จากรายงานของนักวิทยาศาสตร์พบว่า การเพิ่มขึ้น ของปริมาณโอโซนใกล้พื้นผิวโลกส่งผลกระทบต่อการจัดการกับคาร์บอนไดออกไซด์ของพืช และยังลดความสามารถในการรักษาสมดุลของปริมาณก๊าซเรือนกระจกของมันอีกด้วย โดยการเพิ่มขึ้นของปริมาณโอโซนในชั้นบรรยากาศที่ระดับความสูงปกติ จะลดความสามารถในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ของพืชถึงหนึ่งในสามเมื่อเทียบกับสภาพปกติ ซึ่งหลังจากบทความนี้ได้รับการออนไลน์ ก็สงผลกระทบต่อความเข้าใจของเราๆ ท่านๆ ต่อโอโซนและพืชไม่น้อยเลยทีเดียว
โอโซนก่อตัวจากไนโตรเจนออกไซด์และการระเหยของไฮโดรคาร์บอนโดยความร้อนจากแสงอาทิตย์ โดยหนึ่งในองค์ประกอบหลักของโอโซนได้มาจากการเผาไหม้ของน้ำมัน และคาร์บอนที่ได้จากการเผาไหม้นั่นเองทำให้เกิดปฎิกิริยาทางเคมีก่อเกิดเป็นโอโซนขึ้นมา ในชั้นบรรยากาศระดับสูงแล้วโอโซนมีประโยชน์อย่างมากในการป้องการรังสีต่างๆ จากนอกโลกไม่ให้ผ่านชั้นบรรยากาศเข้ามาแต่ในระดับพื้นผิวมันทำหน้าที่เป็นก๊าซเรือนกระจกซึ่งเป็นพิษและทำให้เรารู้สึกหายใจไม่สะดวก นอกจากนี้ก๊าซดังกล่าวยังส่งผลต่อเซลของพืชโดยจะหยุดการทำงานของเซล สงผลให้ชะงักการเจริญเติบโตและมีสภาพแคระแกร็น ในขณะที่สหรัฐเองพยายามที่จะจำกัดปริมาณของไนโตรเจนออกไซด์แต่ปริมาณโอโซนก็เพิ่มขึ้นเนื่องจากการเผาไหม้ของเชื่อเพลิงที่ได้จากฟอสซิล ในบางแห่งของโลกปริมาณโอโซนสูงกว่าระดับ 40 ส่วนต่อพันล้านส่วน โดยระดับปกติที่ได้จากการคำนวนของคอมพิวเตอร์จะอยู่ที่ 40 ส่วน แต่คาดกันว่าในปี 2100 อาจจะมีบางพิ้นที่ที่ปริมาณอาจจะสูงขึ้นไปถึง 70 ส่วนเลยทีเดียว จากโมเดลในคอมพิวเตอร์ของนายสตีเฟน สิท (Stephen Sitch) นักวิทยาศาสตร์ทางด้านสภาวะแวดล้อมโลกพร้อมทั้งทีมงานได้ประเมินว่าพื้นที่ที่มีความเสี่ยงคือละแวก อเมริกาเหนือ ยุโรป จีน และอินเดีย อย่างไรก็ดี ยังไม่ได้มีการพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณของโอโซนต่อสภาวะโลกร้อน แต่อย่างใด ...
ที่มา: www.latimes.com