ในช่วงหลังนี้ สงครามในตลาด E-Book เริ่มดุเดือด ตั้งแต่ที่ Apple เปิดตัว iPad, B&N ลดราคา Nook จนเจ้าตลาดเดิมอย่าง Amazon ต้องออกมาตอบโต้ โดยหั่นราคา Kindle 2 ของตัวเองมาสู้ และเดือนที่ผ่านมาก็ได้เปิดตัว Kindle รุ่นใหม่ ที่ใครๆ ก็เรียกกันว่า “Kindle 3” ยกเว้นแต่ Amazon เองที่เรียกว่า “Kindle Latest Generation” ในที่นี้ขอเรียกสั้นๆ ตามที่ส่วนใหญ่เค้าเรียกกันว่า Kindle 3
Kindle 3 มีอยู่สองรุ่น คือรุ่น Wi-Fi only ราคา $139 กับรุ่น Wi-Fi+3G ราคา $189 มีสีดำกับสีขาวให้เลือก ความสามารถก็ตามชื่อ คือรุ่น Wi-Fi จะใช้งานผ่าน Wi-Fi ได้เท่านั้น ส่วนรุ่น Wi-Fi+3G จะใช้เครือข่าย Whispernet ที่ Amazon เป็นพาร์ทเนอร์กับเครือข่ายมือถือใหญ่ๆ ทั่วโลก (รวมทั้งเมืองไทยด้วย) ให้ผู้ใช้สามารถใช้ Kindle โหลดหนังสือผ่านเครือข่าย 3G โดยไม่ต้องเสียบซิม ไม่ต้องเสียค่าบริการ
Kindle ตัวที่สั่งซื้อมานี้เป็นรุ่น Wi-Fi only เหตุผลคือ เพราะมันถูกกว่า แล้วก็คิดว่าคงจะไม่ค่อยได้ใช้งาน sync หนังสือผ่านเครือข่ายโทรศัพท์สักเท่าไหร่ (ไม่เกี่ยวกับที่ว่าบ้านเรายังไม่มี 3G แต่อย่างใด) ราคาอยู่ที่ $139 ค่าส่งอีก ประมาณ $10 และ tax deposit fee อีก $40 รวมๆ แล้วก็อยู่ที่ประมาณ $200 ตอนนี้บาทแข็ง คูณแล้วก็ประมาณ 6,000 กว่าบาท จัดส่งมาให้ผ่านทาง DHL สามารถ track ดูสถานะของแท็คเกจได้จากในเว็บเลย ใช้เวลาไม่ถึงอาทิตย์ ก็มาถึงกรุงเทพ
กล่องกระดาษแข็งสีน้ำตาลธรรมดา ขนาดเล็กและเบากว่าที่คิด
เปิดกล่องก็เจอ Kindle นอนอยู่
ภายในกล่องประกอบด้วย Kindle, คู่มือ, สายชาร์จ MicroUSB พร้อมหัวต่อสำหรับเสียบกับฝาผนัง (ไม่แน่ใจว่าใช้กับไฟบ้านเราได้หรือเปล่า ยังไม่เคยลอง)
เทียบขนาดให้ดู จะเห็นว่าขนาดเล็กกว่าหนังสือการ์ตูนเล็กน้อย หน้าจอ 6″ มีขนาดพอๆ กับหนังสือพ็อคเก็ตบุ๊คทั่วไป
ในการใช้งานครั้งแรก ก็ต้องชาร์จไฟเสียก่อน ในที่นี้ใช้วิธีเสียบสาย MicroUSB เข้ากับ laptop พอเสียบเข้าไปแล้ว OS ก็จะเห็น Kindle เป็น USB Storage ตัวนึง สามารถก็อปปี้ไฟล์ไปใส่ได้ (ทดสอบกับ Mac OS X แต่คิดว่า OS อื่นก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร) ความจุประมาณ 4GB
ในการชาร์จแบต Kindle หนึ่งครั้ง ตามคู่มือบอกว่าใช้งานได้เป็นเวลาถึง 4 สัปดาห์ แต่ถ้าเปิด Wi-Fi ตลอด จะอยู่ได้ประมาณ 3 สัปดาห์
สำหรับคนที่ยังไม่รู้ หน้าจอของ Kindle ใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า E Ink ซึ่งแสดงผลเป็นภาพขาวดำที่ดูสบายตา คล้ายกับอ่านจากหนังสือที่เป็นกระดาษจริงๆ ไม่มีแสงสะท้อนแยงตาเหมือนจอคอมพิวเตอร์ ตามสเป็คของ Kindle 3 ตัวนี้ ใช้จอ E Ink ที่ความละเอียด 800×600 แสดงสีขาวดำได้ 16 ระดับ
ด้วยเทคโนโลยี E Ink นี่เองที่ประหยัดพลังงานในการแสดงผลมาก ทำให้ในการชาร์จหนึ่งครั้ง เราสามารถใช้งาน Kindle ได้นานเป็นสัปดาห์ แต่ข้อเสียของจอ E Ink นอกจากเรื่องที่แสดงภาพสีไม่ได้แล้วนั้น ก็มีเรื่องที่การเปลี่ยนหน้าจอทำได้ช้า ทำให้ไม่เหมาะจะเอามาแสดงผลภาพเคลื่อนไหว
มาดูตัวเครื่อง Kindle กันบ้าง จะเห็นว่ามีหน้าจอ 6″ มีปุ่มด้านซ้ายขวา ข้างละ 2 ปุ่ม เอาไว้เปิดหน้าถัดไปหรือหน้าที่แล้ว จับตัวเครื่องด้วยมือไหน ก็ใช้ได้เหมือนกัน ด้านล่างมีแป้นคีย์บอร์ดเอาไว้พิมพ์เล็กๆ น้อยๆ และมีปุ่ม 5-way button เอาไว้เลื่อนเคอร์เซอร์ ส่วนท้ายตัวเครื่องมีรูเสียบหูฟัง ช่องเสียบ MicroUSB ปุ่มปรับระดับเสียง และปุ่ม power slide ส่วนด้านหลังมีลำโพง
ในเว็บของ Amazon จะมีหนังสือฟรีอยู่จำนวนหนึ่ง สามารถโหลดมาอ่านฟรีได้ (ส่วนใหญ่เป็นนิยายเก่าๆ หรือหนังสือที่เป็น public domain) โดยเข้าไปที่หน้าของหนังสือนั้นๆ แล้วเลือก Send to my Kindle แล้วหนังสือจะ sync มาลงยัง Kindle ของเราเอง ถ้าในรุ่นที่เป็น 3G ก็จะสามารถ sync ได้แม้จะไม่ได้ต่อ Wi-Fi
ตัวอย่าง โหลด Alice’s Adventures In Wonderland มาอ่าน
ถ้าหนังสือที่เราอ่าน อยู่ในฟอร์แมต E-Book (.azw หรือ .mobi) จะสามารถปรับขนาดตัวหนังสือตามต้องการได้ ตัวหนังสือจะ reflow เอง
ฟอร์แมตไฟล์ที่ Kindle รู้จัก และเราใช้กันทั่วไปก็มี azw, mobi, pdf, text, html, doc ถ้ารูปภาพก็มี bmp, gif, jpeg, png
ทดลองสร้าง folder ใส่ภาพเข้าไป Kindle จะมอง folder หนึ่ง เหมือนกับเป็นหนังสือ 1 เล่ม เวลาเปิดดูก็จะเปิดดูทีละรูปๆ เหมาะกับการเอามาอ่านการ์ตูนเป็นอย่างยิ่ง ถ้าเกิดว่าตัวหนังสือเล็กเกิน อ่านไม่ออก ก็สามารถเลือกอ่านแนวตะแคงได้ (เลือกได้ว่าจะให้แสดงภาพแบบ fit หน้าจอ, fit ความกว้าง หรือว่า actual size)
ถ้าไม่ใช้งานสักระยะนึง Kindle จะแสดงหน้า screensaver และล็อคปุ่ม เพื่อป้องกันการกดโดนโดยไม่ตั้งใจ เวลาจะกลับมาอ่านต่อก็เลื่อนปุ่ม power ด้านล่างตัวเครื่อง
หนังสือของ Amazon จะมีปกให้ดูด้วย (อันนี้เป็น sample อ่านฟรีแค่บทแรกๆ ถ้าติดใจค่อยซื้อทั้งเล่ม)
ทดสอบอ่าน PDF สามารถเลือกแสดงผลเป็น fit width, 150%, 200% และเลือกระดับความเข้มของตัวหนังสือได้ แต่ไม่สามารถเลือกขยายขนาดตัวหนังสือได้ ต้อง zoom อย่างเดียว
ในกรณีที่เอามาอ่าน paper วิชาการ ที่ส่วนใหญ่จะแบ่งเป็น 2 คอลัมน์ สามารถใช้ท่า zoom 200% เพื่ออ่านทีละคอลัมน์ได้
ภาษาไทยในไฟล์ PDF แสดงผลได้ถูกต้อง อ่านได้ไม่มีปัญหา
แต่ถ้าเป็นไฟล์ประเภท E-book (ในรูปเป็น .mobi) จะแสดงผลโดยใช้ font ที่ติดมากับเครื่อง ซึ่งอ่านภาษาไทยได้ แต่ไม่สวย สระบนยังซ้อนกันอยู่ และการตัดคำยังดูมีปัญหาอยู่
วิธีการนำเอา E-book หรือเอกสารของเราใส่เข้าไปใน Kindle นอกจากใช้วิธีก็อปปี้ผ่านทาง USB แล้ว ยังมีอีกวิธีหนึ่งคือ ส่งทางอีเมล โดย Kindle ทุกเครื่องจะมีอีเมลประจำเครื่อง (ตั้งค่าได้ เป็น @Kindle.com) เราสามารถอีเมลไฟล์เอกสารที่เราต้องการมาที่อีเมลนี้ แล้วเอกสารหรือ E-book นั้นจะถูก sync มาลง Kindle ให้ สำหรับรุ่น Wi-Fi จะ sync ได้ฟรี ไม่เสียเงิน แต่ถ้า sync ผ่าน whispernet (สำหรับรุ่น 3G) จะคิดค่า data transfer ด้วย
นอกจากนี้ Kindle ยังมี Web Browser มาให้ในตัวอีกด้วย (engine ข้างในเป็น WebKit) โดยยังเป็นความสามารถแบบ experimental อยู่ สามารถใช้เปิดดูเว็บได้ แต่เอาเข้าจริงๆ แล้วก็ยังแสดงผลค่อนข้างช้า และการเลื่อนดูทำได้ลำบากเพราะต้องใช้ปุ่มกดเอา ไม่ใช่จอแบบสัมผัส ความรู้สึกคล้ายๆ กับเปิดเว็บบนมือถือที่ไม่ใช่จอสัมผัส
นอกจากนี้ Kindle 3 ก็มีฟีเจอร์เสริมอื่นๆ เช่น
หลังจากที่ทดลองใช้งานมาได้อาทิตย์กว่าๆ พบว่า
ถ้าจะให้เปรียบเทียบ Kindle กับ iPad หรือ Android Tablet อื่นๆ อาจจะเทียบกันได้ไม่ตรงนัก เพราะหลักๆ แล้ว Kindle จะเน้นฟังก์ชันด้านการอ่านหนังสือมากกว่า แต่พวก tablet ทั้งหลายจะเน้นการใช้งานมัลติมีเดียเป็นหลัก อ่านหนังสือเป็นของแถม
สรุป – Kindle 3 สเป็กทุกอย่างดีขึ้นกว่ารุ่นก่อนหน้า ราคาถูกลงอยู่ในระดับสมเหตุสมผลสำหรับผู้ใช้ในบ้านเราแล้ว ถ้าเป็นคนที่มี E-book ที่ต้องอ่านเยอะ หรือนิยมอ่านนิยายภาษาอังกฤษ แนะนำว่าซื้อได้เลย ได้ใช้คุ้ม แต่สำหรับคนที่บริโภคเนื้อหาภาษาไทยเป็นหลัก ตอนนี้นอกจากการหาไฟล์ PDF มาอ่านเอง หรือใช้บริการส่งบทความจาก instapaper แล้ว ยังไม่เห็นแหล่งเนื้อหาอื่นเท่าไหร่นัก
หมายเหตุ - Blognone เคยมีเนื้อหาเก่า รีวิว Kindle 2 โดยคุณ guopai ด้วย
ที่มา - ปรับปรุงเนื้อหาจากบล็อก Kindle 3 Review