อินเทลเตรียมปล่อยชิปประสิทธิภาพสูงเป็นสินค้าเต็มตัว

by lew
31 May 2010 - 18:20

หลังจากที่อินเทลปล่อยให้ Larrabee ขึ้นหิ้งไปอย่างแทบจะเต็มรูปแบบแล้ว วันนี้ผมก็ได้รับจดหมายข่าวจากตัวแทนของอินเทลว่าอินเทลจะเริ่มส่งชิปประสิทธิภาพสูงมากในตระกูล Many Integrated Core (MIC) ลงวางตลาดอย่างจริงจังแล้ว

โดยหลักการแล้ว MIC คือการให้งานหลักๆ ทำงานอยู่บนคอร์ x86 ความเร็วสูงตามปรกติพร้อมกับความสามารถในการเชื่อมต่อข้อมูลด้วยความเร็วสูงไปยังซีพียู x86 ขนาดเล็กอีกจำนวนมากได้ (แนวคิดเดียวกับ Cell) โดยในตอนนี้อินเทลจะส่งการ์ดที่ชื่อว่า Knights Ferry ที่เชื่อมต่อกับซีพียูด้วยบัส PCIe ภายในมี 32 คอร์สามารถรันได้ 4 เธรดต่อคอร์และแคชอีก 4MB ไปให้นักพัฒนาเพื่อเริ่มพัฒนาก่อน ส่วนหลักจากนี้จะมีชิปที่รวมหน่วยประมวลผลหลักและหน่วยประมวลผลย่อยบนเวเฟอร์เดียวกันที่ชื่อว่า Knights Corners ตามออกมาโดยมันจะมีมากกว่า 50 คอร์, ผลิตด้วยเทคโนโลยี 22 นาโนเมตร และสินค้าในตระกูล Knights จะพัฒนาแยกออกไปจากสายการพัฒนาปรกติ

จุดน่าสนใจคือหน่วยประมวลผลย่อยของตระกูล Knights นี้จะมีระบบบัสเชื่อมต่อภายในเป็นวงแบบเดียวกับ Larrabee

ราคาไม่แจ้ง แต่คงไม่ใช่สิ่งที่ใครอยากมีไว้ในบ้านกันนัก?

ที่มาเป็นจดหมายข่าวท้ายข่าวนี้

อินเทลเปิดตัวแผนผลิตภัณฑ์ใหม่สำหรับการประมวลผลประสิทธิภาพสูง

อินเทล™ เมนี อินทิเกรทเตด คอร์ โปรเซสเซอร์จะขยายบทบาทของอินเทลในการเร่งความเร็วในงานวิจัยและวิทยาศาสตร์

ประเด็นข่าว

  • ผลิตภัณฑ์รุ่นแรกที่มีชื่อรหัสว่า ‘ไนท์ คอร์เนอรส์’ (Knights Corners) จะใช้ขั้นตอนการผลิตแบบ 22 นาโนเมตร และนำเอากฎของมัวส์มาเพิ่มศักยภาพจนทำให้ชิปของอินเทลมีมากกว่า 50 คอร์
  • อินเทล™ ซีออน™ โปรเซสเซอร์และผลิตภัณฑ์ที่ใช้สถาปัตยกรรมอินเทล™ เมนี อินทิเกรทเตด คอร์ (Intel ® Many Integrated Core) จะใช้เครื่องมือ ซอฟต์แวร์ อัลกอริธึม และเทคนิคในการเขียนโปรแกรมพื้นฐานเดียวกัน
  • ผลิตภัณฑ์ใหม่นี้พัฒนาขึ้นโดยอ้างอิงถึงประวัติศาสตร์ทางการวิจัยชิปมัลติคอร์ของอินเทล รวมถึงแผนงาน ‘ลาร์ราบี’ (Larrabee) และ Single-chip Cloud Computer
  • ในรายชื่อของซูเปอร์คอมพิวเตอร์ 500 อันดับแรกของโลก เป็นเครื่องที่ใช้โปรเซสเซอร์ของอินเทลแล้ว 408 รุ่น หรือเท่ากับร้อยละ 82

กรุงเทพฯ 31 พฤษภาคม 2553: ในงานสัมมนา อินเตอร์เนชั่นแนล ซูเปอร์คอมพิวติ้ง คอนเฟอร์เรนซ์ (International Supercomputing Conference ISC) บริษัท อินเทล คอร์ปอเรชั่น ประกาศว่าจะเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ใช้สถาปัตยกรรม อินเทล™ เมนี อินทิเกรทเตด คอร์ (Intel ® Many Integrated Core หรือ Intel MIC) เพื่อนำไปสร้างแพลตฟอร์มที่สามารถคำนวณคำสั่งได้หลายล้านล้านคำสั่งต่อวินาที พร้อมกับยังคงคุณสมบัติต่างๆ ที่ได้จากโปรเซสเซอร์มาตรฐานของอินเทลไว้อย่างครบถ้วน

ผลิตภัณฑ์รุ่นแรกที่ใช้ชื่อรหัสว่า ‘ไนท์ คอร์เนอรส์’ (Knights Corners) ตั้งเป้าเจาะตลาดระบบประมวลผลประสิทธิภาพสูงอาทิการสำรวจ งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ หรือการประเมิณสภาพอากาศและการเงิน เป็นต้น ผลิตภัณฑ์รุ่นนี้จะใช้ขั้นตอนการผลิต 22 นาโนเมตรของอินเทล และใช้โครงสร้างทรานซิสเตอร์ที่มีขนาดเท่ากับ 1 ใน 22 พันล้านเมตร รวมทั้งจะใช้กฎของมัวร์เพื่อบรรจุคอร์ประมวลผลของอินเทลมากกว่า 50 คอร์ลงไปในชิปเพียงตัวเดียวอีกด้วย ในขณะที่ปริมาณงานส่วนใหญ่จะถูกจัดการโดยอินเทล ® ซีออน ® โปรเซสเซอร์ ซึ่งได้รับรางวัลมาแล้วมากมายได้อย่างดี สถาปัตยกรรม Intel MIC จะช่วยให้แอพลิเคชันที่ประมวลผลแบบคู่ขนานบางตัวทำงานได้เร็วขึ้นกว่าเดิม

ในขณะนี้อินเทลได้เริ่มส่งผลิตภัณฑ์ที่เป็นชุดออกแบบและพัฒนา ที่มีชื่อรหัสว่า ‘ไนท์ เฟอร์รี่’ (Knights Ferry) ไปให้นักพัฒนาบางส่วนแล้ว จากนั้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2553 เป็นต้นไป อินเทลจะขยายขอบเขตของโครงการเพื่อมอบเครื่องมือสำหรบพัฒนาที่หลากหลายมากขึ้นสำหรับนักพัฒนาที่จะนำไปใช้กับโครงสร้าง Intel MIC ในขณะที่เครื่องมือซอฟต์แวร์ของอินเทลและเทคนิคการปรับแต่งประสิทธิภาพแบบพื้นฐานระหว่างสถาปัตยกรรม Intel MIC และอินเทล® ซีออน® โปรเซสเซอร์จะสามารถรองรับโมเดลการเขียนโปรแกรมที่หลากหลาย ซึ่งจะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย และวิศวกรสามารถสร้างงานได้รวดเร็วขึ้น พร้อมๆ กับรักษาการลงทุนด้านซอฟต์แวร์ที่มีอยู่เดิมเอาไว้ได้ด้วย สถาปัตยกรรม Intel MIC เป็นผลมาจากหลายโครงการของอินเทลอาทิ ลาร์ราบี (Larrabee) และโครงการวิจัยของอินเทลแลปอย่าง Single-chip Cloud Computer เป็นต้น

สเวอร์ ยาร์ป ซีทีโอของห้องปฏิบัติการณ์เปิดของเซิร์น (CERN) กล่าวว่า “ทีมงานห้องปฏิบัติการณ์เปิดของเซิร์นสามารถย้ายโปรแกรมวัดประสิทธิภาพแบบคู่ขนานที่ซับซ้อนซึ่งเขียนขึ้นโดยใช้ภาษาซี++ไปเป็นแพลตฟอร์มพัฒนาซอฟต์แวร์ Intel MIC ได้ภายในเวลาแค่ไม่กี่วันเท่านั้น การใช้โมเดลการเขียนโปรแกรมระดับฮาร์ดแวร์ที่พวกเขาคุ้นเคยช่วยทำให้เราปรับแต่งให้ซอฟต์แวร์ใช้การได้เร็วกว่าที่คาดเอาไว้”

เคิร์ก สกาวเกิน รองประธานและผู้จัดการทั่วไปของกลุ่มดาต้าเซ็นเตอร์ กล่าวว่า “โปรเซสเซอร์ อินเทล® ซีออน® และในตอนนี้ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้สถาปัตยกรรม Intel® Many Integrated Core จะเข้ามาช่วยขยายขอบเขตของระบบงานด้านวิทยาศาสตร์และการค้นพบต่างๆให้กว้างไกลยิ่งขึ้น ขณะที่อินเทลกำลังเร่งพัฒนาโซลูชันเพื่อนำมาใช้ไขปัญหาที่มีความท้าทายมากที่สุดของมวลมนุษยชาติอยู่ สถาปัตยกรรม Intel ® MIC จะเข้ามาเสริมศักยภาพของผลิตภัณฑ์และโซลูชั่น HPC ชั้นนำของอินเทลที่ปัจจุบันมีการใช้งานในซูเปอร์คอมพิวเตอร์ชั้นนำของโลกเกือบร้อยละ 82 แล้ว การลงทุนของเราในปัจจุบันเป็นเครื่องบ่งชี้ว่าอินเทลมีความตั้งใจจริงที่เติบโตไปพร้อมกับชุมชนระบบประมวลผลประสิทธิภาพสูงทั่วโลก”

สุดยอด 500 ซูเปอร์คอมพิวเตอร์

รายชื่อสุดยอดซูเปอร์คอมพิวเตอร์ 500 อันดับแรก ฉบับที่ 35 ที่ประกาศในงาน ISC ในครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่าอินเทลยังคงเป็นแพลตฟอร์มที่ถูกเลือกสำหรับระบบประมวลผลประสิทธิภาพสูง โดยมีซูเปอร์คอมพิวเตอร์ 408 รุ่นหรือเกือบร้อยละ 82 ที่ใช้โปรเซสเซอร์ของอินเทล และมีคอมพิวเตอร์แบบคว๊อดคอร์มากกว่าร้อยละ 90 ใช้โปรเซสเซอร์ของอินเทล รวมทั้งมีการนำเอาอินเทล® ซีออน® โปรเซสเซอร์ ซีรี่ส์ 5500 ไปใช้เพิ่มขึ้นสองเท่าหรือเท่ากับคอมพิวเตอร์ 186 รุ่น นอกจากนั้นมีซูเปอร์คอมพิวเตอร์ 3 รุ่นที่ติด 10 อันดับแรกที่ใช้ชิปของอินเทล รวมทั้งคอมพิวเตอร์ 4 ใน 5 รุ่นใหม่ที่เพิ่งติด 30 อันดับแรกอีกด้วย นอกจากนั้นมีคอมพิวเตอร์ 7 รุ่นที่มีอินเทล® ซีออน® โปรเซสเซอร์ ซีรี่ส์ 5600 ที่มีชื่อรหัสว่า ‘เวสท์เมียร์ อีพี’ (Westmere-EP) ที่เพิ่งเริ่มจำหน่ายไปได้ไม่นานนัก และคอมพิวเตอร์อีกสองรุ่นที่มีอินเทล® ซีออน® โปรเซสเซอร์ ซีรี่ส์ 7500 ที่มีชื่อรหัสว่า ‘เนฮาเล็ม อีเอ็กซ์ ’ (Nehalem –EX) อีกด้วย

อินเทล® ซีออน® โปรเซสเซอร์ ซีรี่ส์ 5600 มีบทบาทสำคัญอย่างมากในกลุ่มคอมพิวเตอร์ที่ได้อันดับสูงสุดจากจีนในประวัติศาสตร์ของการจัดอันดับซูเปอร์คอมพิวเตอร์ 500 อันดับแรก คอมพิวเตอร์ที่ได้อันดับสองติดตั้งอยู่ที่ National Supercomputing Center (NSCS) ศูนย์กลางการวิจัยและนวัตกรรมในจีนที่เมืองเสิ่นเจิ้น คอมพิวเตอร์รุ่นนี้ผ่านการทดสอบ Linpack โดยได้คะแนนที่ 1.2 พีตาฟล็อป (petaflops) เท่ากับคอมพิวเตอร์รุ่น Dawning TC3600

การประกาศรายชื่อสุดยอด 500 ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่จัดทำทุกๆครึ่งปีเป็นผลงานของฮาส มูเออร์แห่งมหาวิทยาลัยแมนไฮม์ อีริก สโตรไมเออร์และโฮสต์ ไซมอนแห่งศูนย์ประมวลผลด้านวิทยาศาสตร์เพื่อการวิจัยพลังงานแห่งชาติ กระทรวงพลังงานสหรัฐอเมริกา และแจ็ก ดอนการ์รา แห่งมหาวิทยาลัยเทนเนสซี คุณสามารถเรียกดูรายงานฉบับสมบูรณ์ได้ที่ www.top500.org

ห้องทดลองแห่งใหม่

เพื่อเป็นการสนองตอบต่อความต้องการของระบบงาน simulation ขนาดใหญ่ในการประมวลผลระดับพีตาฟล็อปและเอ็กซาฟล็อป (exaflops) ด้วยเหตุนี้อินเทล Forschungszentrum Julich (FZJ) และ ParTec จะเปิดตัวโครงการเพื่อสร้างห้องปฏิบัติการแห่งใหม่ที่ชื่อ ExaCluster Laboratory (ECL) ที่ Julich ซึ่งเป็นโครงการที่ต้องใช้เวลาในการดำเนินงานหลายปี ห้องปฏิบัติการแห่งนี้จะพัฒนาเทคโนโลยี เครื่องมือ และวิธีการหลักๆ เพื่อใช้งานร่วมกับคอมพิวเตอร์ที่ประมวลผลระดับพีตาฟล็อปและเอ็กซาฟล็อป โดยเน้นไปที่ความสามารถในการขยายระบบและความยืดหยุ่นของคอมพิวเตอร์เหล่านี้ ECL จะกลายเป็นสมาชิกล่าสุดของ Intel Labs Europe ซึ่งเป็นเครือข่ายศูนย์วิจัยและนวัตกรรมที่กระจายอยู่ทั่วยุโรป

ชมเว็บคาสต์ ของเคิร์ก สกาวเดนในการบรรยายในงาน International Supercomputing 2010 ได้ที่ http://lecture2go.uni-hamburg.de/live

เกี่ยวกับอินเทล
อินเทล เป็นผู้นำในด้านนวัตกรรมการประมวลผล รวมทั้งการออกแบบ และสร้างสรรค์เทคโนโลยีที่เป็นพื้นฐานการพัฒนาอุปกรณ์ประมวลผลระดับโลก ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอินเทล สามารถดูได้ที่
www.intel.com/pressroom , www.intel.com/th, blogs.intel.com, ทวิตเตอร์ @Intelthailand และ เฟสบุ๊ค IntelThailand

Intel, Intel Xeon และ Intel logo เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของ อินเทล คอร์ปอเรชั่น หรือสำนักงานสาขาในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ ขอสงวนสิทธิ์
* ชื่อและยี่ห้ออื่นอาจถูกอ้างอิงถึงโดยถือเป็นทรัพย์สินของชื่อยี่ห้อนั้นๆ

ติดต่อ:

สุภารัตน์ โพธิวิจิตร คุณอรวรรณ ชื่นวิรัชสกุล

บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท คาร์ล บายร์ แอนด์ แอสโซซิเอทส์

โทรศัพท์: (66 2) 648-6000 โทรศัพท์: (66 2) 627-3501

e-Mail: suparat.photivichit@intel.com e-Mail: orawan@carlbyoir.com.hk

Blognone Jobs Premium