ก็จบลงไปอย่างสมบูรณ์เรียบร้อยแล้วครับ สำหรับการประมูลใบอนุญาตการให้บริการดิจิตอลทีวีในระบบ DVB-T2 ผ่านคลื่น ITU 700 MHz ที่มีกำหนดการประมูลที่เรียกว่าส่งท้ายปีเก่าเลยทีเดียวครับ โดยการประมูลในรอบนี้ กสทช. สามารถทำรายได้เข้าประเทศได้สูงถึง 50,862 ล้านบาทเลยทีเดียวครับ
หลังจากนี้ กสทช. จะขอตรวจสอบผลการประมูลก่อนประกาศผลอย่างเป็นทางการ และดำเนินการออกใบอนุญาตให้ต่อไปครับ ส่วนรายชื่อ "ว่าที่" ผู้ที่จะได้รับใบอนุญาตในการดำเนินการดิจิตอลทีวีนั้น คาดว่าผู้อ่านคงจะทราบกันมาก่อนแล้ว แต่ก็ขออนุญาตสรุปรายชื่ออีกทีตามข้างล่างนี้นะครับ
หมายเหตุ: เรียงลำดับ ตามอันดับผู้ที่เสนอราคาเข้ามาสูงที่สุดเป็นอันดับแรกนะครับ
หมวดช่องรายการทั่วไป ความละเอียดสูง (HD)
ยื่นซองประมูล 9 ราย ประมูลได้ 7 ราย รายได้รวมทั้งหมด 23,700 ล้านบาท
บริษัทที่ชนะประมูล
- บริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด (ช่อง 3) เสนอราคาที่ 3,530 ล้านบาท
- บริษัท บางกอกมีเดีย แอนด์ บรอดคาสติ้ง จำกัด (บริษัทในเครือสายการบินบางกอกแอร์เวย์) เสนอราคาที่ 3,460 ล้านบาท
- บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด (ช่อง 7) เสนอราคาที่ 3,370 ล้านบาท
- บริษัท ทริปเปิลวี บรอดคาสติ้ง จำกัด (หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ) เสนอราคาที่ 3,360 ล้านบาท
- บริษัท อสมท. จำกัด (มหาชน) (ช่อง 9) เสนอราคาที่ 3,340 ล้านบาท
- บริษัท อัมรินทร์เทเลวิชั่น จำกัด (เครืออัมรินทร์) และ บริษัท จีเอ็มเอ็ม เอชดี ดิจิทัล ทีวี จำกัด (เครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่) เสนอราคาเท่ากันที่ 3,320 ล้านบาท
บริษัทที่แพ้ประมูล
- บริษัท พีเอ็ม กรุ๊ป จำกัด
- บริษัท ไทย บรอดคาสติ้ง จำกัด
หมวดช่องรายการทั่วไป ความละเอียดปกติ (SD)
ยื่นซองประมูล 16 ราย ประมูลได้ 7 ราย รายได้รวม 15,950 ล้านบาท
บริษัทที่ชนะประมูล
- บริษัท ไทย บรอดคาสติ้ง จำกัด (เครือเวิร์คพ้อยท์) เสนอราคาที่ 2,355 ล้านบาท
- บริษัท ทรู ดีทีที จำกัด (เครือทรูคอร์ป) เสนอราคาที่ 2,315 ล้านบาท
- บริษัท จีเอ็มเอ็ม เอสดี ดิจิทัล ทีวี จำกัด (เครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ แต่ คนละบริษัทกับที่ได้ช่อง HD) เสนอราคาที่ 2,290 ล้านบาท
- บริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด (ช่อง 3) เสนอราคาที่ 2,275 ล้านบาท
- บริษัท อาร์เอส เทเลวิชั่น จำกัด (เครืออาร์เอส) เสนอราคาที่ 2,265 ล้านบาท
- บริษัท โมโน บรอดคาซท์ จำกัด (เครือโมโนกรุ๊ป) เสนอราคาที่ 2,250 ล้านบาท
- บริษัท แบงคอก บิสสิเนส บรอดแคสติ้ง จำกัด (เครือเนชั่น) เสนอราคาที่ 2,200 ล้านบาท
บริษัทที่แพ้ประมูล
- บริษัท บีบีทีวี แซทเทลวิชั่น จำกัด
- บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)
- บริษัท อมรินทร์ เทเลวิชั่น จำกัด
- บริษัท โฟร์ วัน วัน เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด
- บริษัท บางกอก มีเดีย แอนด์ บรอดคาสติ้ง จำกัด
- บริษัท ทริปเปิล วี บรอดคาสท์ จำกัด
- บริษัท ไทยทีวี จำกัด
- บริษัท วอยซ์ ทีวี จำกัด
- บริษัท ทัช ทีวี จำกัด
หมวดรายการข่าวสารและสาระ (ความละเอียดปกติ)
ยื่นซองประมูล 10 ราย ชนะประมูล 7 ราย รายได้รวม 9,238 ล้านบาท
บริษัทที่ชนะประมูล
- บริษัท เอ็นบีซี เน็กซ์ วิชั่น จำกัด (เครือเนชั่น) เสนอราคาที่ 1,338 ล้านบาท
- บริษัท วอยซ์ ทีวี จำกัด (สถานีวอยซ์ทีวี) เสนอราคาที่ 1,330 ล้านบาท
- บริษัท ไทยทีวี จำกัด (ทีวีพูล) เสนอราคาที่ 1,328 ล้านบาท
- บริษัท สปริงนิวส์ เทเลวิชั่น จำกัด (สถานีสปริงนิวส์) เสนอราคาที่ 1,318 ล้านบาท
- บริษัท ไทย นิวส์ เน็ตเวิร์ค จำกัด (สถานี TNN 24 เครือทรูคอร์ป) เสนอราคาที่ 1,316 ล้านบาท
- บริษัท ดีเอ็น บอร์ดคาสท์ จำกัด (หนังสือพิมพ์เดลินิวส์) เสนอราคาที่ 1,310 ล้านบาท
- บริษัท 3 เอ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (ฝ่ายผลิตข่าวให้ช่อง 5) เสนอราคาที่ 1,298 ล้านบาท
บริษัทที่แพ้ประมูล
- บริษัท โมโน เจนเนอเรชั่น จำกัด
- บริษัท ไอ-สปอร์ต มีเดีย จำกัด
- บริษัท โพสต์ ทีวี จำกัด
หมวดรายการเด็ก เยาวชน และครอบครัว (ความละเอียดปกติ)
ยื่นซองประมูล 6 ราย ชนะประมูล 3 ราย รายได้รวม 1,974 ล้านบาท
บริษัทที่ชนะประมูล
- บริษัท บีอีซี มัลติมีเดีย จำกัด (ช่อง 3) เสนอราคาที่ 666 ล้านบาท
- บริษัท อสมท. จำกัด (มหาชน) (ช่อง 9) เสนอราคาที่ 660 ล้านบาท
- บริษัท ไทยทีวี จำกัด (ทีวีพูล) เสนอราคาที่ 648 ล้านบาท
บริษัทที่แพ้ประมูล
- บริษัท โรสมีเดีย แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด
- บริษัท เนชั่น คิดส์ จำกัด
- บริษัท ทรู ดีทีที จำกัด
ดังนั้นสรุปสั้นๆ ได้ดังนี้ครับ
3 หมวด 3 ช่อง
2 หมวด 2 ช่อง
- ทีวีพูล (ข่าว/เด็ก)
- ช่อง 9 (HD/เด็ก)
- เครือเนชั่น (SD/ข่าว)
- เครือทรูคอร์ป (SD/ข่าว)
- จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ (HD/SD)
ที่เหลือได้บริษัทละ 1 ช่องครับ
ที่มา - ไทยรัฐ (1, 2, 3), @Wootthinan (1, 2)