เหตุผลที่ทำไมสาย Thunderbolt ถึงฝังชิป

by e.p.
1 July 2011 - 15:14

บทความสั้นนะครับ จากข่าว "เหตุผลที่ทำไมสาย Thunderbolt ของแอปเปิลถึงแพง" ที่บอกว่าแพงเพราะว่าฝังชิป คำถามถัดมาก็คือ ทำไมถึงได้ฝังชิปลงไปในสายทำให้สายแพง ไม่ฝังไปในตัวเครื่องเสียให้จบ เรามาลองดูกันว่ามีความจำเป็นหรือประโยชน์อะไรที่ทำแบบนั้น

Thunderbolt หรือที่มีรหัสเรียกว่า Light Peak นั้นเป็นความร่วมมือของ Apple และ Intel โดยนอกเหนือจากจุดเด่นที่มักพูดถึงกันก็คือความเร็วในระดับ 10 Gbps นั้นมันยังรองรับสายได้ทั้งสายไฟฟ้าและสายใยแก้วนำแสง

อะไรที่ทำให้มันสามารถรองรับสายได้ทั้งสองแบบ? คำตอบก็คือการใช้ตัวแปลงสัญญาณ (transceiver, ตัวอย่างก็คือชิป GN2033 ที่พูดถึงกัน) ที่ปลายของสายสัญญาณแทนที่จะฝังไว้ในตัวเครื่อง ทีนี้ถ้าอยากจะใช้สายใยแก้วที่ส่งได้ระยะทางไกลกว่าก็ไม่ยากแล้ว เปลี่ยนตัวแปลงสัญญาณทั้งสองฝั่งก็เรียบร้อย ตัวเครื่องไม่ต้องแก้ไขอะไรเลย คนออกแบบฉลาดไหมครับ?

ลองนึกถึง Ethernet ที่มีช่องต่อแบบ AUI แล้วเราก็เปลี่ยนชนิดสายได้ด้วยการเปลี่ยน MAU ดูแล้วจะถึงบางอ้อทันที

แต่ถ้าใครถึงบางอ้อในทันที แปลว่ามีอายุแล้ว...

หมายเหตุ: ที่เขียนมานี่ผมสรุปเอาเองจากข้อมูลสั้นๆ ของ Intel นะครับ เค้าไม่ได้เขียนตรงๆ แบบนั้น โปรดอ่านด้วยความระมัดระวัง

Blognone Jobs Premium