นักวิจัยเบลเยียมสร้างวงจรอิเลกทรอนิกส์ยืดหยุ่น

by lew
10 July 2007 - 17:38

แนวคิดเรื่องคอมพิวเตอร์สวมใส่ได้เป็นแนวคิดที่มีกันมานานแล้ว แต่ที่ผ่านมามักเป็นการนำคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กไปฝังไว้ในส่วนต่างๆ ของเสื้อผ้ากันเสียมาก แต่ในอนาคตอันใกล้ เนื้อผ้าที่เราใส่อาจจะเป็นวงจรคอมพิวเตอร์จริงๆ เมื่อกลุ่มนักวิจัยชาวเบลเยียมได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าพวกเขาสามารถสร้างวงจรไฟฟ้าที่มีความต้านทานต่ำและยังสามารถยืดหยุ่นได้กว่าเท่าตัว

ทีมนักวิจัยกลุ่มนี้มาจาก ศูนย์ Interuniversity Microelectronics และมหาวิทยาลัย Ghent ในประเทศเบลเยียมประกอบด้วย Dominique Brosteaux, Fabrice Axisa, Eva De Leersnyder, Frederick Bossuyt, Mario Gonzalez, และ Jan Vanfleteren (ชื่ออ่านยากทุกคน) ได้ร่วมกันตีพิมพ์บทความชื่อว่า Design and Fabrication of Elastic Interconnections for Stretchable Electronic Circuits ลงในวารสาร IEEE Electron Device Letters เล่มล่าสุดแสดงความสำเร็จครั้งนี้ และทางกลุ่มนักวิจัยได้สาธิตความสำเร็จด้วยการสร้างเครื่องวัดไข้แบบยืดหยุ่น โดยสามารถยืดเข้าแนบกับผิวคนไข้ได้

งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยร่วมของสามโครงการใหญ่ที่รัฐบาลเบลเยียมให้การสนับสนุนคือ โครงการ BioFlex ที่เน้นการทำวงจรอิเลกทรอนิกส์ที่อยู่ร่วมกับอวัยวะสิ่งมีชีวิตได้, โครงการ STELLA ที่สร้างอุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์แบบยืดหยุ่น, และโครงการ SWEET ที่เน้นสร้างวงจรที่ซักและยืดหยุ่นเหมือนผ้าทั่วไป

ข่าวต่อไปแอปเปิลเปิดตัว iShirt

ที่มา - PhysOrg, IEEE (ต้องเข้าจากมหาวิทยาลัย)

Blognone Jobs Premium