้ตบุ๊กกันบ้าง ฝาแฝดของ Clarkdale แต่เป็นร่างอวตารสำหรับโน้ตบุ๊กมีชื่อว่า Arrandale ใช้การผลิตที่ 32 นาโนเมตรเหมือนกัน รวมการ์ดจอและนอร์ธบริดจ์เข้ามาในตัว และมีแค่ 2 คอร์เท่านั้น
แกน Arrandale จะถูกใช้ในซีพียูสำหรับโน้ตบุ๊ก 3 แบรนด์ ได้แก่
สำหรับรุ่น Core i7 และ i5 จะเพิ่มความสับสนอีกเช่นกัน เพราะมันจะมีรุ่นย่อยสำหรับโน้ตบุ๊กกินไฟต่ำ ได้แก่
ส่วนคนที่ต้องการซีพียูโน้ตบุ๊กรุ่นสูงกว่านี้ (4 คอร์) จะต้องใช้ Core i7 รหัส 7xxQM ขึ้นไป ซึ่งใช้แกน Clarksfield ขนาด 45 นาโนเมตร ที่ออกมาตั้งแต่เดือนกันยายน 2009
แผนภาพซีพียูสำหรับโน้ตบุ๊กของอินเทล
ของแถมสุดท้าย ผมอยากให้ดูแผนภาพการจำหน่ายซีพียูของอินเทล โดยแบ่งตามจำนวนคอร์ครับ จะเห็นว่า Atom มาแรงทีเดียว
รายละเอียดกว่าในข่าวนี้มากๆ ไปตามอ่านกันได้ใน PC Watch ตามลิงก์ที่มา