โหลดแอป คลิปง่ายๆ พร้อมจัดการสมาร์ทโฟนได้ด้วย BeeBox

by advertorial
6 July 2014 - 04:53

แม้ว่าเทคโนโลยีในปัจจุบันจะก้าวล้ำ และมีอุปกรณ์ใหม่ๆ มายลโฉมให้เห็นกันมากขึ้นทุกปี แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าอุปกรณ์อย่างสมาร์ทโฟนยังคงเป็นอุปกรณ์ไอทีที่อยู่ติดตัวผู้ใช้มากที่สุด ด้วยความสะดวกสบายในการใช้งาน ความสามารถในการพกพาไปได้ทุกที่ แต่ขณะที่ความสามารถของสมาร์ทโฟนที่นับวันมีแต่จะเพิ่มขึ้น บางฟีเจอร์ที่จำเป็นกลับทำได้ไม่ดีนักอย่างการจัดการข้อมูล การแบ็กอัพ ที่แม้ว่าจะทำได้ในตัว แต่ก็ไม่ง่ายเสียทีเดียว และยังมีข้อจำกัดของภูมิภาคที่ทำให้แอปหลายตัวที่น่าใช้ กลับมาไม่ถึงมือคนไทยเสียได้

เพื่อตอบโจทย์การใช้งานที่ครบถ้วนกว่า การเข้ามาของโปรแกรมจัดการข้อมูลบนสมาร์ทโฟนจึงเกิดมาเพื่อสิ่งนี้ และมีผู้ผลิตพยายามเข้ามาเป็นเบอร์หนึ่งของโปรแกรมแนวๆ นี้อยู่หลายราย โดยรายล่าสุดที่เปิดตัวโปรแกรมมาสดๆ ร้อนๆ ก็คือ BeeBox (Facebook.com/BeeBoxThailand) ที่นอกจากจะจัดการข้อมูลบนสมาร์ทโฟนได้แล้ว ยังพ่วงมากับฟังก์ชันโหลดแอปและคลิปในตัวอีกด้วย

BeeBox เป็นโปรแกรมจัดการข้อมูลบนสมาร์ทโฟนโดยเฉพาะ มีแอปทั้งบนพีซี (เฉพาะวินโดวส์) และบนแอนดรอยด์ จุดขายของ BeeBox มีอยู่สามข้อใหญ่ๆ ก็คือจัดการข้อมูลได้สะดวกสบาย ดาวน์โหลดคลิปมาดูออฟไลน์ได้ และมีแอปมากมายโดยเฉพาะแอปที่ไม่มีในสโตร์ประเทศไทย รวมถึงคัดสรรแอปมารวมเป็นหมวดหมู่ให้ผู้ใช้เลือกดาวน์โหลดได้ถูกใจยิ่งขึ้น ซึ่งในแอปก็จะมีเมนูภาษาไทย และแอปทุกอย่างที่เลือกสรรมาให้ก็จะคำนึงถึงคนไทยเป็นหลัก

เกริ่นรายละเอียดคร่าวๆ ของ BeeBox มาพอสมควรแล้ว ก็ถึงเวลาของการทดลองใช้งานจริงแล้วครับ ก่อนอื่นต้องดาวน์โหลดแอป BeeBox มาติดตั้งไว้บนพีซี หรือบนแอนดรอยด์เสียก่อน (จริงๆ ถ้าโหลด BeeBox ไว้ในพีซี โปรแกรมจะโหลด BeeBox เข้ามือถือให้เลยเมื่อเอาไปเสียบด้วย USB ไม่ต้องวุ่นวายไปหาโหลดเอง และก็จะสอนด้วยว่าติดตั้งอย่างไร) จัดการดาวน์โหลดฟรี ทั้งเวอร์ชันพีซีและแอนดรอยด์ได้ที่ BeeBox.in.th ครับ

เริ่มใช้งาน BeeBox ครั้งแรก มาต่อสมาร์ทโฟนกับโปรแกรมบนพีซีกันเถอะ!

หลังจากดาวน์โหลดและติดตั้งโปรแกรม BeeBox ทั้งบนพีซี และแอนดรอยด์เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อมาเวลาใช้งาน BeeBox ก็คือการเชื่อมต่อสมาร์ทโฟนเข้ากับโปรแกรม BeeBox บนพีซี การเชื่อมต่อนั้นสามารถทำได้ทั้งแบบมีสาย และแบบไร้สาย (ผ่าน Wi-Fi) ซึ่งสิ่งที่ต้องเตรียมตัวก่อนก็คือ ต้องเปิด USB Debugging ก่อนนั่นเอง โดยในระหว่างเชื่อมต่อจะมีกราฟิกในโปรแกรม BeeBox สอนการเปิด USB Debugging บนแอนดรอยด์รุ่นต่างๆ กันให้ดูอย่างละเอียด ตั้งแต่รุ่น 2.3 ไปจนถึงรุ่นล่าสุดอย่าง 4.4 เลยทีเดียว (ใครที่เคยได้ยินเรื่อง USB debugging แต่ไม่รู้ว่าทำยังไง ก็เรียนรู้ได้จากอันนี้เลยครับ)

ตัวอย่างของการเชื่อมต่อบนแอนดรอยด์รุ่น 4.3 ขึ้นไปมีดังนี้ ก่อนอื่นเข้าไปที่หน้ารวมแอป แล้วเลือกตั้งค่าเสียก่อน

ต่อมาคือการเปิดหน้า Developer Options ด้วยการเข้าไปที่หน้า About แล้วกดที่ Build Number ทั้้งหมด 7 ครั้ง จะมีเมนู Developer Options ขึ้นมา ทีนี้จึงสามารถเปิด USB Debugging ได้แล้ว

หลังจากเปิด USB Debugging และเสียบสมาร์ทโฟนเข้ากับพีซีอยู่ จะสามารถเลือกให้สมาร์ทโฟนจดจำพีซีเครื่องนี้ไว้ เพื่อให้การเชื่อมต่อครั้งต่อๆ ไป สามารถทำได้ทันทีที่เสียบเข้ากับเครื่องพีซีครับ

สำหรับการเชื่อมต่อแบบไร้สายผ่าน Wi-Fi นั้น BeeBox ก็สามารถทำได้เช่นกัน การเตรียมความพร้อมนอกจากจะมีแอปทั้งบนสมาร์ทโฟน และพีซีแล้ว ยังต้องเชื่อมต่อผ่าน Wi-Fi เดียวกันด้วย

การเชื่อมต่อแบบไร้สายนั้นทำได้ง่ายๆ ด้วยการเปิดแอป BeeBox บนสมาร์ทโฟนขึ้นมา แล้วเข้าไปที่หน้าตั้งค่า และเลือกที่สแกน QR Code หลังจากนั้นก็จัดการสแกน QR Code ที่ขึ้นอยู่บนจอพีซีก็เป็นอันเรียบร้อย



เปิดฟังก์ชันสแกน QR Code แล้วจัดการสแกนหน้านี้ ก็เป็นอันจบพิธีครับ

สำหรับการเชื่อมต่อแบบไร้สายจะมีข้อจำกัด และความเร็วในการส่งข้อมูลช้ากว่าแบบมีสายเสียหน่อย ซึ่งตรงนี้จะค่อยบอกกันไปตามฟีเจอร์ของ BeeBox ที่จะพูดถึงเป็นลำดับครับ ก่อนอื่นเริ่มต้นด้วยฟังก์ชันพื้นฐานของโปรแกรมจัดการข้อมูลบนสมาร์ทโฟน อย่างการจัดการข้อมูลนั่นเอง ว่า BeeBox นั้นทำอะไรได้บ้าง

จัดการข้อมูลง่ายๆ ทำได้มากกว่าด้วย BeeBox

เมื่อเชื่อมต่อสมาร์ทโฟนเข้ากับพีซีเรียบร้อยแล้ว ตัวโปรแกรมบนพีซีจะพาเราเข้าไปที่หน้าโทรศัพท์ อันเป็นหน้าหลักที่ใช้สำหรับจัดการข้อมูล พร้อมกับหกฟังก์ชันหลักในการใช้งานตั้งแต่การเพิ่มประสิทธิภาพเครื่อง (Optimization), จัดการไฟล์ (File Management), สำรองข้อมูล (Backup), คืนค่าข้อมูล (Restore), จับภาพแบบเคลื่อนไหว (ประมาณสกรีนช๊อตดุ๊กดิ๊กได้ ฟังก์ชันนี้ต้องต่อสาย USB นะครับ) (Dynamic Screenshots) และข้อมูลตัวเครื่อง (About Phone) โดยตัวโปรแกรมจะแสดงภาพหน้าจอตัวเครื่องในขณะนั้นให้ดู แถมยังเก็บภาพหน้าจอได้จากหน้าจอที่เห็นได้ ถ้าเป็นเครื่องที่โปรแกรมนี้รู้จัก จะมีเคสตัวเครื่องให้เห็นอีกด้วย

ทดลองใช้ฟังก์ชันแรกสุดอย่างการเพิ่มประสิทธิภาพเครื่อง โปรแกรมจะจัดการสแกนไฟล์ และแอปของเรา พร้อมรายงานว่ามีอะไรที่ควรแก้ไขบ้าง แอปกินพื้นที่ไปเท่าไร สร้างไฟล์ขยะเท่าไร พร้อมแนะนำว่าควรจัดการอะไรกับเครื่องบ้าง ตั้งแต่การอัพเดตแอป ไปจนถึงการแจ้งเตือนให้สำรองข้อมูลว่าได้ทำไปแล้วหรือไม่



พอกดให้โปรแกรมทำงาน ก็จะจัดการลบไฟล์ขยะให้ทันทีทันใด

ฟังก์ชันต่อมาคือการจัดการไฟล์ในสมาร์ทโฟน เมื่อกดเข้าไปแล้วจะแสดงไฟล์ในเครื่องในรูปแบบที่เราคุ้นเคยกันในพีซี สามารถลากวางไฟล์จากบนสมาร์ทโฟนไปยังพีซี และจากพีซีไปยังสมาร์ทโฟนได้อย่างไม่มีปัญหา

ฟังก์ชันต่อมา การสำรองข้อมูลสมาร์ทโฟน สามารถเก็บได้ทั้งเบอร์โทร ข้อความ ประวัติการโทร รายชื่อเว็บไซต์ที่เก็บไว้ (bookmark) และเก็บแอปในเครื่องได้ด้วย ซึ่งสามารถเลือกเก็บแอปได้จากการกดที่ช่องแอปครับ

กดแล้วจะมีรายชื่อแอปให้เลือกสำรองหรือไม่สำรองแบบนี้

ระหว่างโปรแกรมกำลังทำงานอย่าปิดเครื่องนะจ๊ะ :)

พอสำรองข้อมูลเสร็จแล้ว จะได้เป็นไฟล์ .bak พร้อมบอกตำแหน่งที่เก็บไฟล์ไว้ด้วย ซึ่งจะใช้ร่วมกับฟังก์ชันต่อมาอย่างการคืนค่า ที่สามารถเลือกได้ว่าจะใช้ไฟล์ที่สำรองไว้ตัวไหนบ้างครับ อันนี้ก็ทำงานได้ตามมาตรฐานครับ

มาต่อกันที่ฟังก์ชันของแปลกใน BeeBox อย่างการเก็บภาพเคลื่อนไหว ซึ่งเป็นการต่อยอดจากการเก็บภาพแบบเดิมที่ทำทีละภาพ เป็นทำทีละหลายภาพ แล้วนำมาต่อกันเป็นไฟล์ .gif นั่นเอง วิธีการทำได้ง่ายๆ ด้วยการกดเก็บภาพจากหน้าจอไปเรื่อยๆ จนกว่าจะพอใจครับ ซึ่งด้วยฟีเจอร์นี้ เราสามารถนำภาพถ่ายหลายๆ ภาพจากกล้อง มาต่อกันกลายเป็นภาพน่ารักได้ด้วย

เมื่อได้ภาพจนครบที่ต้องการแล้วกดที่แสดงตัวอย่าง และเซฟ โปรแกรมจะทำภาพหน้าจอให้กลายเป็นภาพเคลื่อนไหว พร้อมพรีวิวให้ดูแบบนี้ กระดุกกระดิกสลับไปมาระหว่างรูปได้ครับ

ภาพที่ได้จะเป็นแบบนี้ครับ อย่าลืมว่าฟังก์ชันนี้ใช้กับการเชื่อมต่อแบบไร้สายไม่ได้นะ

ฟังก์ชันสุดท้ายมีไว้สำหรับดูข้อมูลในตัวเครื่อง ซึ่งจะบอกชื่อรุ่น และสเปคคร่าวๆ อย่างความละเอียดหน้าจอ เนื้อที่บนตัวเครื่อง เวอร์ชันแอนดรอยด์ที่ใช้ เป็นต้น

สำหรับฟังก์ชันอื่นๆ สำหรับการจัดการตัวเครื่องจะเป็นการแยกเฉพาะส่วน เช่น จัดการแอป จัดการภาพ จัดการวิดีโอ รวมถึงรายชื่อ และส่งข้อความซึ่งสามารถแก้ไขได้จากในโปรแกรมเลยครับ ตัวอย่างตามภาพนี้เลย

เท่านี้ก็หมดฟังก์ชันพื้นฐานในการจัดการตัวเครื่องของ BeeBox เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ต่อไปเราจะไปลองดูระบบแอปสโตร์ของ BeeBox ว่าเป็นอย่างไร ใช้งานแบบไหนกันครับ

โหลดแอปฟรีได้ทุกตัว ไม่จำกัดสัญชาติ

เกริ่นไปตอนแรกแล้วว่า BeeBox ชูจุดเด่นว่าเป็นโปรแกรมที่สามารถลงแอปได้ในตัวทั้งบนพีซี และแอนดรอยด์ โดยมีจุดขายคือมีแอปที่ไม่เปิดให้ดาวน์โหลดในประเทศไทยให้ดาวน์โหลดกันอีกด้วย โดยย้ำชัดว่าทุกแอปที่เปิดให้ดาวน์โหลดนั้นฟรี และอัพเดตทันสมัยก่อนใครแน่นอน หน้าแรกของแอปสโตร์บน BeeBox นั้นจัดเลย์เอาท์มาคล้ายๆ กับของแอปเปิล โดยมีการจัดหมวดหมู่แอปมาให้เรียบร้อย

วิธีการติดตั้งแอปทำได้ด้วยการกดเข้าไปที่แอป แล้วเลือกติดตั้ง แล้วโปรแกรมจะติดตั้งให้โดยอัตโนมัติในโทรศัพท์ครับ แต่ถ้าไม่มีโทรศัพท์ต่ออยู่ โปรแกรมก็จะโหลดเก็บไว้ที่เครื่องรอก่อน โทรศัพท์มาต่อเครื่องแรกถัดจากการโหลดในพีซีนั้น ก็จะได้แอปไปติดตั้งรวดเดียวครับ

พอกดดาวน์โหลดแล้ว จะมีแถบแสดงที่มุมขวาบนเพื่อบอกว่ากำลังดาวน์โหลดอยู่ขึ้นมา

จุดเด่นของแอปสโตร์บน BeeBox คือมีการจัดหมวดหมู่นั่นเอง และนี่คือหมวดหมู่เด่นก็คือแอปที่มีเฉพาะบน BeeBox สำหรับผู้ใช้ชาวไทย ซึ่งรวมแอปชื่อดังที่หาไม่ได้จากในเพลย์สโตร์ไทยอย่าง Mobie360, PayPal, iHeartRadio หรือแอปของกูเกิลเองอย่าง Google Keyboard ก็มีให้ดาวน์โหลดใน BeeBox ด้วย

สำหรับคนรักเกม BeeBox ได้จัดหน้าสำหรับเกมไว้ให้โดยเฉพาะ ใช้งานได้เหมือนกับหน้าแอปสโตร์ และมีหมวดหมู่ของเกมเช่นกันครับ น่าจะถูกใจคนที่เล่นเกมมือถือเยอะๆ ครับ

จากที่ลองใช้งานแอปสโตร์ของ BeeBox พบว่าสะดวกสบายสำหรับคนที่อยากใช้แอปให้ครบอย่างมาก ไม่ต้องมาคอยเล่นท่ายากสลับประเทศบนเพลย์สโตร์อีกต่อไป และยังติดตั้งแอปหลายตัวพร้อมกันได้อีกด้วย เซฟไว้บนพีซีและติดตั้งบนเครื่องอื่นก็ทำได้เช่นเดียวกัน ไม่ต้องดาวน์โหลดซ้ำๆ อีกต่อไป
ต่อไปเป็นฟีเจอร์เด็ดของ BeeBox ที่ไม่เหมือนโปรแกรมจัดการข้อมูลบนสมาร์ทโฟนรายใดๆ เลยครับ นั่นก็คือการดาวน์โหลดวิดีโอบนยูทูบมาไว้ในเครื่องนั่นเอง มาดูกันว่าทำงานอย่างไร ใช้ได้ง่ายแค่ไหนกันครับ

ดาวน์โหลดวิดีโอยูทูบมาดูในเครื่องได้ง่ายๆ ในคลิกเดียว

หนึ่งฟีเจอร์เด่นของ BeeBox ที่ถึงกับเอามาไว้เป็นเมนูหลักอันดับที่สาม นั่นก็คือการดาวน์โหลดวิดีโอยูทูบมาดูออฟไลน์ พอกดเข้าไปแล้ว จะเข้าสู่หน้าหลักของยูทูบแบบนี้ แถมยังแบ่งหมวดหมู่ของวิดีโอไว้ให้เรียบร้อยให้เลือกกันได้อย่างสะดวก

วิธีการดาวน์โหลดวิดีโอ ทำได้ด้วยการเลือกวิดีโอที่ต้องการก่อน แล้วจะเห็นแถบสีเหลืองรูปกล่องผึ้งใต้วิดีโอ สำหรับกดเพื่อดาวน์โหลดวิดีโอครับ หรือจะกดจากปุ่มเขียวที่มุมขวาบนก็ทำได้เช่นกัน

ต่อมาโปรแกรมจะให้เลือกความละเอียด ซึ่งมีตั้งแต่ความละเอียดต่ำ ไปจนถึงความละเอียดสูงสุดของวิดีโอนั้นๆ เลย



กดเลือก และกดดาวน์โหลดแล้ว วิดีโอจะเริ่มดาวน์โหลด และแสดงผลที่มุมขวาบนเหมือนการดาวน์โหลดแอปครับ (จริงๆ มันคือหน้าเดียวกันเลย)

เท่าที่ลองใช้งาน ฟีเจอร์ดาวน์โหลดวิดีโอยูทูบนั้นค่อนข้างสะดวกและใช้งานได้ง่าย (ปุ่มใหญ่ซะชนาดนั้น) สำหรับผู้ใช้ที่ติดตามรายการบนยูทูบ และอยากหิ้วไปดูในยามที่ไม่มีอินเทอร์เน็ต ฟีเจอร์นี้ตอบโจทย์ได้ดีทีเดียว แถมยังสามารถใช้งานได้ทั้งบนพีซี และแอนดรอยด์อีกด้วย

ปิดท้ายกันด้วยความเอาใจใส่คนไทย (นอกเหนือจากการนั่งจัด collection ให้น่าสนใจ น่าจะถูกใจคนไทย) ของ BeeBox ที่ทำส่วนติดต่อผู้ใช้เป็นภาษาไทยทั้งหมด อ่านเข้าใจได้ง่ายสำหรับคนที่ไม่สันทัดภาษาอังกฤษครับ เลือกเปลี่ยนได้ที่มุมขวาบนตรงปุ่มลูกศรลงนั่นเอง

เท่านี้ก็ถือว่าหมดฟีเจอร์ของ BeeBox บนพีซีแล้ว เดี๋ยวเราไปต่อกันที่แอปบนแอนดรอยด์ว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง และมีอะไรแตกต่างจากบนพีซีบ้างกันครับ

ลองใช้ BeeBox บนสมาร์ทโฟน ฟีเจอร์เต็มเปี่ยมทัดเทียมพีซี

หลังจากอัดฉีดฟีเจอร์บนพีซีกันมาจนครบแล้ว ก็มาถึงคิวของแอปบนแอนดรอยด์กันบ้าง ตัวแอป BeeBox บนแอนดรอยด์นั้นไม่ได้ทำออกมาเพียงเพื่อใช้สำหรับเชื่อมต่อกับโปรแกรมบนพีซีเท่านั้น แต่ก็ใช้งานฟีเจอร์ของ BeeBox ได้ด้วย โดยส่วนหลักๆ คือแอปสโตร์ และการดาวน์โหลดวิดีโอยูทูบนั่นเอง
นี่คือหน้าตาของแอปสโตร์บน BeeBox แอนดรอยด์ครับ

แอปบนแอนดรอยด์นั้นสามารถติดตั้งได้โดยตรงเช่นเดียวกับบนพีซี แถมยังแสดงแอปอื่นๆ ที่ใกล้เคียงกันเพื่อเสริมทางเลือกของผู้ใช้อีกด้วย

ส่วนนี่คือหน้าแอปที่มี BeeBox คัดสรรมาให้คนไทยเท่านั้น แบบบนพีซีเลยครับ ก็มีตั้งแต่อ่าน Pantip จนหาของกินกับ Wongnai

BeeBox บนแอนดรอยด์นั้นสามารถตรวจสอบแอปบนเครื่องของเราว่าเป็นรุ่นล่าสุดหรือไม่ โดยจะแจ้งเตือนในหน้าตั้งค่าครับ พอกดเข้าไปแล้วจะระบุรายละเอียดของการอัพเดตไว้ครบถ้วน และกดอัพเดตได้ทันที (อัพเดตรวดเดียวก็ได้เช่นกัน)

ฟีเจอร์ดาวน์โหลดวิดีโอยูทูบ สามารถใช้งานได้บนแอนดรอยด์อย่างสมบูรณ์ วิธีการใช้งานเหมือนกันเป๊ะคือ เลือกวิดีโอ เลือกความละเอียด แล้วกดดาวน์โหลดก็เป็นอันเรียบร้อย :)

สำหรับฟีเจอร์ที่ไม่มีบนเวอร์ชันพีซี แต่มีบนแอนดรอยด์ก็คือนี่ครับ ... Air Share ฟีเจอร์สำหรับแชร์ไฟล์ระหว่างสมาร์ทโฟนแบบไร้สายที่ทำงานผ่านการเปิด hotspot ซึ่งส่งได้ทั้งภาพนิ่ง วิดีโอ หรือแม้แต่แอปบนเครื่องนั่นเอง

การใช้งานทำได้ง่ายๆ ด้วยการกดเพียงคลิกเดียวเท่านั้น (แต่คนเริ่มใช้งานต้องกด New Box เสียก่อนครับ)

ไฟล์ที่สามารถแชร์ได้จะแสดงขึ้นมา ส่งได้ด้วยการคลิกไปที่ไฟล์ครับ ไฟล์ที่ส่งแล้วจะขึ้นสัญลักษณ์ถูกต้องขึ้นมา ไฟล์ที่ส่งไปจะขึ้นในหน้ารับไฟล์ของอีกเครื่องหนึ่ง แถบสุดท้ายนั่นเอง (ถ้ากดดูในระหว่างส่งจะขึ้นว่ากำลังส่งด้วย)

ใช้ส่งแอป หรือวิดีโอก็ทำได้นะ

ลองเล่นกับ BeeBox ทั้งบนพีซีและบนแอนดรอยด์มาจนอิ่มฟีเจอร์กันไปแล้ว บอกได้เลยว่า BeeBox นั้นเป็นแอพจัดการสมาร์ทโฟนที่ทำงานได้ดีมาก ทั้งในแง่ของการจัดการระบบได้อย่างง่ายดาย ส่วนติดต่อผู้ใช้เข้าใจง่าย ฟีเจอร์ปรับแต่งเครื่องที่คอยแจ้งเตือนเมื่อไฟล์ขยะล้นเครื่องนั้นทำงานได้จริง และเรียกใช้งานได้สะดวก นอกจากนี้ยังได้เพิ่มเติมความบันเทิงที่หาไม่ได้จากโปรแกรมจัดการสมาร์ทโฟนไหนๆ อย่างการดาวน์โหลดวิดีโอยูทูบมาเก็บไว้ในเครื่อง รวมถึงการจัดกลุ่มแอปก็ทำให้ผู้ใช้สามารถค้นหาแอปที่ถูกใจได้โดยไม่ต้องไปเสียเวลานั่งค้นจาก Play Store ที่มีแอปปาเข้าไปหลายแสนแอปแล้วในปัจจุบัน

สำหรับคนที่สนใจจะดาวน์โหลดมาใช้งาน สามารถดาวน์โหลดฟรีไปใช้ทั้งเวอร์ชันพีซีและแอนดรอยด์ได้ที่ BeeBox.in.th และติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้จากบนเฟซบุ๊กที่ Facebook.com/BeeBoxThailand ครับ

Blognone Jobs Premium