ข้อเสียของพลังงานแสงอาทิตย์ในทุกวันนี้คือราคาต่อวัตต์แพงมากจนกระทั่งหลายๆ ครั้งมีคนตั้งคำถามว่ามันคุ้มค่าจริงหรือ โดยนับแต่มีการประดิษฐ์เซลล์แสงอาทิตย์ขึ้นมาครั้งแรกเมื่อประมาณสามสิบปีมาแล้วนั้น เป็นการผลิตไฟฟ้าจากสารกึ่งตัวนำบนแผ่นเวเฟอร์ ที่ใช้พลังงานในการผลิตสูงมาก จนกระทั่งจุดคุ้มทุนด้านพลังงาน (ที่ใช้ในการผลิต) นั้นอยู่ที่สามปีจึงเริ่มคืนทุน ส่วนเซลล์แสงอาทิตย์ที่เราใช้กันอยู่ในทุกวันนี้นั้นเป็นเซลล์แบบบางที่ฉาบอยู่บนแผ่นแก้ว โดยมีระยะเวลาการคืนพลังงานอยู่ที่ 1.7 ปีโดยประมาณ และค่าใช้จ่ายในการผลิตค่อนข้างสูงอีกทั้งการผลิตจำนวนมากยังทำได้ยาก
บริษัท Nanosolar เป็นบริษัทสัญชาติเยอรมันที่ตั้งขึ้นในปี 2002 และได้พัฒนาเทคโนโลยีในการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ที่ต้นทุนการผลิตถูกลงเนื่องจากการผลิตแบบการพิมพ์บนแผ่นฟอยล์ตัวนำที่ทำให้การผลิตใช้พลังงานต่ำ และมีต้นทุนที่ถูกลงมา โดยมีระยะเวลาการคืนพลังงานอยู่ที่ 1 เดือน และจะมีอายุการใช้งานของเซลล์ที่ประมาณ 25 ปี
โรงงานที่บริษัท Nanosolar กำลังจะเปิดตัวในปีหน้านี้จะมีกำลังผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ที่ 430 เมกกะวัตต์ต่อปี มากกว่าเซลล์แสงอาทิตย์ทั้งหมดที่เคยผลิตในสหรัฐฯ รวมกัน
ตอนนี้กำลังหาเสียง มีพรรคไหนเตรียมเปิดนโยบาย "เมกกะโซลาร์เซลล์" กันมั่งรึยัง?
ที่มา - celsias