เมื่อไม่นานมานี้ทาง EMC ประเทศไทยได้เชิญสื่อมวลชนเข้าไปพูดคุยถึงแนวทางใหม่ของดาต้าเซนเตอร์ในประเทศไทย ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงตื่นตัวและเปลี่ยนแปลงหลังจากเจอกับน้ำท่วมไปเมื่อสองปีก่อน
เท้าความจากทิศทางของเมื่อปีก่อนจะเห็นว่า EMC เองก็เล็งเห็นว่าภาคธุรกิจในประเทศไทยให้ความสำคัญกับไซต์สำรอง (DR site) ที่นอกเหนือไปจากการป้องกันภัยพิบัติ แต่มองไปถึงความต่อเนื่องของธุรกิจด้วย จากข้อมูลที่ทาง EMC นำมาให้ดูก็พบว่าจริงแล้วการที่ดาต้าเซนเตอร์ต้องหยุดทำงานนั้นมีเหตุมาจากภัยพิบัติน้อยมากๆ (ต่ำกว่า 1%) แต่สาเหตุใหญ่ๆ กลับมาจากรอบการทำงานพื้นฐานอย่างการแบ็คอัพ, อัพเกรด, ดูแลระบบ ฯลฯ ที่กินเวลาไปมากถึง 85% สูงกว่าความผิดพลาดของฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์เสียอีก
ปัญหาที่ว่ามานี้เกิดขึ้นในการใช้งานดาต้าเซนเตอร์แบบเดิมที่เราเรียกว่า Active-Passive คือใช้งานเพียงไซต์เดียว และมีอีกไซต์ไว้ยามฉุกเฉิน โดยจะอยู่ในสถานะว่าง (Idle) แนวทางของ EMC ที่มาเปลี่ยนระบบนี้คือการทำให้ดาต้าเซนเตอร์เป็นแบบ Active-Active โดยใช้งานทั้งสองไซต์พร้อมๆ กัน โดยโซลูชันของ EMC ตัวนี้ชื่อว่า VPLEX ครับ
จุดเด่นหลักของ VPLEX คือการเข้าถึงข้อมูลได้จากสองไซต์ได้ตลอดเวลา โดยข้อมูลที่เข้าดูจะเป็นชุดเดียวกันเสมอ (เพราะซิงก์กันแบบ synchronous) และเมื่อไซต์หนึ่งดาวน์ไปด้วยเหตุผลใดๆ ก็ตาม ระบบจะโยกแอพที่รันอยู่ไปยังอีกไซต์หนึ่งทันที จึงทำให้เกิด business continuity
จากภาพด้านบนจะเห็น VPLEX มีสามรุ่นย่อย อธิบายคร่าวๆ ดังนี้ครับ
EMC อธิบายว่าการเปลี่ยนมาใช้โซลูชันนี้นอกจากความต่อเนื่องทางธุรกิจแล้ว ยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของทรัพยากรในระบบให้คุ้มค่ามากขึ้น และลดความซับซ้อนในการดำเนินงาน อย่างไรก็ตามการจะเปลี่ยนมาเป็น Active-Active ได้นั้นต้องมีการลงทุนเพิ่มเติมในส่วนของโครงสร้างภายในดาต้าเซนเตอร์ ทำให้มีค่าใช้จ่ายสูง และเหมาะกับส่วนธุรกิจที่จำเป็นต้องรันได้ตลอดเวลาจริงๆ ตามตารางด้านล่างนี้ครับ
ในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมาตั้งแต่เปิดตัวโซลูชันนี้มา EMC บอกว่ามีลูกค้าในประเทศไทย (เป็นบริษัททางการเงิน) ใช้งานโซลูชันนี้ไปแล้วหนึ่งราย ส่วนของต่างประเทศที่มีเคสติดตั้งไปและเปิดเผยได้ก็มีของสนามบินมิวนิคครับ
สำหรับใครที่ยังงงๆ เรื่อง Active-Active อยู่ ลองดูวิดีโอด้านล่างประกอบไปเพื่อความเข้าใจที่มากขึ้นครับ