สืบเนื่องจากการส่งเสริมการขายวินโดวส์ 7 ในญี่ปุ่น ที่ได้เปิดตัว "มาโดเบะ นานามิ" (พากย์เสียงโดย มิซุกิ นานะ) เมื่อครั้งวินโดวส์ 7 วางจำหน่ายในญี่ปุ่น เมื่อราว 4 ปีก่อน และเป็นตัวละครที่ใช้รณรงค์ในโปรโมชั่นส่งเสริมการประกอบคอมพิวเตอร์ด้วยตัวเอง
ในเดือนนี้ทางไมโครซอฟท์ญี่ปุ่นก็ได้เปิดตัว 2 พี่น้อง "มาโดเบะ ยู" และ "มาโดเบะ ไอ" ซึ่งจะใช้เป็นแมสค๊อทคาเรคเตอร์ประจำวินโดวส์ 8 นั่นเอง (และมีความสัมพันธ์เป็นลูกพี่ลูกน้องกับ นานามิ)
มาโดเบะ ยู สาวคนพี่ ไว้ผมทรงสั้น และ มาโดเบะ ไอ ไว้ผมยาว เป็นน้องสาว
อนึ่ง การให้ชื่อตัวละครนั้น เป็นการนำเอาชื่อของวินโดวส์รุ่นต่างๆ มาพันเพี้ยนเป็นเสียงญี่ปุ่น และอาจเติมตัวอักษรเพิ่มให้อ่านฟังดูดีขึ้น เช่น มาโดเบะ (窓辺) แปลว่า ขอบหน้าต่าง, นานามิ มาจาก นานะ (七) แปลว่า เลข 7
ส่วนชื่อของ ยู และ ไอ นั้น มีคนตั้งข้อสังเกตว่า อาจจะมาจาก UI (User Interface) ก็เป็นได้
ทั้งมาโดเบะ ยู และ ไอ นั้น จะมาในรูปแบบแพ็คเกจแบบแยกคาเรคเตอร์ ฝ่ายละ 3 แบบ คือ [ชุดที่ระลึก(วัน)ออกจำหน่าย], [ชุดที่ระลึก(วัน)ออกจำหน่าย - อากิฮาบาระอีดิทชั่น] และ [ชุดที่ระลึก(วัน)ออกจำหน่าย - นิปปอนบาชิอีดิทชั่น] รวมทั้งหมด 6 แบบ และยังมีร้านที่ขายแบบรวม 32 และ 64 บิทในกล่องเดียว, และแบบขายแยกเวอร์ชั่น 32 บิต และ 64 บิต อีกด้วย
รวมๆ เข้าไปก็นับได้กว่า 12 แพ็คเกจให้เลือกกันเลยทีเดียว
รายละเอียดของแพ็คเกจ
[ชุดที่ระลึก(วัน)ออกจำหน่าย] นั้น นอกจากตัวแผ่นวินโดวส์ 8 และเมาส์สัมผัสแล้ว ยังมีแผ่นธีมแพ็ค ที่ภายในมีทั้งอีเวนท์วอยซ์เสียงคาเรคเตอร์ของชุดนั้นๆ, พิกเจอร์พาสเวิร์ดรูปคาเรคเตอร์, แผ่น และกล่องที่สกรีนลายคาเรคเตอร์นั้นๆ
( พิกเจอร์พาสเวิร์ด เป็นระบบล็อคอินใหม่ของวินโดวส์ 8 ที่ใช้การสัมผัสจุดต่างๆ บนรูป หรือภาพอิลลัส เพื่อล็อคอินเข้าใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์)
ส่วน [ชุดที่ระลึก(วัน)ออกจำหน่าย - อากิฮาบาระอีดิทชั่น] เมาส์สัมผัสจะเป็นแบบพิเศษที่มีการสกรีนลายคาเรคเตอร์ลงไปบนตัวเมาส์, ธีมแพ็คแบบพิเศษของอากิฮาบาระ และมีอีเวนท์วอยซ์พิเศษให้ด้วย
นอกจากนั้น ยังมีบางร้านยังมีของแถมพิเศษ เช่น อิลลัสเมาส์แพดให้อีกด้วย
รูปร่างหน้าตาของเธอทั้ง 2 คน อยู่ท้ายข่าว และรูปอื่นๆ ตามไปดูได้จากเว็บที่มาครับ
ที่มา - Akiba PC Hotline
จากรูปในเว็บต้นทางที่ลงไว้ บางร้านนี่ติดป้าย Sold out กันแล้วก็มี
และเว็บต้นทางยังได้กล่าวไว้ว่า คนที่ซื้อทั้ง 2 ชุดเลยก็มีเหมือนกัน...
ช่างเป็นแผนการตลาดที่ใช้กับญี่ปุ่นได้ดีอะไรเช่นนี้