ก่อนที่จะลงรายละเอียดข่าวนี้ก็ต้องเท้าความเกี่ยวกับแพ็คเกจที่ไมโครซอฟท์วางขาย Windows ก่อน
ปัจจุบันนี้ไมโครซอฟท์วางขาย Windows 7 กับผู้ใช้งานทั่วไปในสามรูป คือ ชุดอัพเกรด ชุด OEM สำหรับผู้ผลิตและผู้ประกอบคอมพิวเตอร์ (System Builder) และชุด FPP (หรือที่เรียก "แบบกล่อง") โดยชุด System Builder จะมีราคาถูกกว่าชุด FPP ทำให้ผู้ใช้ (end user) ซื้อไปติดตั้งลงคอมพิวเตอร์ของตน แต่ความเป็นจริงแล้วไมโครซอฟท์ห้ามผู้ใช้ติดตั้งและใช้ Windows ที่มีไลเซนส์แบบ OEM (System Builder) เอง แต่ต้องซื้อแบบกล่องมาใช้
ล่าสุด ไมโครซอฟท์ได้ปรับเปลี่ยนข้อตกลงว่าด้วยการอนุญาตสำหรับผู้ใช้ (EULA) ของ Windows 8 แบบ OEM (System Builder) โดยเรียกมันใหม่ว่า Personal Use License for System Builder (การใช้งานส่วนบุคคลสำหรับผู้ผลิตและผู้ประกอบคอมพิวเตอร์) สำหรับใจความสำคัญของ EULA นี้คือ จะอนุญาตให้ผู้ใช้สามารถซื้อ Windows ไปติดตั้งและใช้งานบนคอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่องที่ผู้ใช้ประกอบ (build) ขึ้นมาเพื่อใช้งานส่วนบุคคล หรือติดตั้งและใช้งานบนคอมพิวเตอร์เสมือน (local virtual machine) หรือบนอีกพาร์ติชันหนึ่งได้ [ผู้เขียนข่าวลง Blognone เข้าใจว่า ในที่นี้ "local virtual machine" หมายถึงคอมพิวเตอร์เสมือนที่รันอยู่บนคอมพิวเตอร์หลักของผู้ใช้เอง ไม่ใช่คอมพิวเตอร์เสมือนที่รันอยู่บนเซิร์ฟเวอร์ ส่วน "อีกพาร์ติชันหนึ่ง" หมายถึงพาร์ติชันที่ไม่ใช่ตัวที่ใช้บู๊ตเข้าสู่คอมพิวเตอร์ได้] สำหรับไลเซนส์ Personal Use License for System Builder จะมากับ Windows ที่จะได้รับการวางขายในวันที่ 26 ต.ค. เป็นต้นไป
แล้วคนที่ซื้อคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปอย่างโน้ตบุ๊กที่ไม่มี Windows มาให้ล่ะ ยังต้องซื้อแบบ FPP อยู่ต่อไป?
ที่มา: ZDNet