29 ตุลาคม 2014 - ครบรอบ 45 ปีอินเทอร์เน็ต

by hisoft
28 October 2014 - 17:00

หลังจากที่ Blognone ครบรอบ 10 ปีไปหมาดๆ ข่าวในยุคตั้งต้นของ Blognone ก็เริ่มทยอยครบรอบ 10 ปีตามกันไป ดังเช่นบทความคนแก่เล่าความหลังที่พูดถึงการครบรอบ 35 ปีของอินเทอร์เน็ตไว้เมื่อ 10 ปีที่แล้ว

ต้นกำเนิดของอินเทอร์เน็ตนั้น มาจากการที่สหรัฐอเมริกาต้องการระบบเครือข่ายที่ไร้ศูนย์กลางอย่างแท้จริง เพื่อที่ในยามสงครามนั้นระบบจะไม่ล้มลงไปง่ายๆ แม้ว่าบางส่วนของระบบจะถูกทำลาย แนวคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาจนได้ระบบที่นับว่าเป็นต้นตระกูลของระบบอินเทอร์เน็ตในปัจจุบันในชื่อว่า ARPANET


ภาพประกอบจาก kmhouseindia

ในเวลา 22:30 ของวันนี้เมื่อ 45 ปีที่แล้ว ARPANET ที่ได้รับการสนับสนุนจาก DARPA ได้ถูกเรียกให้ทำงานจริงเป็นครั้งแรก โดยเชื่อมต่อระหว่าง UCLA กับ SRI ในการเชื่อมต่อครั้งแรกนี้ได้วางแผนการทดสอบโดยให้ฝ่ายหนึ่งพิมพ์ว่า "login" แล้วดูว่าข้อความได้แสดงผลที่หน้าจอของอีกฝ่ายหนึ่งหรือไม่

บันทึกแรก อ้างอิงจาก History of the Internet & World Wide Web ที่อ้างถึง Vinton Cerf ผู้จัดการโครงการ ARPANET ในช่วงนั้น

1969: The first LOGs: UCLA -- Stanford

According to Vinton Cerf:
...the UCLA people proposed to DARPA to organize and run a Network Measurement Center for the ARPANET project...

Around Labor Day in 1969, BBN delivered an Interface Message Processor (IMP) to UCLA that was based on a Honeywell DDP 516, and when they turned it on, it just started running. It was hooked by 50 Kbps circuits to two other sites (SRI and UCSB) in the four-node network: UCLA, Stanford Research Institute (SRI), UC Santa Barbara (UCSB), and the University of Utah in Salt Lake City.

Kleinrock, a pioneering computer science professor at UCLA, and his small group of graduate students hoped to log onto the Stanford computer and try to send it some data.They would start by typing "login," and seeing if the letters appeared on the far-off monitor.

"We set up a telephone connection between us and the guys at SRI...," Kleinrock ... said in an interview: "We typed the L and we asked on the phone,

"Do you see the L?"
"Yes, we see the L," came the response.
"We typed the O, and we asked, "Do you see the O."
"Yes, we see the O."
"Then we typed the G, and the system crashed"...

Yet a revolution had begun"…

อย่างไรก็ตาม แม้การทดสอบในครั้งแรกจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่ในอีกไม่กี่ชั่วโมงถัดมาระบบก็ได้ถูกแก้ไขและทำงานได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ และการที่มันถูกวางตัวให้เป็นระบบเครือข่ายแบบไร้ศูนย์กลางที่ทนทานต่อการถูกทำลาย เป้าหมายจึงไม่หยุดอยู่ที่การเชื่อมต่อกันของ 2 จุด ในวันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ. 1969 เครือข่ายแบบ 4 จุดได้เชื่อมต่อกันสำเร็จโดยการเพิ่มจุดที่ University of Utah และ University of California, Santa Barbara เข้าไป หลังจากนั้น ARPANET ก็ได้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเพิ่มขึ้นเป็น 213 จุดในปีค.ศ. 1981 และมีการเพิ่มจุดอีกทุกๆ ประมาณ 20 วัน

ARPANET ได้ผ่านการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงมาอีกหลายต่อหลายครั้งจนกระทั่งมาเป็นอินเทอร์เน็ตที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน อินเทอร์เน็ตได้เปลี่ยนแปลงโลกใบนี้ไปในหลายๆ ด้าน กลืนกินเทคโนโลยีอื่นไปอีกหลายส่วน การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นกับอินเทอร์เน็ตในเร็วๆ นี้คงจะเป็นเรื่องของ IPv6 หลังจากที่โลกประสบภาวะ IPv4 หมดโลกมาระยะหนึ่งแล้วครับ (บทความประกอบที่ควรอ่าน "จะเกิดอะไรขึ้นหลัง IPv4 หมดโลก")

Blognone Jobs Premium