ในช่วงปีที่ผ่านมา AI ถือเป็นเทคโนโลยีที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงองค์กรอย่างรวดเร็ว และที่สำคัญคือมีการปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจหลากหลายอุตสาหกรรม คุณกระทิง เรืองโรจน์ พูนผล Group Chairman, KASIKORN Business-Technology Group (KBTG) ให้ข้อมูลว่า ในเคสของ KBTG เอง การปรับใช้ AI ทะยานจาก 30% สู่ 75% ภายในเวลาแค่ 9 เดือน กระทบทั้งกระบวนการทำงานภายในและการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ สู่ตลาด
ภายในงาน KBTG The Year of Agentic AI 2025 คุณกระทิงนำทีม KBTG สรุปความเคลื่อนไหวในการนำ AI เข้ามาใช้ในกระบวนการทำงานและการประกอบธุรกิจ พร้อมประกาศวิสัยทัศน์ในปี 2025 ที่จะถึงนี้
คุณกระทิงเล่าว่าภาพรวมด้าน AI ในปี 2025 ที่กำลังจะถึงมีอยู่ 3 เรื่อง คือ AI for Decision Intelligence นำ AI มาช่วยตัดสินใจในงานสำคัญ, AI Agents ระบบอัตโนมัติที่สามารถทำงานเฉพาะด้าน และ AI Guardrails ระบบ AI ที่มีความปลอดภัยและสอดคล้องกับหลักจริยธรรม เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการใช้งาน สรุปในภาพรวมคือจะเห็น AI เข้ามาทำงานร่วมกับคนมากขึ้น และคำนึงถึงมิติความเป็นมนุษย์มากขึ้น แต่จะไปถึงจุดนี้ได้ KBTG มีหลายอย่างที่ต้องทำ
เพื่อจะทำให้เข้าใจภาพ AI Transformation ของ KBTG คุณกระทิงเล่าย้อนกลับไปว่า ในช่วงที่ KBTG ก่อตั้งขึ้นในปี 2016 เพื่อพัฒนาด้านเทคโนโลยีให้กับบริษัทหลักอย่างธนาคารกสิกรไทย ก็เริ่มต้นวางพื้นฐานทั้งหมดเอาไว้ตั้งแต่ต้น
ต่อมาในปี 2019-2023 ที่องค์กรต้องเผชิญกับ COVID-19 และเทคโนโลยีเปลี่ยนไปรวดเร็ว ก็ได้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล ขยายตัวในระดับภูมิภาค และการปรับปรุงกระบวนการทำงานผ่าน Modernization, Architecture และ Development (MAD) Transformation
ด้วยความที่ KBTG เผชิญความท้าทายและความเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ช่วงที่เทคโนโลยี AI บูมใหม่ ๆ KBTG ก็สนใจเอามาปรับใช้ในธุรกิจเหมือนกัน แต่คุณกระทิงมองว่ามุ่งไปผิดทาง คือเน้นไปที่แนวคิด AI First ทำอะไรก็ต้อง AI มีเครื่องมือตัวไหนก็โยนเข้าไปให้ทีมได้ลอง ก่อนที่สุดท้ายพบว่า Productivity ค่อนข้างแกว่ง เพราะปักธงไปที่ AI อย่างเดียวไม่ได้สนใจคนที่เป็นเบื้องหลังของ AI
ต่อมา บริษัทจึงได้หันทิศการดำเนินงานไปสู่ยุทธศาสตร์ Human-First x AI-First Transformation เน้นพัฒนาคนซึ่งเป็นผู้ใช้ AI ที่ดี (ไม่ใช่แค่ใช้ได้เก่ง) รวมถึงนำ AI มาปรับใช้ในธุรกิจเพื่อประโยชน์ของคนทั้งที่เป็นคนทำงานและลูกค้าของธนาคาร นำมาสู่ผลเชิงบวกทางธุรกิจมูลค่าหลักหมื่นล้านบาท
สำหรับการทำ Human-First x AI-First Transformation ทาง KBTG ได้กำหนดแนวทางไว้สามประการคือ
- การพัฒนาบุคลากร: เสริมสร้างความรู้ AI ในทุกระดับ ตั้งแต่พนักงานทั่วไปจนถึงผู้เชี่ยวชาญ โดยมีเป้าหมายคือการสร้าง Workforce ที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง
- การลงทุนในเทคโนโลยี AI: เน้นการพัฒนา AI Agent ที่สามารถปรับใช้ในกระบวนการต่าง ๆ ขององค์กร เช่น ทรัพยากรบุคคล และการวิเคราะห์ข้อมูลอัตโนมัติ
- การสร้างวัฒนธรรมองค์กรใหม่: สนับสนุนการทำงานร่วมกันระหว่าง AI และมนุษย์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
เป้าหมายสำคัญในปี 2025 คือการเปลี่ยน KBTG ให้กลายเป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วย AI อย่างแท้จริง พร้อมทั้งมุ่งหน้าสู่การเป็นองค์กรที่ใช้ AI ในรูปแบบ Agentic AI ที่มีความสามารถในการตัดสินใจและปฏิบัติงานได้ด้วยตัวเองเหมือนเป็นคนทำงานคนหนึ่งในสภาพแวดล้อมเฉพาะ
จากทิศทางในภาพรวมในการนำ Agentic AI เข้ามาใช้ในการทำงานของ KBTG ที่ผ่านมาทางบริษัทก็ได้เริ่มพัฒนาบุคลากรตลอดจนพัฒนา Agentic AI เข้ามาใช้เป็นบางส่วนแล้วในหลากหลายงาน
- Agentic Platformization คือการสร้างแพลตฟอร์มเพื่อจัดการ AI Agent ในองค์กรโดยง่าย สะดวก และรวดเร็ว
- Agentic Orchestration คือการออกแบบกระบวนการใหม่ (Operation Workflow) เพื่อให้คนสามารถทำงานร่วมกับ AI Agent ได้มีประสิทธิภาพ
- Agentic Humanization การเตรียมความพร้อมให้มีความรู้ความสามารถด้าน AI และสร้างสิ่งที่เรียกว่า Human-AI Workforce Integration
ดร. ทัดพงศ์ อธิบายต่อว่า สิ่งที่ KBTG เริ่มทำไปแล้วและเตรียมสานต่อในปีหน้าคือ ในด้าน Agentic Platformization จากการที่ KBTG สร้าง AthenaMind ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มสร้าง AI Agent ที่พัฒนาขึ้นมาใช้เองในองค์กร เพื่อนำมาใช้ในแต่ละส่วนงานของ KBTG ได้อย่างสะดวก เช่น PDPA Chat Agent, Analytics Agent และ Regulatory Chat Agent
ในเรื่องการทำ Agentic Orchestration ดร. ทัดพงศ์เล่าว่าที่ KBTG มีการนำ AI Coding Assistant มาใช้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์ ช่วยลดเวลาการทำงานของ Developer เบื้องต้นได้ไม่ต่ำกว่า 20% และสร้างโค้ดด้วย AI ไปแล้ว 500,000 บรรทัด
ส่วน Agentic Humanization นั้น KBTG ได้พัฒนาให้คนทำงาน 100% มี AI Literacy รวมถึงเปิดชมรม Machine Learning, AI, Data Analytics (M.A.D. Guild) เพื่อสร้าง AI-Ready Workforce ที่พร้อมทำงานร่วมกับ AI
ในยุคที่ AI (Artificial Intelligence) เข้ามามีบทบาทสำคัญในทุกมิติของการทำงาน หนึ่งในพื้นที่ที่ AI กำลังพลิกโฉมอย่างรวดเร็วคือ การพัฒนาซอฟต์แวร์ (Software Development) ซึ่งปัจจุบันได้เกิดแนวโน้มสำคัญ 3 ประการที่กำลังเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานของวิศวกรซอฟต์แวร์อย่างลึกซึ้ง ได้แก่ Coding Assistant, Coding Agent, และ Multi-Agent SDLC
นอกจากนี้ ยังได้จัด AI Day เพื่อจัดการแข่งขันในโปรเจกต์ AI สำหรับคนที่สนใจ และยังมี AI Bootcamp ที่สามารถพัฒนาวิศวกร AI ล่าสุดได้ถึง 250 คน ตลอดจน AI Hackathon ที่เปิดโอกาสให้พนักงานได้นำเสนอแนวคิด โดยสามารถผลักดันให้เกิดไอเดียสำเร็จถึง 30 แนวคิด เกิดเป็น Minimum Viable Product ถึง 10 ผลิตภัณฑ์ ทั้งหมดนี้ Sandbox ที่เปิดให้คนทำงานได้ลองผิดลองถูกในโปรเจกต์ด้าน AI
อย่างไรก็ตาม ดร. โกเมษ ให้ข้อคิดต่อว่าในการทำ AI Transformation การโยนเครื่องมือ AI เข้าไปในกระบวนงานไม่ได้การันตีว่าจะเกิดผลเชิงบวกเสมอไปดังที่ได้เห็นไปแล้วก่อนหน้านี้ในกรณีของ KBTG
จุดสำคัญคือต้องเตรียมคนให้มี AI Literacy และวางมนุษย์ไว้ในสมการ แค่ใช้เครื่องมือให้ทำงานง่ายนั้นไม่พอ แต่ใช้แล้วชีวิตโดยรวมของคนทำงานต้องดีขึ้นด้วย พูดง่าย ๆ คือไม่ใช่แค่ AI First แต่ต้องนึกเรื่อง Human First ด้วย
- Coding Assistant เป็นการใช้ AI ในฐานะเครื่องมือที่ช่วยวิศวกรเขียนโค้ดบางส่วน โดยทำหน้าที่แนะนำโค้ดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เช่น การช่วยเติมโค้ดหรือแก้ไขโค้ดบางส่วน
- Coding Agent เป็น AI ที่ลงมือทำงานแทนมนุษย์ในงานเฉพาะสามารถลงมือเขียนโค้ดได้เองโดยที่วิศวกรมีหน้าที่ตรวจสอบงานเท่านั้น
- Multi-Agent SDLC เป็น AI Agent ที่สอดประสานและช่วยดูแลทุกขั้นตอนของการพัฒนาซอฟต์แวร์ หรือ SDLC (Software Development Life Cycle) สามารถจัดการ Workflow ทั้งหมดของการพัฒนาซอฟต์แวร์ ตั้งแต่การวางแผน (Plan), เก็บความต้องการ (Requirements), ออกแบบ (Design), เขียนโค้ด (Code), ทดสอบ (Test), และนำไปใช้งาน (Deploy)
ที่น่าสนใจคือ ตอนนี้ 25% ของโค้ดที่ Google ใช้ในปัจจุบันถูกพัฒนาโดย AI ซึ่งคุณจิรัฎฐ์สรุปว่านี่เป็นหลักฐานว่า KBTG เองก็กำลังมาถูกทาง และแชร์ข้อมูลของ KBTG ว่า บางงานที่เคยใช้คนทำในเวลา 0.5 Manday สามารถลดลงเหลือเพียง 5 นาที โดยต้นทุนเหลือเพียง 3 บาท ความเร็วและความคุ้มค่าที่เพิ่มขึ้นนี้ส่งผลให้วิศวกรสามารถโฟกัสกับงานที่สำคัญกว่าได้
ดร. มนต์ชัย เลิศสุทธิวงค์ Principal Research Engineer and Head of AI Research ของ KBTG เล่าว่า งานวิจัยของทางหน่วยงานสามารถเปลี่ยนไปเป็น use case ในโลกจริงได้หลายตัว ไม่ว่าจะเป็น AINU, THaLLE, Future You, และ AI-Enabled VDO Analytics นอกจากนี้ยังเปิดตัว AthenaMind แพลตฟอร์มพัฒนา AI Agent หนึ่งในโครงการที่ถูกนำมาใช้จริงคือ HR Chat Agent ที่ช่วยพนักงานเข้าถึงข้อมูลสิทธิประโยชน์อย่างง่ายดาย เช่น ประกันกลุ่ม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และการลา
ดร. มนต์ชัย ตอบคำถามเพิ่มเติมว่า ในอนาคตจะต้องพัฒนา AI Agent เข้ามาช่วยคนทำงานทั้งในฝั่ง Tech และ Non-tech เช่น อาจจะมี AI ที่คอยช่วยสรุปข่าว หรือช่วยทำพรีเซนเทชัน เพื่อช่วยผลิตภาพรายบุคคล ซึ่งสุดท้ายจะช่วยเพิ่มผลิตภาพโดยรวมขององค์กร
งานวิจัย KBTG มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ 30 ฉบับ รวมถึงงานประชุมนานาชาติชั้นนำด้าน NLP อย่าง ACL 2024 โดยแบ่งเป็นงานระดับ Rank A* 2 ฉบับ และ Rank A 5 ฉบับ ความก้าวหน้าเหล่านี้ถูกนำไปต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น การวิเคราะห์ข้อมูลด้วย AI, การพัฒนา eKYC ด้วย Computer Vision และ Chatbot ตอบคำถามลูกค้าแบบเรียลไทม์
โดยหนึ่งในกลยุทธ์สำคัญที่ KBTG ได้ทำเพื่อเตรียมพร้อมสู่การพัฒนานวัตกรรมด้าน AI ในช่วงที่ผ่านมา คือการสร้างเครือข่ายพันธมิตรด้าน AI กับองค์กรทั้งในและต่างประเทศ เช่น AI Singapore, MIT Media Lab และ Google Research
คุณกระทิงปิดท้ายว่า KBTG มุ่งเน้นการผสานศักยภาพของมนุษย์และ AI ให้ทำงานร่วมกันอย่างกลมกลืน โดยแนวคิด Human-First x AI-First มุ่งเน้นให้มนุษย์เป็นศูนย์กลางของการเปลี่ยนแปลง ในขณะที่ AI ทำหน้าที่เสริมสร้างความสามารถ ไม่ใช่การแทนที่ ซึ่งที่ผ่านมา KBTG ก็พัฒนาในแนวทางนี้และยังมุ่งเน้นต่อในอนาคต
เพื่อให้ความสำเร็จเหล่านี้เกิดขึ้นได้ KBTG ตั้งเป้าหมายในการพัฒนา AI-Driven Innovations ซึ่งที่ผ่านมาก็มีออกมาไม่น้อย เช่น AthenaMind, Waan.AI, และ FutureYou การผสาน Human-AI Convergence ในกระบวนการทำงาน เพื่อให้มนุษย์และ AI ทำงานร่วมกันในทุกมิติ รวมถึงสร้าง World-Class Ecosystem ผ่านความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยและองค์กรระดับโลก เช่น MIT Media Lab เป็นต้น
#KBTG
#KBTGHumanFirstxAIFirst
#AgenticAI
#KBTGTheYearOfAgenticAI2025