เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ไมโครซอฟท์ได้ยื่นจดสิทธิบัตรจอโพลีเมอร์ชนิดปรับรูปร่างตามการเหนี่ยวนำของแสง หรือ light-induced shape-memory polymer display screen กับสำนักงานสิทธิบัตรของสหรัฐอเมริกา โดยจอชนิดนี้สามารถสร้างรอยนูนของลวดลายบนผิวสัมผัส เช่น ปุ่มเวอร์ชวลคีย์บอร์ดที่เวลาลูบนิ้วไปบนนั้นจะให้ความรู้สึกเสมือนแป้นพิมพ์จริงเลยทีเดียว
หลักการคือ จอภาพจะมีชั้นพื้นผิวที่เปลี่ยนลักษณะทางภูมิศาสตร์ได้ (topography-changing layer) ซึ่งผลิตจากโพลีเมอร์ที่ปรับพื้นผิวตามสัญญาณแสงอัลตราไวโอเล็ตที่ตกกระทบ
เดิมทีไมโครซอฟท์ตั้งใจผลิตขึ้นมาเพื่อใช้กับผลิตภัณฑ์ Microsoft Surface แต่ในทางทฤษฎีแล้ว เทคโนโลยีนี้สามารถใช้ได้กับอุปกรณ์โมบายล์ได้ด้วย ก็หมายความว่าในอนาคตผลิตภัณฑ์สมาร์ทโฟนไม่จำเป็นต้องมีโมบายล์คีย์แพด เพื่อตอบสนองผู้ใช้ที่ต้องการปุ่มแป้นพิมพ์ของจริงอีกต่อไป
ที่มา: 88Gadget