คุณ @hunt แห่งเว็บ diaryis/7republic แนะนำผมมาว่ามีคนไทยที่อาศัยอยู่ในซิลิคอนวัลเลย์คนหนึ่งชื่อ
คุณเพชร วรรณิสสร (@petchw) ประวัติการทำงานน่าสนใจมากเพราะเคยฝึกงานกับบริษัทดังๆ มากมายทั้ง Google, Facebook และล่าสุดกำลังเริ่มงานกับ Twitter ผมก็เลยติดต่อขอสัมภาษณ์เพื่อเป็นกรณีตัวอย่างให้กับสมาชิก Blognone ท่านอื่นๆ ครับ
เคยฝึกงานตำแหน่ง Software Engineering Intern ที่ Facebook (2010 & 2012) และ Google (2011) ปัจจุบันเป็น Software Engineer ที่ Twitter (เริ่ม 7 ตุลา 2013)
พอดีตอนเรียนปริญญาตรีที่อเมริกา คิดว่าตอนเรียนจบแล้วอยากจะหางานทำฟูลไทม์กับบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำ อย่าง Google, Apple, Microsoft, Facebook ครับ ก็เลยคิดว่าการฝึกงานหรือการทำ internship จะช่วยสร้าง profile ที่ดีกับเราได้
ผมเริ่มฝึกงานกับบริษัท local เล็กๆ สองครั้ง ตอนช่วงปิดเทอม summer ช่วงปีสองกับปีสาม ทีนี้พอมีประสบการณ์ที่ทำมาทั้งสอง summer และประสบการณ์การสัมภาษณ์กับหลายๆ บริษัท ก็ทำให้เราได้เข้าไปฝึกงานกับ Facebook ถือเป็นบริษัทใหญ่แห่งแรก ช่วง summer ปี 2010
สำหรับการสัมภาษณ์ intern ของบริษัทใหญ่ๆ จะเป็นการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์นะครับ อาจมีบ้างเป็นบางบริษัทที่ต้องบินไปสัมภาษณ์ intern
คำถามที่เขาจะถามเราเป็นคำถามเกี่ยวกับ computer science และความรู้ programming ทั่วไป ตามที่เราใส่ไว้ในประวัติของเราครับ แล้วก็ยังมีปัญหาต่างๆ มาให้เราเขียนโค้ดโดยแก้ผ่าน online shared document เลยครับ เขาก็จะดูว่าเราเขียนโค้ดได้หรือเปล่า เราใช้ความคิด (thought process) ยังไง แล้วก็สามารถอธิบาย (communicate) ความคิดของเราได้รึเปล่า
พอมีประสบการณ์กับบริษํทชั้นนำอย่าง Facebook ปีต่อมาคือปี 2011 ก็ลองสมัคร Google ดูครับ สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์อยู่ 3-4 รอบก็ได้การตอบรับจาก Google
หน้าที่หลักคือเป็น Software Engineer ครับ
ตอนเข้าไปนี่เด็ก intern ทุกคนจะมี advisor หรือ host ประจำตัวที่คอย train และ coach เรา แต่เอาเข้าจริงแล้ว เราเข้าไปทำงานทุกอย่างแทบเหมือนเป็นพนักงานฟูลไทม์คนนึงเลย เพราะต้องรับผิดชอบโครงการที่เอาไปใช้งานได้จริง ส่วนใหญ่แล้วจะมีโครงการที่เขาเตรียมไว้ให้เด็กฝึกงานครับ แต่เราก็สามารถกำหนดทิศทางของโครงการได้เองอยู่ดี
รู้สึกดีใจและเปิดหูเปิดตามากครับกับการได้มาสัมผัสการทำงานของบริษัทระดับโลก รู้สึกเหมือนสามเดือนที่เราทำที่นึง เราเรียนรู้อะไรเยอะกว่าในห้องเรียนเยอะมาก ได้เจอปัญหาที่ต้องแก้ในชีวิตจริง และรู้สึกว่าถึงแม้จะเป็นแค่ intern คนนึง งานที่เราทำสร้าง impact ให้กับบริษัทได้เยอะมากๆ ครับ มันรู้สึกดีตรงที่งานที่เราทำมีผลต่อชีวิตของคนเป็นล้านๆ ทั่วโลก
แต่ละบริษัทมีวัฒนธรรมที่แตกต่างกันไปนะครับ
อย่าง Facebook นี่คำขวัญของเขา คือ "Move fast and break things" คือเน้นให้สร้างผลงานออกมาใหม่ๆ ด้วยความรวดเร็วแล้วไม่จำเป็นต้องสมบูรณ์ก็ได้ ให้ความรู้สึกเหมือนทำงานอยู่ใน start up
Facebook จริงๆ แล้วเป็นผู้ริเริ่มงาน Hackathon คือเขาจะเน้นให้วิศวกรคิดค้นและสร้างผลิตภัณฑ์อะไรใหม่ๆ ขึ้นมาโดยที่ไม่จำเป็นต้องสมบูรณ์แบบ แต่สามารถแสดงไอเดียของเราได้ การทำ Hackathon ทำให้วิศวกรรู้จักใช้ความคิดสร้างสรรค์ สร้างผลิตภัณฑ์ที่ Facebook ออกมาใช้จริงๆ หลายอย่างมากครับ
ส่วน Google ด้วยความที่เป็นบริษัทใหญ่ ทีมก็จะใหญ่ตามไปด้วย ผลิตภัณฑ์ที่ทำออกมาก็ต้องเนี๊ยบ โค้ดทุกอย่างต้องมี unit testting ประกอบ ทำให้บางทีกระบวนการพัฒนาอาจช้ากว่า Facebook นิดหน่อยครับ
สิ่งที่ทั้งสองบริษัทเหมือนๆ กันคือ
ถ้าเป็นไปได้ควรจะเข้าร่วมแข่งพวก programming competition ต่างๆ อย่างเช่น IOI (international olympiad in informatics) หรือ topcoder ครับ ผมเห็นเพื่อนในโครงการฝึกงานหลายคนได้มาฝึกงานจากการแข่งขันพวกนี้
บางบริษัทจะมี online programming challenges ให้ทำ เป็นปัญหาทางโปรแกรมมิ่งให้เราแก้ ถ้าแก้ได้อาจได้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ครับ หรือถ้ามีประสบการณ์การทำงานเยอะก็ลองสมัครโดยตรงทางเว็บไซต์ของเขาก็ได้ครับ
การมีผลงานแบบโอเพนซอร์สบน GitHub หรือเว็บโครงการออนไลน์อื่นๆ ก็่ช่วยได้เยอะครับ เพราะเขาจะเข้ามาดูโค้ดที่เราเขียน
การสัมภาษณ์จะเน้นความรู้ไปทาง computer science นะครับ พวก algorithm และ data structures นี่สำคัญ ควรเตรียมให้แม่น
ส่วนเรื่องคำถาม เราสามารถฝึกหาคำถามสัมภาษณ์งานได้ก่อนที่เว็บอย่าง glassdoor.com หรือว่า carreer cup ครับ ลองฝึกแก้ดูที่บ้านก่อนสัมภาษณ์จะช่วยได้เยอะครับ
นอกจากการเขียนโปรแกรมแล้ว การสื่อสารก็สำคัญครับ ควรเตรียมพูดภาษาอังกฤษพื้นฐานให้พออธิบายได้ด้วยครับ สิ่งที่สำคัญอีกอย่างนึงคือต้องไม่ยอมแพ้ง่ายๆ ครับ เพราะผมเองก็โดนปฎิเสธมาจาก Google ถึง 3-4 รอบก่อนจะได้มาฝึกที่นี่ เพราะฉะนั้น ต้องใจเย็นๆ และสมัครไปหลายๆ ที่เผื่อไว้ด้วยครับ