คดีประวัติศาสตร์นี้เป็นข่าวตลอดมาในรอบเดือนนี้ (นับตั้งแต่เริ่มไต่สวนกันรอบใหม่) แต่หลายเรื่องที่เป็นข่าวก็เป็นประเด็นยิบย่อยเกินไป จนหลายครั้งไม่ได้นำมาเขียนเป็นข่าวบน Blognone (เช่น ใครมาให้การที่ศาลบ้าง) ดังนั้นขอสรุปเป็นข่าวเดียวแบบรวบรัดแทนนะครับ
ก่อนอื่นต้องอธิบายก่อนว่า คดีระหว่างออราเคิลกับกูเกิลแยกการไต่สวนออกเป็น 3 ช่วง ได้แก่
คดีส่วนลิขสิทธิ์ แบ่งออกได้เป็นอีก 2 ประเด็นย่อย คือ
สำหรับประเด็นแรก คณะลูกขุนตัดสินแล้วว่า กูเกิลผิด โดยละเมิดลิขสิทธิ์โค้ดส่วนฟังก์ชัน rangeCheck() จำนวน 9 บรรทัด (จากโค้ดของ Android ทั้งหมด 15 ล้านบรรทัด) ตามข่าวเก่า คณะลูกขุนระบุ "กูเกิลละเมิดลิขสิทธิ์โค้ดจาวาแต่ไม่ได้ละเมิด API"
ผู้พิพากษา William Alsup ประเมินว่าออราเคิลสามารถเรียกค่าเสียหายจากกูเกิลตามฐานความผิด (statutory damages) ได้ไม่เกิน 150,000 ดอลลาร์เท่านั้น ในขณะที่ออราเคิลต้องการเรียกค่าเสียหายตามสัดส่วนความผิด โดยอ้างอิงจากกำไรของ Android แทน
ทนายของออราเคิลยืนยันว่าจะเลือกเส้นทางเรียกค่าเสียหายเป็นส่วนแบ่งกำไร ซึ่งประเด็นนี้จะไปตัดสินกันในการไต่สวนช่วงที่สามต่อไป
สำหรับประเด็นที่สอง คณะลูกขุนไม่สามารถตกลงกันได้ ว่ากูเกิลผิดหรือไม่ เพราะกูเกิลอ้างหลักการ fair use หรือ "การขอใช้งานอย่างเป็นธรรม" ตามกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐ ว่ากูเกิลออกแบบ API ให้เข้ากันได้กับ Java API เท่านั้น แต่โค้ดภายในกูเกิลเขียนเองหมดโดยไม่ได้ดูโค้ด Java เดิมเลย (ออราเคิลอ้างว่ากูเกิลละเมิด API 37 ตัว)
ประเด็นนี้กูเกิลเรียกร้องให้ศาลถือว่าการพิจารณาครั้งนี้ไม่ได้ข้อยุติ (mistrial) และเสนอให้ไต่สวนใหม่อีกครั้งด้วยคณะลูกขุนชุดใหม่ (ซึ่งจะมีผลให้คดียืดยาวออกไป) ซึ่งผู้พิพากษา Alsup ยังไม่ได้ตัดสินใจในประเด็นเหล่านี้
ประเด็นที่สองนี้มีความสำคัญต่อวงการซอฟต์แวร์มาก เพราะคำตัดสินของ Alsup จะเป็นตัวกำหนดว่าจริงๆ แล้ว API นั้นมีลิขสิทธิ์หรือไม่ด้วย
ถ้าหากว่าศาลตัดสินให้กูเกิลผิดในประเด็นเรื่อง API ผลกระทบจะไปอยู่ที่วงการ Java ด้วย เพราะต่อจากนี้ไปคนที่จะใช้งาน Java API จะต้องขออนุญาตจากออราเคิลก่อน
ตอนนี้การพิจารณาคดีส่วนสิทธิบัตรใกล้สิ้นสุดแล้ว และน่าจะแถลงปิดคดีได้ในวันจันทร์ที่ 14 พ.ค. นี้ (ตามเวลาสหรัฐ) โดยศาลลดจำนวนสิทธิบัตรที่เป็นเหตุมูลฟ้องลงเหลือแค่ 2 รายการเท่านั้น
ความเคลื่อนไหวของการไต่สวนแบบคร่าวๆ
ที่มา