ช่วงนี้ #กรวย กำลังดังครับ เราก็มาดูกันว่าที่มาที่ไปของกรวยเกิดขึ้นได้อย่างไรบ้าง
เรื่องมีอยู่ว่า นักเรียนชาวฝรั่งเศสจากสถาบัน École Centrale Paris (เป็นมหาวิทยาลัยด้านวิศวกรรมที่เก่าแก่ของปารีส) เดินไปเจอกรวยตั้งอยู่ริมถนน และเผลอไปขยับกรวยเข้า จากนั้นก็คิดว่าโลกเรายังไม่มีโปรแกรมมัลติมีเดียโอเพนซอร์สดีๆ เลยสักตัว...
เดี๋ยวนะ
โครงการ VideoLAN เป็นโครงการวิจัยของสถาบัน École Centrale Paris มาตั้งแต่ปี 1996 และพัฒนาต่อกันมาเรื่อยๆ ในหมู่นักศึกษาของสถาบันนี้ (ไม่พบชื่อผู้สร้างคนแรก)
ตอนแรกโครงการได้แบ่งซอฟต์แวร์ออกเป็น 2 ส่วนคือ VideoLAN Client (VLC) และ VideoLAN Server (VLS) ตามแนวคิดเรื่องไคลเอนต์-เซิร์ฟเวอร์ในขณะนั้น อย่างไรก็ตาม โครงการ VLS ถูกยุบรวมกับ VLC ในภายหลัง และเหลือโครงการ VLC เป็นหลักแค่ตัวเดียว (ปัจจุบัน VLC ไม่มีชื่อเต็มแล้ว ชื่ออย่างเป็นทางการคือ VLC media player)
เมื่อพัฒนามาได้ระดับหนึ่ง ในปี 2001 โครงการก็ตัดสินใจเปลี่ยนมาใช้สัญญาอนุญาตแบบโอเพนซอร์ส (เลือกใช้ GPL) และแยกโครงการออกมาอยู่ภายใต้องค์กรไม่หวังผลกำไร VideoLAN organization มีการบริหารงานของตัวเอง ควบคุมโดยบอร์ดขององค์กร และมีอาสาสมัครจำนวนมากจากทั่วโลกเข้าร่วมพัฒนา
ปัจจุบันนอกจากตัวโปรแกรม VLC media player ที่เป็นที่รู้จักกันดี โครงการ VideoLAN ยังพัฒนาซอฟต์แวร์ตัวอื่นๆ อีกจำนวนมาก เช่น
แนวคิดของตัวโปรแกรมหลักคือ VLC เป็นการออกแบบโปรแกรมมัลติมีเดียที่แยกส่วนประกอบต่างๆ ออกจากกัน (modular) จุดเด่นของ VLC ที่มีชื่อเสียงโด่งดังคือการรองรับฟอร์แมตมัลติมีเดียเป็นจำนวนมาก (ตารางเปรียบเทียบฟีเจอร์และฟอร์แมต)
เดิมที VLC ออกแบบมาบนระบบปฏิบัติการสายยูนิกซ์ แต่ก็ถูกพอร์ตมายังระบบปฏิบัติการฝั่งวินโดวส์หลังจากนั้นไม่นาน และช่วงหลังเราก็เห็น VLC แพร่ระบาดไปยังระบบปฏิบัติการใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็น iOS, Android, Windows RT, Windows Phone
หลังพัฒนาโครงการมานาน 13 ปี VLC ออกรุ่น 1.0 ในปี 2009 และตามด้วยรุ่น 2.0 ในปี 2012 ส่วนรุ่นล่าสุดในปัจจุบันนี้คือ 2.1.3
ส่วนที่มาตัวไอคอน "กรวย" มาจากกรวยจราจรอันหนึ่งที่สมาคมนักศึกษาของสถาบันเก็บเอาไว้ เรื่องที่เล่ากันมาคือนักศึกษาคนหนึ่งออกไปเที่ยวกลางคืน เมา และกลับมายังสมาคมพร้อมกับกรวยจราจรหนึ่งอัน จากนั้นนักศึกษาคนอื่นๆ เลยเริ่มเก็บสะสมกรวยจราจรกันใหญ่ และทำให้โครงการ VideoLAN ที่เกิดขึ้นหลังจากนั้นตัดสินใจเลือกใช้โลโก้เป็น "กรวย" (โลโก้ปัจจุบันออกแบบโดย Richard Øiestad) ที่มา
ที่มาที่ไปของ "กรวย" จึงเป็นเช่นนี้เอง...
ข้อมูลอ้างอิง