Blognone

ไทยส่งทีมนักวิจัยไปสถานีวิจัยขั้วโลกใต้นาน 28 วัน ศึกษาผลกระทบของขยะทะเล-ภูมิอากาศ

authorby mk
published on6 February 2025 - 10:28

ทีมนักวิจัยจากประเทศไทย 3 คน และช่างภาพอีก 1 คน เดินทางไปทำวิจัยที่ขั้วโลกใต้ (แอนตาร์กติก) ถือเป็นคณะคนไทยที่เดินทางทำวิจัยไปขั้วโลกใต้ในรอบ 11 ปี (ไปคราวก่อนคือ 2557)

การเดินทางครั้งนี้อยู่ภายใต้ "โครงการวิจัยขั้วโลกตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี" ของ "มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี" ที่มีความร่วมมือกับหน่วยงานด้านขั้วโลกของประเทศจีน (PRIC) ทำให้สามารถส่งนักวิจัยไทยไปทำวิจัยที่สถานีวิจัยเกรทวอลล์ (Great Wall Station) ของจีนได้

ทีมจากไทยทั้ง 4 คนได้แก่

  • ศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เคยไปทำวิจัยที่ขั้วโลกใต้ในปี 2552 และ 2557 ครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่สาม)
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุจารี บุรีกุล อาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ
  • นายนิพัธ ปิ่นประดับ ผู้ช่วยนักวิจัย ภาควิชาวาริชศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • นายภคินัย ยิ้มเจริญ ช่างภาพจากสยามโสภา

ทีมวิจัยจะอยู่ที่ขั้วโลกใต้เป็นเวลา 28 วัน (29 มกราคม ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2568) ศึกษาผลกระทบของขยะทะเล ไมโครพลาสติก และการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่มีต่อสัตว์ทะเล และระบบนิเวศทางทะเล

จากการสำรวจเบื้องต้น พบว่าน้ำแข็งในหลายๆ ที่ของบริเวณแอนตาร์ติกได้ละลายและหายไป เมื่อเทียบกับ 11 ปีที่แล้วที่คณะไทยได้เคยมาทำการสำรวจ ส่วนมลพิษทางอากาศค่าที่ตรวจวัดได้พบว่า ที่แอนตาร์ติกอากาศยังบริสุทธิ์มากเมื่อเทียบกับอากาศบริเวณส่วนอื่นๆ ของโลก

ที่มา - จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

No Description

No Description

Blognone Jobs Premium