ME บัญชีเงินฝากในรูปแบบ Self Service Banking ของไทย

by advertorial
18 August 2013 - 16:52

หลังจากแนะนำบัญชีเงินฝากรูปแบบต่างๆ กันไปแล้ว ตอนนี้เราจะมาสำรวจกันว่าบัญชีเงินฝาก ME นั้นมีรายละเอียดต่างจากบัญชีแบบอื่นๆ อย่างไร

ธนาคารทุกวันนี้เวลาที่เราต้องทำธุรกรรมต่างๆ มักจะต้องไปที่สาขาโดยตรง ทั้งการถอนและการโอน ทุกวันนี้ที่เราเห็นตามห้างต่างๆ ก็มักจะมีธนาคารหลักๆ ไปตั้งสาขาในห้างอยู่ แม้จะสะดวกกับผู้ใช้ แต่การตั้งสาขาเหล่านี้ก็เป็นต้นทุนสำคัญของธนาคาร เช่น ค่าเช่าที่ ค่าจ้างพนักงาน ค่าน้ำ ค่าไฟ และ อื่นๆ จิปาถะอีกมากมาย แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยจะมาจากหลายปัจจัย แต่โดยรวมแล้ว ต้นทุนของสถานที่ และพนักงานที่ต้องให้บริการกับทุกคนนั้นเป็นต้นทุนสำคัญอย่างหนึ่งของทุกธนาคาร

จากรายจ่ายจิปาถะสำหรับการเปิดสาขาที่ค่อนข้างสูง ธนาคารรูปแบบให้บริการผ่านอินเทอร์เน็ตอย่างเดียว (Internet-only bank) จึงเริ่มถือกำเนิดขึ้นมาในต่างประเทศมาตั้งแต่ช่วงปี 1997 และได้รับความนิยมไปทั่วโลกอย่างรวดเร็วในต่างประเทศที่คนใช้งานบริการธนาคารผ่านอินเทอร์เน็ตกันเป็นเรื่องปกติมานานแล้ว ธนาคารที่เปิดใหม่และให้บริการผ่านอินเทอร์เน็ตอย่างเดียวเช่น ING Direct ที่แยกบริการออกจาก ING ที่เป็นกลุ่มธนาคารแบบดั้งเดิมขนาดใหญ่ และขยายบริการไปหลายประเทศ ได้แก่ แคนาดา, อังกฤษ, ออสเตรเลีย, อิตาลี, ออสเตรีย, ฝรั่งเศส, เยอรมัน, สเปน, และสหรัฐฯ (ในสหรัฐฯ ภายหลังรวมกับธนาคาร Capital One) หรือ CIT Bank นั้นได้รับความนิยมถึงกับมีเงินฝาก 5,000 ล้านดอลลาร์ในช่วงเวลาหลังเปิดให้บริการเพียง 18 เดือน หรือ

งานวิจัยตลาดธนาคารในต่างประเทศนั้นพบว่าปี 2012 มียอดเงินฝากในบัญชีธนาคารแบบออนไลน์อย่างเดียวถึง 364,000 ล้านดอลลาร์ นับเป็น 4.2% ของยอดเงินฝากทั้งหมด และกำลังเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว - Marketing Watch

ทำไมบัญชีเงินฝากออนไลน์เหล่านี้จึงได้รับความนิยมในต่างประเทศ เหตุผลคือบัญชีเหล่านี้มักให้ดอกเบี้ยสูงกว่าบัญชีที่เงื่อนไขคล้ายกัน เช่น บัญชีฝากออมทรัพย์ เช่นในสหรัฐฯ ที่บัญชีเงินฝากมีอัตราดอกเบี้ยอยู่เฉลี่ย 0.19% (Money-Rates.com วันที่ 22 กรกฎาคม 2556) แต่บัญชีเงินฝากออนไลน์นั้นกลับให้ดอกเบี้ยสูงถึง 0.8% ถึง 0.9% ขณะเดียวกันคนจำนวนมากก็ใช้งานธนาคารโดยไม่ต้องการไปสาขาอยู่แล้ว ธนาคารเหล่านี้เองในบางประเทศก็อาจจะมีสาขาเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ลูกค้าบ้าง ทำให้ลูกค้าสามารถเข้าใช้งานได้อย่างง่ายขึ้น

แม้จะต่างจากบัญชีรูปแบบเดิมๆ บัญชีออนไลน์นั้นจะมีเงื่อนไขคล้ายกัน คือ การเปิดบัญชีและการโอนเงินเข้าออกทั้งหมดจะให้บริการผ่านออนไลน์เป็นหลัก และหลังจากเราเปิดบัญชีแล้วก็แทบจะไม่ต้องเดินทางไปยังธนาคารอีกเลย

สำหรับในไทย เราก็มีการธนาคารรูปแบบใหม่อย่าง ME by TMB ที่เปิดให้บริการออนไลน์เป็นหลักเช่นเดียวกับในต่างประเทศ โดยเปิดให้บริการมาตั้งแต่ ต้นปี 2012 ซึ่งถือเป็นเจ้าแรกๆ ที่นำเอาแนวคิดธนาคารออนไลน์มาใช้ ก่อนที่จะเริ่มมีเจ้าอื่นๆ ตามมา แต่ก็ยังไม่เห็นชัดเจนเท่าไรนัก เพราะโดยมากจะเห็นเป็นการใช้งานร่วมกันระหว่างบัญชีหลัก และพ่วงออนไลน์ เพื่อความสะดวกมากกว่า ที่จะให้ผลประโยชน์กับลูกค้าจริงๆ โดยบัญชี ME นั้นเป็นเสมือนบัญชีเงินฝากเพื่อการออมที่ให้ผลตอบแทนที่สูง โดยไม่มีเงื่อนไขเวลา ไม่มีขั้นต่ำ ให้จุกจิกกวนใจ

การขอเปิดบัญชี ME ทำได้ค่อนข้างง่ายด้วยการนำเอกสารไปยัง ME Place เพื่อเปิดบัญชีได้เลยเหรือ จะลงทะเบียนผ่านทางเว็บไซต์ ME by TMB เสียก่อนก็จะช่วยประหยัดเวลาในการไปยืนยันตนได้เหมือนกัน ส่วนนี้จะต่างจากในต่างประเทศ คือ บริการของ ME by TMB นั้นเราจะต้องไปยืนยันตัวตนว่าเป็นเจ้าของบัญชีที่ธนาคารอย่างน้อยหนึ่งครั้งตอนเริ่มใช้งาน ซึ่งเป็นข้อกำหนดของธนาคารแห่งประเทศไทย

การใช้งานหลักคือเราต้องผูกบัญชี ME เข้ากับบัญชีออมทรัพย์อย่างน้อย 1 บัญชี และมากที่สุดสามารถผูกได้ถึง 3 บัญชี ซึ่งอาจจะเป็นบัญชีของธนาคารอะไรก็ได้ แต่แนะนำให้เป็นบัญชีธนาคารทหารไทยครับ เพราะค่อนข้างสะดวกในการโอนเข้า-ออกได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง แทนที่จะถูกจำกัดไว้ที่สองครั้งแถมต้องเลือก “การโอนแบบวันทำการถัดไป” เท่านั้น ในกรณีที่ผูกกับบัญชีธนาคารอื่นๆ

แม้ว่า ME by TMB จะมีสาขาที่เรียกว่า ME Place อยู่ไม่มากนักเมื่อเทียบกับธนาคารแบบดั้งเดิม แต่ธุรกรรมทั้งหมดก็สามารถทำได้ไม่ยากนัก กระบวนการฝากนั้นสามารถโอนเงินได้ตามปกติ หรือจะใช้เครื่องฝากเงินอัตโนมัติ (ADM – Auto Deposit Machine) ที่ธนาคาร TMB ทุกสาขาก็ได้เช่นกัน ส่วนกระบวนการการถอนเงินก็เป็นการโอนเงินออกจากบัญชีเข้าสู่บัญชีที่ผูกไว้ ด้วยการโอนผ่านจากทางหน้าเว็บหรือสามารถโทรหา ME Call Center 0-2502-0000 (ตลอด 24 ช.ม.) เพื่อให้โอนให้ก็ได้เพราะยังไงก็โอนเข้าบัญชีตัวเองอยู่แล้ว ดังนั้นหลังจากเปิดบัญชีแล้วก็แทบจะไม่ต้องไปสาขาอีก

นอกเหนือจากการยืนยันตัวตนตามระเบียบของธนาคารแห่งประเทศไทยแล้ว ความได้เปรียบของบัญชีออนไลน์แบบเดียวกับในต่างประเทศก็ยังอยู่ครบถ้วน ค่าธรรมเนียมของ MEจะฟรีแทบทั้งหมด โดยเฉพาะ ME ยังไม่มีขั้นต่ำของเงินในบัญชีทำให้สามารถโอนเงินเข้ามาวางไว้เท่าใดก็ได้ และถอนออกไปใช้ได้ทันทีเมื่อต้องการโดยไม่ต้องกังวลว่าหากเหลือเงินไว้น้อยแล้วจะถูกเรียกเก็บค่ารักษาบัญชีเหมือนบัญชีแบบอื่นๆ แถมยังมีบริการ SMS อัพเดทยอดเงินเข้า-ออก บริการให้ฟรีๆ ไม่คิดค่าธรรมเนียม เหมือนแบงค์ทั่วไปอีกด้วย

สำคัญที่สุดคือความต่างของอัตราดอกเบี้ยของ ME นั้นสูงกว่าดอกเบี้ยออมทรัพย์ทั่วไปถึง 5 เท่าตัว ทำให้ดอกเบี้ยปัจจุบันอยู่ที่ 3.75% ต่อปี (ถึงสิ้นเดือน สิงหาคมนี้ จากนั้นปรับเป็น 3% ต่อปี ทั้งนี้ปรับขึ้นหรือลงจะเป็นไปตามประกาศของ กนง.) โดยออมทรัพย์ทั่วไปในตลาดจะมีอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่เพียง 0.75% ต่อปี เท่านั้น ซึ่งถือว่าน้อยมาก แถมทุกวันนี้เงินเฟ้อของไทยเองก็อยู่ที่ 2.3-2.7% ต่อปี (ธนาคารแห่งประเทศไทย) หากเราได้รับดอกเบี้่ยน้อยกว่านี้ก็แสดงว่าเงินเก็บที่เราทำงานเก็บออมมากำลังลดมูลค่าลงไปเรื่อยๆ ทางเลือกที่ให้ดอกเบี้ยในระดับเงินใกล้เคียงกับเงินเฟ้อจึงเป็นทางเลือกสำหรับคนที่ยังเลือกไม่ถูกว่าจะลงทุนอะไร แต่ไม่อยากให้เงินลดค่าไปเฉยๆ

การทำธุรกรรมทางการเงินในยุคใหม่จะทำผ่านระบบออนไลน์มากขึ้นเรื่อยๆ รูปแบบบริการเช่นนี้ได้ประโยชน์ทั้งความรวดเร็วและอัตราดอกเบี้ยที่สูง เป็นเรื่องดีที่เราจะสามารถใช้บริการแบบเดียวกันในไทยได้ ลอง ME วันนี้ได้ทันทีที่เว็บ ME by TMB

Blognone Jobs Premium