Sony Y Series จัดว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ในระดับ mini-notebook คือ มีศักยภาพมากกว่า netbook ทั่วไป แต่ก็ไม่ได้แรงถึงขนาด notebook เรียกได้ว่า เน้นความเบาและขนาดที่เล็ก พกพาสะดวก ด้วยน้ำหนักเพียง 1.5kg สามารถนำไปใช้งานได้ทุกสถานที่ พร้อมกับดีไซน์ที่สวยงาม และแบรนด์ VAIO
ณ ตอนนี้ Y Series มีอยู่ทั้งหมด 3 รุ่นด้วยกัน แบ่งตามราคาได้ดังนี้ (ราคาโดยประมาณ ณ วันนี้เขียนรีวิวนี้)
ส่วนสเปคด้านอื่นๆ ทั้งสามรุ่นจะเหมือนกันหมด ยกเว้นสี (ในแต่ละรุ่นย่อย จะมีสีเครื่องให้เลือกไม่เหมือนกัน) ซึ่งจะเห็นว่า CPU ฝั่ง Intel จะแรงกว่าฝั่ง AMD แต่ว่าทางด้านกราฟฟิคนั้น E-350 ซึ่งมาพร้อมกับ Radeon HD 6310 จะมีความสามารถเหนือกว่า Intel HD Graphics สำหรับรุ่นที่ผมจะมารีวิวนั้น คือรุ่นต่ำสุด VPC YB15AH ครับ
ตัวเครื่องภายนอก มีพอร์ตต่างๆ เกือบจะครบถ้วนเหมือนคอมพิวเตอร์ทั่วไป ได้แก่
ด้านซ้าย 19.5 VDC IN, VGA (D-SUB), HDMI, 1xUSB 2.0
ด้านขวาปุ่มเปิด/ปิดเครื่อง พร้อมไฟสีเชียว (เปิด) และ ส้ม (standby), RJ45 (Atheros AR8131 10/100/1000), Kensington Lock, 2xUSB 2.0, Mic In, Headphone Out
ด้านหน้า SD Card Reader, Memory Stick Reader, Status LED (Card Reader), Wireless Switch (Atheros AR9285 b/g/n 150Mb/s), Status LED (Wireless, Power, HDD)
ข้อเสียที่เห็นคือ ไม่มี USB 3.0 และ powered USB, ไม่มี optical audio, eSATA และ USB ด้านขวาค่อนข้างเบียดกันเล็กน้อย ถ้าเอา aircard ที่ขนาดใหญ่หน่อยมาเสียบไปพอร์ตนึง อีกพอร์ตก็จะใช้ไม่ได้เลย ส่วนข้อดีที่เหนือกว่าบางรุ่นคือ ช่องต่อ Mic/Headphone แยกกัน ส่วน card reader ที่แยกกันนั้น ผมไม่แน่ใจว่าสามารถใส่ 2 การ์ดพร้อมกันได้หรือไม่ เพราะไม่มี MS มาทดสอบ ถ้าใช้ได้ก็ถือว่าอาจจะเป็นข้อดีอีกอย่างนึงเลยสำหรับคนที่ใช้ทั้ง SD และ MS แต่ช่องเสียบ SD อาจจะอยู่ต่ำ และลึกไปหน่อย เวลาเสียบก็อาจจะต้องยกเครื่องขึ้นมาดูช่องเล็กน้อย
มาดูด้านในบ้าง ตัวฝาพับนั้นไม่มีเขี้ยวล็อก ซึ่งก็เป็นปกติสำหรับโน้ตบุ๊กในยุคนี้ ด้านบนจอภาพ LED-backlit ขนาด 11.6” ความละเอียด 1366x768 pixel ก็จะเป็นเว็บแคมความละเอียด 640x480 ติดกันก็จะมีไฟสีเขียวเล็กๆ ที่จะสว่างเมื่อเว็บแคมเปิดใช้งาน ถัดไปไกลๆ ก็จะเป็นไมโครโฟน ซึ่งเว็บแคมนั้น ความละเอียดค่อนข้างต่ำ (0.3MP) และไม่ค่อยทนสภาพแสงน้อยๆ เท่าไหร่ ส่วนคีย์บอร์ดนั้นเป็นแบบ chiclet ขนาดพอดีมือ ปุ่มครบถ้วนเหมือนโน้ตบุ๊กทั่วๆ ไป ด้านบนมีไฟแสดงสถานะ Numlock/Caplock/Scrolllock พร้อม และปุ่ม Assist (ถ้ามีโอกาสอธิบายภายหลัง) ด้านล่าง touchpad ของ Synaptics สามารถใช้ multitouch gesture ได้ (เช่น pinch zoom)
ผมยังหาวิธีตั้งค่าการเลื่อนหน้าด้วย 2 นิ้ว (มีคล้ายๆ กัน แต่เป็น PageUp/Down ไม่ใช่ scroll แบบหมุนล้อเมาส์) กับการแท็ป 2 นิ้วเพื่อคลิกขวาในโปรแกรมของ Synaptics ไม่เจอ เลยรู้สึกว่าใช้ไม่ค่อยสะดวกเท่าไหร่ แต่สุดท้ายก็ได้โปรแกรม TwoFingerScroll มาช่วยในส่วนนี้ได้ นอกจากนี้ ตัวคีย์บอร์ดยังมีลักษณะที่ไม่คุ้นอีกอย่างคือ ด้านซ้าย ปุ่ม Shift จะมาอยู่ติดกับปุ่ม “ฝ” หรือ “/” และมีขนาดเล็ก ทำให้กดพลาดไปโดนปุ่ม “ลูกศรขึ้น” บ่อย แต่ก็แลกมาด้วยปุ่ม Fn ปุ่มที่สอง (ซึ่งเรากด Fn บ่อยขนาดต้องมีสองปุ่มเชียวหรือ!)
มาที่ด้านซอฟต์แวร์กันบ้าง เริ่มจาก BIOS ที่แทบจะไม่มีอะไรให้ปรับ ตามสไตล์โน้ตบุ๊กทั่วไป (ไม่รู้ว่าจะงกอะไรกันนักหนา) เปิดเครื่องมาครั้งแรก ก็จะพบหน้าต่างให้ตั้งค่าภาษา/เวลาของเครื่อง เมื่อตั้งค่าต่างๆ ของระบบเรียบร้อยแล้ว เราก็จะเห็นหน้าตาของ Windows 7 Starter Edition อย่าง(เกือบ)สวยงาม
โปรแกรมที่แถมมากับเครื่อง ก็จะมีโปรแกรมตระกูล Vaio ได้แก่ Vaio Gate (เมนูด้านบนที่เห็นในรูปข้างบน), Vaio Control Center (เอาไว้ใช้ตั้งค่าต่างๆ ของระบบ) และ Vaio Care (โปรแกรมวิเคราะห์และกู้คืนระบบ กดปุ่ม Assist ก็จะเป็นการเรียกโปรแกรมนี้ขึ้นมา), โปรแกรม PMB (Picture Motion Browser - ไว้ใช้จัดการมีเดียต่างๆ ในเครื่อง คล้ายๆ Picasa), โปรแกรม PlayStation Tool (ใช้ควบคุมเครื่องเล่น PlayStation / โทรทัศน์ Bravia หรืออุปกรณ์อื่นๆ ของโซนี่) และ utility อื่นๆ ของระบบ (เช่น โปรแกรมจัดการ wireless, โปรแกรมจัดการเว็บแคม ฯลฯ, ส่วนโปรแกรม trial ไม่ขอพูดถึงครับ)
โดยส่วนตัวแล้ว ผมเห็นว่าโปรแกรมที่แถมมากับเครื่องมักจะไม่ได้ใช้กันเท่าไหร่ (จึงขอละไว้ ไม่พูดถึง) แต่มีอยู่โปรแกรมนึง ที่โดดเด่นมากสำหรับผม คือ Microsoft Office 2010 Starter Edition อธิบายง่ายๆ ก็คือ โปรแกรม Microsoft Office รุ่นใช้ฟรีแบบแถมโฆษณา โดยจะมี Word และ Excel มาให้ (เป็นแบบ Click-to-Run) พร้อมกับ PowerPoint Viewer (โหลดแยก – เข้าใจว่าตัว viewer มันฟรีอยู่แล้ว) ซึ่งเท่าที่ผมใช้งาน ก็คิดว่า น่าจะเพียงพอในระดับผู้ใช้ทั่วๆ ไปตามบ้าน หรือนักเรียนที่ทำรายงานแล้วครับ ซึ่งถ้าไม่นับระบบออนไลน์กับการทำงานร่วมกันของ Google Docs แล้ว Office Starter ก็เป็นตัวเลือกที่ดีกว่ามากครับ
จะเห็นได้ว่าแถบเมนูริบบอนจะมีน้อยๆ ไม่เท่ากับรุ่นเต็ม
หมายเหตุ: Starter Edition เหมาะกับใช้งานง่ายๆ มากๆ เช่น จดบันทึกข้อมูล บัญชีครัวเรือน อะไรทำนองนี้, ในระดับนักศึกษามหาวิทยาลัยผมว่าก็อาจจะไม่เหมาะด้วยซ้ำ เพราะสิ่งที่สำคัญบางอย่างขาดไป เช่น การพิมพ์สมการไม่ได้, ไม่มี What-If Analysis อาจทำให้นักเรียนเมคผลแล็บได้ยากขึ้น Y-Y.. เอ่อ หมายถึง วิเคราะห์ข้อมูลได้ยากขึ้นนะครับ :D ส่วนคุณสมบัติอื่นๆ เช่น track change, macro, reference, pivot อันนี้ก็ไม่ต้องหวังครับ ถ้าจะต้องใช้ ก็ไปซื้อรุ่นโปรหรือรุ่นนักเรียนเถอะครับ :p
กลับมาในเรื่องระบบปฏิบัติการ Windows 7 Starter Edition กันครับ ครั้งแรกที่ผมเห็นตารางเปรียบเทียบคุณสมบัติของรุ่น (edition) ต่างๆ ของ Windows 7 ก็คิดไปเลยว่า Starter นั้น มันจะพอใช้จริงๆ หรือ? หลังจากลองใช้มาได้ซักพักหนึ่ง ก็พบว่า มันเพียงพออยู่ในระดับนึงเลยครับ สิ่งที่สังเกตได้ว่ามันขาดไป แล้วมีผลจริงๆ สำหรับผมคือ
คิดว่ารูปลักษณ์และโปรแกรมที่มากับเครื่องน่าจะเพียงพอแล้ว มาต่อกันที่ประสิทธิภาพของเครื่องกันดีกว่าครับ เครื่องที่พกพาได้สะดวกๆ อย่างนี้ หลายคนคงสงสัยอยากรู้ว่ามันทำอะไรได้บ้าง หนังได้ไหม เล่นเกมเป็นอย่างไร
เริ่มจากหน้าจอ ขนาด 11.6” ความละเอียด 1366x768 ถือว่าพอเหมาะพอดีกันครับ ทำงานเอกสารได้สบายๆ ผมเปิด MS Word ที่มีแถบโฆษณาข้างๆ ก็ไม่ได้รู้สึกรำคาญ หรือเกะกะ เบียดบังอะไร, เขียนโปรแกรมได้ตามปกติ (ถ้าไม่ได้ใช้ IDE ที่กินเนื้อที่เยอะอย่าง Visual Studio อะไรทำนองนั้น) ความสว่างปรับได้ 8 ระดับ ซึ่งในการทำงานภายในอาคาร ระดับ 3-4 ก็เพียงพอแล้ว สีสันสำหรับผมก็อยู่ในเกณฑ์ดี ดูหนัง ดูรูปได้สบาย แต่ถ้าจะเอามาใช้งานที่เน้นเรื่องสี คงต้องตรวจสอบรายละเอียดจากที่อื่นๆ กันเอานะครับ
ตัวฮาร์ดดิสก์ขนาด 320 GB/5400 RPM ถือว่าไม่มากไม่น้อย พอดีๆ กับเครื่องขนาดนี้ ซึ่งหากต้องการพื้นที่เพิ่ม ก็ต้องใช้ external harddisk เอา แต่อย่าลืมว่า เครื่องรุ่นนี้ ต่อได้เพียง USB 2.0 นะครับ ไม่มี 3.0 หรือ eSATA มาให้ ความเร็วของฮาร์ดดิสก์ในการใช้งานทั่วไปก็เพียงพอครับ จะเริ่มมีผลก็เมื่อใช้งานโปรแกรมที่กินหน่วยความจำมากๆ เพราะระบบปฏิบัติการใช้แรมได้แค่ 2GB ทำให้มีการใช้ page file ค่อนข้างบ่อยครับ
ในเครื่องตั้งต้น จะใส่แรมมาให้ 1 แผง 2GB ใช้ได้จริง 1.6GB (ที่เหลือคือแชร์ให้การ์ดจอ) น้อยนิดมาก
WEI ได้แค่ 3.7 ครับ ที่ต่ำสุดคือ CPU ครับ
สำหรับเรื่องการชมภาพยนตร์ ถ้าดูตามความละเอียดของจอภาพ การเล่นไฟล์ภาพยนตร์ขนาด 720p ไม่มีปัญหาใดๆ เลย ลื่น สบาย แต่หากจะต่อจอภาพนอก หรือไม่อยากแปลงไฟล์ 1080p ที่มีอยู่ แล้วเอามาเล่นในเครื่องนี้หล่ะก็จะเริ่มมีปัญหาครับ ไม่ได้อยู่ที่ฮาร์ดแวร์ แต่เป็นซอฟต์แวร์ อย่างที่เกริ่นไว้ตอนต้นว่า E-350 นั้น พลังการประมวลผลของ CPU ค่อนข้างต่ำ ซึ่งถ้า codec ที่ใช้ ไม่สามารถเข้าถึงพลังของ GPU ได้อย่างเต็มที่ ก็จะไม่สามารถเล่นไฟล์ 1080p ได้อย่างราบลื่นครับ จากการทดลองเล่นไฟล์ MKV (H264/DTS) บิตเรทเฉลี่ยประมาณ 9Mbps ด้วย MPC-HC (EVR) / VLC (GPU Accelerated) / XBMC (DXVA) ผลออกมาก็ลื่นดี เต็ม 24fps ครับ แต่พอลองใช้ CoreAVC เล่นด้วย WMP กลับกระตุก และได้ framerate ไม่เกิน 10 อย่างไรก็ตาม ทั้ง MPC-HC และ VLC ก็จะมีปัญหาหน่วงเล็กน้อยเมื่อทำการ seek (แต่เวลาดูหนัง ใครจะ seek บ่อยๆ??) ส่วน XBMC ก็สามารถ Fast Forward 32X ได้สบายๆ ครับ
สำหรับการต่อจอภาพ เครื่องรุ่นนี้มีมาให้ทั้ง VGA และ HDMI ซึ่งผมก็ได้ทดสอบผ่านพอร์ต HDMI แล้ว พบว่าทั้งภาพทั้งเสียงออกครบสมบูรณ์ และเมื่อต่อจอภาพ ตัวโปรแกรม Vaio Control Center ก็จะเด้งขึ้นมาให้เราเลือกความละเอียดของจอภาพ 720, 768 หรือ 1080 ตามจอที่เรามี ดังนั้น ผมขอสรุปว่า YB เครื่องนี้ เล่นไฟล์ภาพยนตร์ 1080p (H264) ได้อย่างไม่มีปัญหา และต่อออกจอภาพ/ทีวีได้สมบูรณ์ครับ (ถ้าเลือกซอฟต์แวร์ถูก)
ส่วนการดูวิดิโอใน youtube นั้น ผมทดสอบโดย Chrome/Flash พบว่าที่ 720 ลื่นไม่มีปัญหา แต่ที่ 1080 มีกระตุกเป็นพักๆ เมื่อเปลี่ยนเป็น Chrome/HTML5 ที่ 1080 ก็ลดความกระตุกลงจนแทบไม่มี จะสังเกตเห็นได้เพียงแต่อาการ tearing (ภาพฉีกในแนวตั้ง) เล็กน้อยเท่านั้น จึงขอสรุปว่าเป็นที่ Flash เองครับ :D
ด้านการเล่นเกม คงต้องบอกว่า หากจะลงทุนเครื่องนี้มาเพื่อเล่นเกม คุณผิดหวังแน่นอนครับ แต่ถ้าหาก เอาไว้เล่นยามว่างๆ แก้เซ็งเป็นพักๆ ก็พอจะได้อยู่ ผมลองทดสอบดูเล็กน้อย ได้ผลดังนี้ครับ
แบตเตอรี่ของเครื่องรุ่นนี้ ขนาด 38Wh ส่วน adapter ขนาด 19.5 VDC 2A จากการลองใช้งานเมื่อชาร์จเต็ม แล้วดึงปลั๊กออก โดยใช้งานทั่วๆ ไป พิมพ์เอกสาร (เขียนรีวิวอันนี้), เล่นอินเทอร์เน็ต, หาข้อมูล, เล่นไฟล์หนังบ้างเล็กน้อย, ปรับโหมดเป็น balance, ความสว่างหน้าจอประมาณ 40-60%, เดินไปหาของกินบ้าง เข้าห้องน้ำบ้าง, เสียบเมาส์หนึ่งอัน จะอยู่ได้ประมาณ 3 ชั่วโมงเศษๆ (ไฟกระพริบเตือนที่สามชั่วโมงพอดี) ซึ่งผมก็คาดการณ์ว่า ถ้าปรับใช้พลังงานเต็มที่ น่าจะอยู่ที่ประมาณ 2 ชั่วโมง, ส่วนถ้าเซฟสุดๆ ก็น่าจะเกิน 4 ชั่วโมงได้สบายๆ
ภาพด้านล่างนี้คือขณะที่มีการเตือนครั้งสุดท้าย ซึ่งถ้าเรายังไม่เสียบปลั๊ก อีกไม่กี่นาที เครื่องจะ hibernate ตัวเองครับ
ด้านใน หลังจากเปิดฝาด้านล่างเพื่อเพิ่มแรมไปอีก 1 แผง (2GB)
ใส่ได้ทั้งหมด 2 แผง, ด้านซ้าย คือตัว harddisk ถูกคลุมปิดเอาไว้ (ถ้าสังเกต จะเห็นว่ามีสติกเกอร์ Windows License สีแดงๆ แปะอยู่ด้วยครับ)
ถามว่า Windows 7 Starter เห็นแรมแค่ 2 GB แล้วผมจะใส่เพิ่มทำไม? เนื่องมาจากว่า ผมทดลองดูแล้ว เมื่อใส่แรมเพิ่ม การ์ดจอจะไปใช้แรมในส่วนเกินนี้ครับ ทำให้ผมได้คืนมาสามร้อยกว่าเมก นอกจากนี้ เวลาผมใช้ระบบปฏิบัติการณ์อื่นๆ หรือเมื่อจะอัพเกรต Windows จะได้ไม่ต้องไปหามาใส่เพิ่มอีกครับ
ส่วนการติดตั้งระบบปฏิบัติการอื่นๆ ผมลอง Ubuntu “Natty” 11.04 ดู ขั้นตอนการติดตั้งยุ่งยากพอควร เนื่องจากผมหาทางตั้งให้เครื่องบูตผ่าน SD card ไม่ได้ (ลองกดตั้งแต่ F1 ยัน F12 ไม่ขึ้น boot menu เลย) แต่เมื่อติดตั้งเรียบร้อย ก็สามารถใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ได้ครบ แต่การเล่นไฟล์วิดิโอ ยังทำได้ไม่ดีนัก มีการกระตุกอยู่ที่ความละเอียด 1080 และเมื่อผมพยายามมั่วๆ ยำๆ จนเละ มันก็เปิด GUI ไม่ขึ้นไปแล้ว -*-
เอาเป็นว่า หากมีโอกาส เมื่อ Natty ออกตัวจริงมา แล้วผมจะมาเขียนเล่าให้ฟังอีกครั้งแล้วกันครับ ;)
ภาพในรีวิว สามารถดูได้จาก flickr นะครับ