ช่วงหลังซัมซุงบุกตลาดโน้ตบุ๊กในบ้านเรามากขึ้นเรื่อยๆ นอกจากโน้ตบุ๊กรุ่นถูกที่เจาะตลาดล่างแล้ว ก็มีโน้ตบุ๊กตระกูล Samsung Series ออกมาจับตลาดกลางถึงบนอย่างต่อเนื่อง
ที่เคยรีวิวไปแล้วบน Blognone ก็มี Series 9 ตัวท็อป และ Series 7 ที่เน้นความแรงอีกสักหน่อย
คราวนี้เป็นคิวของ Series 5 Ultra ซึ่งเป็น ultrabook ตัวแรกของซัมซุงครับ
Series 5 Ultra เปิดตัวในเมืองไทยเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ (ทดลองจับ Samsung Series 5 Ultra รุ่น 13 และ 14 นิ้ว โดยคุณ Blltz) ตัวที่ผมได้มารีวิวเป็นรุ่น 13.3" ราคาอย่างเป็นทางการอยู่ที่ 30,900 บาท
สเปกเบื้องต้นของรุ่นนี้คือ
สำหรับรุ่น 14" จะได้จอใหญ่ขึ้น, การ์ดจอ Radeon, เพิ่มฮาร์ดดิสก์เป็น 1TB, ไดรฟ์ดีวีดี อย่างอื่นเหมือนกันหมด
ถ้า Samsung Series 7 ถูกเปรียบเทียบว่าหน้าตาเหมือน MacBook Pro ตัว Series 5 นี้คงหนีไม่พ้นการเทียบกับ MacBook Air แน่ๆ (คือมันมีส่วนที่ต่างไปบ้าง แต่โดยรวมเหมือนมาก สุดท้ายคงมี Series 9 ที่ดูแตกต่างมากที่สุด)
ขนาดของตัวเครื่องถือว่าค่อนข้างบางเมื่อเทียบกับโน้ตบุ๊กสายนี้ (ดูจากรูปมันจะไม่ค่อยบางเท่าไรนะครับ แต่ลองจับแล้วบางจริง)
พอร์ตเชื่อมต่อด้านซ้ายมือก็มีสายชาร์จ, ช่องเสียบสายแลน (บานพับเปิดได้), USB 3.0 สีฟ้า, HDMI, ไมโครโฟน-หูฟัง, Micro USB สำหรับต่อจอนอก VGA (มีหัวแปลงมาให้ในชุด)
ด้านขวามือจะมีพอร์ตน้อยกว่าหน่อย คือ USB 2.0 สองพอร์ต และช่องเสียบ SD ที่มีตัวปิดช่องมาให้
หัวแปลง Micro USB เป็น VGA มีมาให้ในกล่อง ใช้งานได้โอเคไม่มีปัญหา อาจจะแลกกับความไม่สะดวกสบายอยู่บ้างเมื่อเทียบกับโน้ตบุ๊กที่มี VGA ในตัว แต่ได้ความบางกลับคืนมาแทน
เท่าที่มีข้อมูลการดีไซน์ ฝาหลังและที่รองมือจะเป็นอลูมิเนียม จุดที่ผมติคือน้ำหนักที่ค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับหน้าตา ยกด้วยมือเดียวแล้วจะรู้สึกหนัก ตอนถือเดินไปมารู้สึกว่าหนักกว่าที่ควรจะเป็นพอสมควรสำหรับโน้ตบุ๊กสาย mobility (คือบางจริงแต่หนักเกินควร)
คีย์บอร์ดเป็นปุ่มแบบชิคเล็ตตามสมัยนิยม ปุ่มค่อนข้างตื้นกดแล้วอาจจะเมื่อยมืออยู่บ้าง แต่โดยรวมก็ใช้งานได้ดีไม่มีปัญหาอะไรจุกจิกมากนัก
ข้อด้อยของคีย์บอร์ดเท่าที่ลองใช้มา (บทความรีวิวตอนนี้ก็เขียนบน Samsung Series 5)
ลำโพงวางอยู่เหนือคีย์บอร์ด เสียงกระหึ่มดังดีมาก ถือเป็นโน้ตบุ๊กที่เสียงดังตัวหนึ่งเท่าที่เคยลองมา ดีกว่าพวกที่เอาลำโพงไปซ่อนไว้ใต้เครื่องหรือใต้คีย์บอร์ดมาก
ทัชแพดออกแบบสวนกระแสนิยมคือยังมีปุ่มแยกอยู่ (ซึ่งดีมาก) ไม่สามารถคลิกลงไปทั้งอันได้ โดยรวมใช้งานได้ดี ต่างไปจาก Series 7 ที่ทัชแพดห่วยแตกมาก
ไฟ LED indicator อยู่ตรงมุมซ้ายล่าง ขอบที่รองมือ การออกแบบนี้อาจดูยากไปสักหน่อยเพราะบางทีมือเราบังครับ
ข้อติอีกอย่างของโน้ตบุ๊กทรงแหลมๆ แบบนี้คือ ขอบล่างที่ออกแบบให้แหลมเพื่อให้ดูบางมันจะคม วางมือแล้วไม่สบายเท่ากับโน้ตบุ๊กขอบหนาๆ
เอ้อ คีย์บอร์ดของตัวนี้จะไม่มี backlight เหมือนกับ Series 7 นะครับ
อย่างแรกคือจอภาพสว่างมากถ้าเปิดสุด 8 ขีด (ตามสเปกบอก 300 nit) ในการใช้งานปกติผมใช้ 6 ขีดในห้องสว่าง และ 5 ขีดในห้องมืดครับ
จอเป็น anti-glare ลดแสงสะท้อนได้สมราคาคุย (จอกระจกควรหมดไปจากโลกได้แล้ว!) แต่ที่เป็นปัญหาแบบไม่คาดคิดคือระยะระหว่างจอภาพกับคีย์บอร์ด เวลาพับหน้าจอมันติดกันเกินไป ทำให้รอยคีย์บอร์ดเปื้อนบนจอได้ง่ายมากๆ)
ส่วนปัญหาอีกอย่างคือบานพับหน้าจอกางได้ไม่เยอะนัก ทำให้การใช้งานบางท่าอาจไม่ค่อยสะดวก (เช่น วางตักแล้วงอเข่า) เพราะระดับการเอียงของจอจะไม่พอดีกับสายตา
ผมไม่ได้ทดสอบอะไรจริงจังมากนักนะครับ ดูตัวเลขจาก Windows Experience Index ไปแทนละกัน
ข้อดีอีกอย่างของโน้ตบุ๊กตัวนี้คือ ExpressCache ที่มี SSD 16GB ทำหน้าที่บัฟเฟอร์ช่วยฮาร์ดดิสก์ขนาด 500GB ด้วย ทำให้ตอบโจทย์ทั้งความจุและความเร็ว เท่าที่ลองใช้งานก็พบว่าการบูตเครื่องและการปลุกให้ตื่นนั้นรวดเร็วดีมาก (อาจจะเป็นรองพวก SSD อย่างเดียวไปบ้างแต่ไม่มีนัยยะสำคัญต่อการใช้งาน)
แบตเตอรี่ไม่ได้ทดสอบละเอียด เท่าที่ลองใช้คร่าวๆ คือเปิด Wi-Fi และตั้งความสว่างหน้าจอ 5/8 อยู่ (น่าจะเป็นรูปแบบการใช้งานของคนทั่วไป) ได้ประมาณ 4 ชั่วโมงครับ
ข้อดี
ข้อเสีย
ใครสนใจ ultrabook ก็ลองพิจารณากันดูได้ครับ