ตอนนี้สถานะของกูเกิลในประเทศไทยคือ เปิดสำนักงานในประเทศไทยแล้ว โดยมีคุณอริยะ พนมยงค์ อดีตผู้บริหารในกลุ่มทรูมารับตำแหน่งผู้จัดการประจำประเทศไทย ซึ่งผมก็มีโอกาสได้สัมภาษณ์คุณอริยะ พร้อมทั้งถามคำถามหลายๆ ข้อที่เปิดให้สมาชิก Blognone ฝากคำถามเข้ามา
หลังจากนั่งถอดเทปอยู่พักใหญ่ ตอนนี้บทสัมภาษณ์เสร็จเรียบร้อย เชิญอ่านกันได้เลยครับ
ก่อนหน้านี้ ผมอยู่กับ TRUE มาตลอด อยู่ตั้งแต่เป็น Orange แล้วกลายมาเป็น TRUE MOVE ย้ายมาหลายฝ่าย แต่สิ่งที่ผมดูเป็นหลักคือเรื่องมือถือ ดูเรื่องกลยุทธ convergence ล่าสุดมาดูเรื่องสมาร์ทโฟน iPhone Android BlackBerry
แต่ประมาณต้นปีนี้ กูเกิลติดต่อเข้ามา ก็เลยเริ่มคุยดู ผมคิดว่าใครที่อยู่ในวงการเทคโนโลยีคงคิดเหมือนกันนะว่ากูเกิลเป็นบริษัทที่ทุกคนอยากทำงานด้วย กูเกิลเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิตของคนค่อนข้างเยอะ นั่นคือหนึ่งในเหตุผลที่ผมอยากมาอยู่กูเกิล มันเป็นความท้าทายใหม่ในการปักธงที่เมืองไทย
ทำทุกอย่างครับที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย ตั้งแต่เรื่องการตลาด การขาย โอเปอเรชัน ช่วงนี้ต้องทำค่อนข้างเยอะ
สิ่งที่ผมบอกได้เลยคือช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมานี้ ทีมงานของกูเกิลที่มาจากเมืองนอกบินเข้ามาค่อนข้างเยอะ นี่เป็นสัญญาณที่ดี เพราะแสดงว่าประเทศไทยอยู่ใน priority ของหลายๆ ทีมในกูเกิล เราจึงเห็นหลายทีมอยากรู้ อยากมาค้นข้อมูล อยากมาทดสอบบริการใหม่ที่เมืองไทย หน้าที่ของเราภายในบริษัทจึงต้องพีอาร์ประเทศไทยให้ทีมภายในกูเกิลรู้จักด้วย
กลับมาที่หน้าที่การงาน ประเด็นหลักคือการขยายธุรกิจของกูเกิลในเมืองไทย ซึ่งเกี่ยวกับโฆษณาเป็นหลัก แต่ก็แยกย่อยได้หลายกลุ่ม
ส่วนของ B2C ผู้ใช้จะจับต้องได้เยอะเพราะใกล้ตัว ที่ทำไปแล้วก็ได้แก่ Chrome, Street View ที่เพิ่งเปิดตัว ผลิตภัณฑ์อย่างอื่นเดี๋ยวจะเข้ามาอีกเรื่อยๆ และจะปรับให้เข้ากับคนไทยโดยเฉพาะ
ในส่วนของ B2B หรือธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการ โจทย์คือทำอย่างไรให้ตลาดตรงนี้เกิด ทำอย่างไรธุรกิจไทยจึงจะเข้าสู่โลกออนไลน์มากขึ้น และประสบความสำเร็จ ตอนนี้คนที่เข้าถึงข้อมูล สินค้า บริการ ในโลกออนไลน์มีเยอะมาก สิ่งที่ยังขาดคือฝั่ง supply หรือผู้ประกอบการที่จะนำเสนอสินค้าหรือบริการของตัวเองมายังผู้บริโภค ยังต้องทำอีกเยอะ
ค่อนข้างหลากหลาย เราจะเน้นกลุ่มธุรกิจที่ค่อนข้างใหญ่ มีลูกค้าอยู่ทุกอุตสาหกรรม
ส่วนวิธีการซื้อโฆษณาก็มีทุกรูปแบบ กลุ่มที่เป็น mass หรือ SME ขนาดเล็ก พวกนี้เค้าติดต่อเอง ซื้อโฆษณาเองได้ แต่ในเวลาเดียวกัน องค์กรขนาดใหญ่ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ จะคุยผ่านเอเยนซี่
นอกจากนี้การขายโฆษณาของเรายังมี call center ที่เป็นคนไทย เพื่อลูกค้าคนไทยที่มีคำถามนอกเหนือจากในเว็บ ซึ่ง call center จะช่วยแนะนำการซื้อโฆษณาให้ได้ เช่น วิธีการเลือกคีย์เวิร์ด วิธีการเขียนคำโฆษณา จริงๆ แล้ว call center ของไทยใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีคนประมาณ 10-20 คน
โอกาสทางธุรกิจ ดูได้เลยจากจำนวนการ search ในเมืองไทยที่มีเยอะมาก
ข้อมูลตรงนี้มีค่ามาก เดิมทีตอนอยู่บริษัทเก่า เวลาผมจะออกสินค้าหรือบริการอะไร ผมก็ต้องทดสอบตลาด ทำ market research หรือดูฟีดแบ็คจากผู้บริโภค แต่พอเป็นโลกออนไลน์มันกลับกันเลย ผู้บริโภคจะบอกว่าเขาอยากได้อะไร โดยที่เราไม่ต้องทำอะไรเลย ทุกครั้งที่ลูกค้า search เราดูได้ว่าลูกค้าต้องการอะไรอยู่
ถ้าเจ้าของธุรกิจเข้าใจเรื่องนี้ เข้าใจว่าลูกค้าต้องการอะไร ก็สามารถนำเสนอบริการของเราได้ทันที
อัตราการใช้อินเทอร์เน็ตของคนไทยมากขึ้นเรื่อยๆ ตอนนี้ 25 ล้าน สมัยผมเริ่มทำงานใหม่ๆ ยังเป็นตัวเลขหลักเดียวอยู่ ตอนนี้เป็นสัดส่วนหนึ่งในสามของคนไทยแล้ว แถมจังหวะ 2-3 ปีหลังมันเพิ่มเร็วมาก
การใช้อินเทอร์เน็ตแบบมีสายนั้นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อยู่แล้ว แต่อินเทอร์เน็ตผ่านมือถือกำลังมาแรงมากในบ้านเรา สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต โน้ตบุ๊ก แล้วยังจะมี 3G ตามมาอีก เป็นปัจจัยหนุนอีก
ผมเชื่อว่าตอนนี้มีหลายๆ คนที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตครั้งแรกผ่านมือถือ ไม่ใช้เข้าผ่านคอมพิวเตอร์ด้วยซ้ำ
วงการไอทีเวลาเปลี่ยนนี่เปลี่ยนเร็วมาก ผู้บริโภคคนไทยสมัยก่อนนี่บอกได้เลยว่า price sensitive ราคามาก่อน แต่พอยุคสมาร์ทโฟนมาปั๊บ รูปแบบของอุปกรณ์มันดูต่างไปจากเดิม หน้าตาดูสวย ดูเท่ คนเอเชียชอบ คอนซูเมอร์ชอบ ใช้ง่าย ต่อเน็ตได้ สมาร์ทโฟนตอบโจทย์พวกนี้ทั้งหมด สิ่งที่เกิดขึ้นขึ้นพฤติกรรมการใช้ data package ของคนไทยเยอะถึงขนาดว่าเยอะกว่าในสหรัฐ มันเปลี่ยนไปจากไม่นานมานี้ที่คนยังสนใจเรื่องราคาค่าโทรเพียงอย่างเดียว จู่ๆ กลายมาเป็น heavy data user แล้ว
จากสถิติที่เรามี จำนวนการ search ผ่านมือถือของคนไทย สูงกว่าประเทศเจริญแล้วหลายๆ แห่งด้วยซ้ำ
ยุทธศาสตร์หลักย่อมเป็น Android แต่เราก็ยังไม่ทิ้งฟีเจอร์โฟน ที่ยังเป็นประชากรส่วนใหญ่ ในบ้านเราก็ประมาณ 70-80% ของมือถือทั้งหมด
หน้าที่ของเราคือทำอย่างไรให้ทุกคนใช้บริการของเราได้ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน ฟีเจอร์โฟน ต้องได้หมด
แน่นอนว่าสมาร์ทโฟนมันจะดูเซ็กซี่กว่า แต่ฟีเจอร์โฟนจะเป็นช่องทางเบสิคหน่อย เช่น SMS ตัวอย่างบริการของเราบนฟีเจอร์โฟนก็อย่างเช่น การทำแคมเปญร่วมกับโอเปอเรเตอร์ โปรโมทการเช็ค Gmail ผ่าน SMS
ส่วนของ Android นี่เรายังไม่มีตัวเลขของประเทศไทยโดยตรง มีแต่ตัวเลขรวมของสำนักงานใหญ่ มากกว่า 500,000 activation ต่อวัน แต่โดยรวมแล้ว อัตราการเติบโตของเมืองไทยจะช้ากว่าต่างประเทศอยู่นิดนึง ปีที่แล้วคนยังงงๆ ว่ามันคืออะไร แต่ช่วงหลังนี่เราเริ่มเห็น Android เริ่มมาแล้ว คนรู้จักแล้ว แอพก็เยอะขึ้น อีกเดี๋ยวก็คงมา
ผมมีความเชื่อส่วนตัวว่า เรากำลังจะเข้าสู่ยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงอีกรอบนึง เดิมทีโลกอินเทอร์เน็ตกับมือถือมันแยกกัน แต่ตอนนี้มันรวมกันแล้ว คอนเทนต์บนอินเทอร์เน็ตมันกลายรูปมาเป็นแอพพลิเคชัน ทำให้คนใช้ง่ายขึ้น ผมเชื่อว่ามันจะเปลี่ยนไปอีกขั้น
เรื่อง Android Market นโยบายของกูเกิลต้องการขยายจำนวนประเทศให้มากที่สุดอยู่แล้ว เราก็อยากทำ ขอให้อดใจรอแล้วกัน
เรื่อง carrier billing ยังตอบไม่ได้ ตอนนี้ภายในยังคุยกันอยู่ว่าจะทำได้แค่ไหน ทำได้เมื่อไร
พอเราพูดถึงพวก Maps หรือ Places พวกนี้ต้องเริ่มจากผู้ประกอบการ ว่ามีตัวตนบนอินเทอร์เน็ต เพราะไม่อย่างนั้นเราไม่รู้ว่าจะเอา places จากที่ไหนมาใส่ โจทย์คือทำอย่างไรให้ผู้ประกอบการมาอยู่บนอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะช่วยให้ข้อมูลใน Maps หรือ Places ตามมาเอง
โครงการ Go Online เป็นความพยายามหนึ่งของเราในการผลักดันธุรกิจขนาดเล็ก (SME) ให้ขึ้นมาอยู่บนอินเทอร์เน็ต ในขณะเดียวกันอย่าคิดว่าธุรกิจใหญ่ๆ จะมีบนอินเทอร์เน็ตหมดแล้ว ยังมีอีกหลายแห่งที่ยังไม่ได้เข้ามา
โครงการนี้ประสบความสำเร็จมาก ตัวเลขล่าสุดคือ 30,000 ราย เกินความคาดหมายของเรามาก โครงการนี้เราเปิดตัวที่เมืองไทยเป็นที่แรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และตอนนี้กูเกิลประเทศอื่นๆ เพื่อนบ้านแถวนี้ ทุกคนมาถามเราว่าทำยังไงจึงประสบความสำเร็จขนาดนี้ อันนี้ต้องขอบคุณพาร์ทเนอร์ของเราที่ช่วยกัน เพราะกูเกิลคนเดียวคงไม่มีทางทำได้ขนาดนี้
หมายเหตุ: คำถามนี้คุณเอมี่ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ของกูเกิลแจ้งว่า คนที่เป็นเจ้าของสถานที่ใน Maps สามารถแก้ไขข้อมูลได้เอง ซึ่งผมก็บอกไปว่ามันจะมีกรณีที่ข้อมูลสถานที่สาธารณะผิดอยู่ด้วย เช่น ข้อมูลถนนผิด ซึ่งแจ้งผ่านหน้าเว็บไปแล้วไม่รู้ว่าจะถึงหรือเปล่า ทางกูเกิลจึงรับไปว่าจะหาวิธีการรับแจ้งข้อมูลผิดที่ดีกว่านี้
ผลตอบรับดี จำนวนผู้ใช้เพิ่มขึ้น
เราออกโฆษณาไปเพื่อแสดงให้เห็นว่า Chrome ใช้งานง่าย เร็ว ปลอดภัย สามารถใช้ Instant Search ได้ มี Extension ให้เลือกเยอะ สร้างประสบการณ์ที่ดีแก่ผู้ใช้มากขึ้น
เหตุผลที่เลือกโฆษณา Chrome ทางทีวีเพื่อสื่อสารกับคนที่ยังเข้าไม่ถึงอินเทอร์เน็ต เพราะการโฆษณาบนอินเทอร์เน็ตจะไม่สามารถสื่อไปถึงคนกลุ่มนี้ นี่เป็นครั้งแรกที่กูเกิลตัดสินใจโฆษณาผ่านทีวี เข้าถึงกลุ่มที่เป็นแมส เป็นสื่อที่เข้าถึงคนมากที่สุดในเมืองไทย
จริงๆ นอกจากทีวีแล้ว เรายังมีกิจกรรมอื่นๆ ที่เป็นออฟไลน์เพื่อประชาสัมพันธ์ Chrome ด้วย กลยุทธด้านสื่อของเรามองเป็นองค์รวมมากกว่า
ส่วนผลิตภัณฑ์อื่น ตอบได้เลยว่ามีแน่นอน เพราะเมืองไทยตอนนี้เป็น priority หลักของผลิตภัณฑ์หลายตัว อย่างที่บอกไปแล้ว
ตอนนี้มีญี่ปุ่นประเทศเดียวที่ทำตลาด แต่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็คงจะตามมาในอนาคต ซึ่งเมืองไทยก็ถือเป็นประเทศใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่แล้ว ก็หวังว่าจะได้เร็วๆ นี้
ส่วนปัจจัยในการเลือกว่าจะทำตลาดในประเทศไหนก่อน คงขึ้นกับปัจจัยเรื่องอัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตด้วย
เรื่องนี้มีผลต่อการทำธุรกิจโฆษณาของเรามาก ซึ่งเราก็มีกองทัพวิศวกรที่คอยตรวจจับกลุ่มคนที่สร้างสแปมในผลการค้นหาอยู่แล้ว และคอยพัฒนาอัลกอริทึมในการจับสแปมอยู่ตลอด
ตอนนี้มีวิศวกรคนไทยอยู่ที่เซี่ยงไฮ้ คอยพัฒนาเรื่องอัลกอริทึมสำหรับภาษาไทยโดยเฉพาะ ทำงานเรื่องนี้ฟูลไทม์
ปัญหานี้เรารู้เป็นอย่างดีครับ (หัวเราะ) เพราะเรื่องพวกนี้มีผลกระทบต่อลูกค้าของเรา ลูกค้าเสียผลประโยชน์ ซึ่งมันจะมากระทบกับธุรกิจของเรา เรื่องนี้เราปล่อยให้เกิดไม่ได้
ตอนนี้เปิดให้คนทั่วไปใช้งานได้แล้ว เราก็อยากแนะนำให้คนมาทดลองใช้กันเยอะๆ สถิติยังไม่มีเพราะเพิ่งเปิด มีแต่สถิติรวมของสำนักงานใหญ่ อันนี้เราก็รู้พร้อมกับคนอื่นๆ ตื่นเช้ามาก็ อ้าว เปิดแล้วเหรอ (หัวเราะ)
ส่วนการเปิดตัวอย่างเป็นทางการในไทยมีแน่นอน รอดูได้ รับรองไม่ผิดหวัง
ในแง่ความร่วมมือกับรัฐบาล เราถือว่าเป็นพลเมืองที่ดี ก็จะให้ความร่วมมือกับทางการอยู่แล้ว
ในแง่ของการเซ็นเซอร์ เราเป็นบริษัทที่มีปรัชญาเรื่อง open access และ equal access ซึ่งให้ความสำคัญในระดับที่สูงมาก เรามองว่าเมื่อไรที่ปิดกั้นข้อมูล มันก็ขัดกับหลักการของเรา มันจะส่งผลต่อยุทธศาสตร์ที่ผลักดันให้ธุรกิจไปสู่โลกออนไลน์มากขึ้น
เรื่องเซ็นเซอร์ในประเทศไทยก็มีอยู่เรื่อยๆ เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่เราก็มีนโยบายค่อนข้างชัดเจนว่าจะทำอะไรได้หรือไม่ได้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนนี้ใน Google Transparency Report อยู่แล้ว
อันนี้ตอบได้เลยว่า ผลิตภัณฑ์ที่ยังไม่ได้เป็น local domain เช่น youtube.com ยังไม่เป็น .co.th แปลว่ายังไม่พร้อมสำหรับการให้บริการในเมืองไทย ซึ่งกรณีนี้จะครอบคลุมเรื่อง Google Apps ของประเทศไทยด้วย
วันนี้เรามีทีม engineer อยู่ในหลายประเทศ ที่เป็นคนไทยก็มีเยอะ แต่ถ้าถามว่าจะเปิดฝ่าย engineering ไหมก็คงยัง ตอนนี้สิงคโปร์ก็ยังไม่มี ใกล้ที่สุดที่มีฝ่าย engineering คือโตเกียวกับเซี่ยงไฮ้
แต่เราก็เชียร์ให้กูเกิลเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาเปิดฝ่าย engineering อยู่เหมือนกัน
ยังไม่มีแผนครับ
ข่าวสารทั่วไปก็มีในสื่อต่างๆ อยู่แล้ว ส่วนช่องทางที่เป็นของเราเองก็มี Twitter @GoogleThailand กับบล็อก Google Thailand มีอัพเดตอยู่เรื่อยๆ
ช่วงนี้กำลังตั้งออฟฟิศกันอยู่ อาจจะยังมีเรื่องยุ่งๆ อยู่บ้าง ไว้นิ่งแล้วคงเห็นความเคลื่อนไหวมากขึ้น