เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย (FCCT) จัดอภิปรายเรื่องผลกระทบจากพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ Ann Lavin ตัวแทนจากกูเกิลระบุถึงปัญหาของพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ของไทยว่ามีปัญหาหลักคือมาตรา 15 ที่ระบุถึงความผิดของผู้ให้บริการ ทำให้ทั้งที่ประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคนี้กูเกิลสามารถเข้าไปทำธุรกิจได้ ทั้ง สิงคโปร์, มาเลเซีย, และอินโดนีเซีย
ปัญหากฎหมายที่ทำให้กูเกิลไม่เข้ามาเปิดธุรกิจ YouTube ซึ่งเปิดให้เจ้าของเนื้อหาทำเงินจากการโฆษณาที่ส่งลงบนวิดีโอได้ เป็นปัญหาที่คุณกริช ทอมมัสได้เคยระบุว่าเป็นปัญหาทางกฎหมายจนแกรมมี่ไม่ต้องการนำวิดีโอขึ้น YouTube อีกต่อไปเพราะไม่สามารถสร้างรายได้กลับเข้ามาได้
ในงานเสวนาเดียวกัน สาวตรี สุขศรีอาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดงานวิจัยพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ นับแต่ประกาศใช้มา 4 ปี 6 เดือนว่ามีคดีจากพ.ร.บ.ฉบับนี้จำนวน 325 คดี แบ่งออกเป็นคดีทางคอมพิวเตอร์จริงๆ 62 คดี และเป็นคดีที่เกี่ยวกับการโพสข้อความหมิ่นประมาทต่างๆ 215 คดี ในขณะที่การปิดเว็บด้วยคำสั่งศาล จนตอนนี้มีคำสั่งมาแล้วถึง 102,191 URL จากปีที่แล้วที่มี 81,213 URL (เฉลี่ยวันละ 57.5 URL) บางคำสั่งระบุถึง URL มากถึง 300-400 URL แต่สามารถอนุมัติได้ในวันเดียว
ข้อเสนอของอาจารย์สาวตรีมี 5 ข้อด้วยกันคือ
ที่มา - ประชาไท