ผู้อ่าน Blognone คงคุ้นชื่อ Red Hat ในฐานะผู้นำของวงการลินุกซ์ที่ได้ดิบได้ดีจนเป็นบริษัทมหาชนในตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ ของสหรัฐ ถึงแม้ว่าระยะหลัง Red Hat จะขยายธุรกิจออกมาด้านอื่นๆ นอกเหนือจากระบบปฏิบัติการเพียงอย่างเดียว แต่ภาพในใจของเราก็มักมองว่า Red Hat ทำลินุกซ์อยู่ดี
ในโอกาสที่ผู้บริหาร Red Hat มาแถลงข่าวด้านธุรกิจในประเทศไทย (พร้อมกับลูกค้าในไทยคือธนาคารกรุงศรีฯ) ผมเลยไปร่วมคุยเพื่อดูว่าตอนนี้ Red Hat ไปถึงไหนบ้างแล้ว จากบริษัทที่มีต้นกำเนิดจากลินุกซ์ ปัจจุบันทำอะไรอยู่บ้าง
คุณ Damien Wong ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคอาเซียนของ Red Hat บินจากสิงคโปร์มาแถลงข่าว
Red Hat เป็นบริษัทซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สบริษัทเดียวที่มียอดขายเกินพันล้านดอลลาร์ ปัจจุบันเน้นตลาดซอฟต์แวร์องค์กร โดยผลักดันให้ใช้ระบบไอทีกับงานระดับ mission critical
ผลิตภัณฑ์ของ Red Hat ตอนนี้ครอบคลุมทั้งฝั่งระบบไอทีภายในองค์กร และระบบไอทีบนกลุ่มเมฆ
ฝั่งระบบไอทีภายในองค์กร มีครบตั้งแต่ระบบปฏิบัติการ RHEL, สตอเรจ Red Hat Storage Server, มิดเดิลแวร์ JBoss และซอฟต์แวร์บริหารจัดการระบบ ปัจจุบัน Red Hat มีส่วนแบ่งตลาด 62% ของเซิร์ฟเวอร์ลินุกซ์ นับตามจำนวนเครื่อง และ 73% ถ้านับจากรายได้
แพลตฟอร์มกลุ่มเมฆของ Red Hat ในปัจจุบันแบ่งเป็น 3 ระดับคือ
รูปแบบการขาย OpenShift และ CloudForms คือขายโซลูชันให้กับ cloud provider อีกต่อหนึ่ง ปัจจุบันตัวอย่างลูกค้าด้านกลุ่มเมฆในไทยตอนนี้คือ TCC Technology (TCCT) ผู้ให้บริการศูนย์ข้อมูลรายใหญ่ (บริษัทในเครือไทยเบฟ)
ผลิตภัณฑ์ของ Red Hat แบ่งเป็น 5 ระดับ หรือ 5 business unit ได้แก่
Red Hat ยังไม่สนใจขยายธุรกิจไปยังระดับแอพพลิเคชันในลักษณะของ ERP หรือ CRM เน้นที่ตัวโครงสร้างพื้นฐานของระบบมากกว่า
Red Hat มองว่า CIO และแผนกไอที กำลังกลายเป็นแผนกหลักที่ขับเคลื่อนกลยุทธ์ของธุรกิจ ทิศทางของระบบไอทีองค์กรที่ตลาดกำลังให้ความสนใจมี 2 แนวทาง คือ
สำหรับตลาดประเทศไทย Red Hat จะเน้นอุตสาหกรรมที่เป็นแนวดิ่ง (vertical หรืออุตสาหกรรมที่มีแนวทางทางทำธุรกิจเฉพาะของตัวเองมากๆ) ได้แก่ การเงินการธนาคาร, โทรคมนาคม, หน่วยงานภาครัฐ ส่วนพาร์ทเนอร์ในไทยก็มีหลายระดับทั้งระดับฮาร์ดแวร์ ระดับช่องทางการขาย ระดับการขายโซลูชัน ระดับของซอฟต์แวร์องค์กร
ตลาดอาเซียนในภาพรวมก็ไปในทิศทางเดียวกันคืออุตสาหกรรม vertical โดยเน้นการขายโซลูชันไอที ไม่ใช่แค่ตัวเทคโนโลยี
คุณ Guy Deffaux รองประธานฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานไอที ธนาคารกรุงศรีอยุธยา เล่าว่าธนาคารกรุงศรีถือเป็นธนาคารขนาดใหญ่เป็นอันดับห้าของไทย พนักงาน 18,000 คน จำนวนสาขา 605 สาขา เอทีเอ็ม 4,278 ตู้ โดยรวมถือว่ามีระบบไอทีขนาดใหญ่พอสมควร
เดิมทีระบบของกรุงศรีรันบนเมนเฟรม แต่กำลังย้ายมาอยู่บนระบบเปิด ซึ่งปัจจุบันย้ายมาแล้วประมาณ 80%
ปัญหาของกรุงศรีคือมีแอพพลิเคชันองค์กรเยอะ หลากหลาย สร้างโดยนักพัฒนาหลายทีมหรือหลายบริษัท การสนับสนุนจึงยากเพราะระบบซับซ้อน ทางทีมไอทีจึงพยายามแก้ปัญหานี้ เริ่มจากการกำหนดโจทย์ 3 ข้อ
ยุทธศาสตร์ที่เลือกใช้
เดิมทีซอฟต์แวร์องค์กรยังไม่ค่อยสนับสนุน JBoss มากนักทำให้มีปัญหาอยู่บ้าง แต่ปัจจุบันซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่ใช้กับ JBoss ได้แล้ว ที่ผ่านมา JBoss เสถียรมากและยังไม่เคยมีปัญหาจากระดับมิดเดิลแวร์ (JBoss) เลย